กฟก. หนองคาย ติดตามเกษตรกรที่ได้รับสิทธิปรับโครงสร้างหนี้ฯ เข้าร่วมอบรม

 

rn

nongkay26

rn

สำนักงานสาขาจังหวัดหนองคาย  ได้ลงพื้นที่ติดตามเกษตรกรที่ได้รับสิทธิปรับโครงสร้างหนี้ฯ เพื่อเข้าร่วมอบรมในวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 เวลา 09.00-10.30 น. เดินทางไปอำเภอโพธิ์ตาก ณ  ที่ทำการศูนย์สาธิตวิสาหกิจชุมชน   เครือข่ายสมัชชาเกษตรกรรายย่อย จ.หนองคาย  บ้านดงเหล่า  หมู่ 8 ต.โพนทอง     อ.โพธิ์ตาก  จ.หนองคาย  ลูกจ้างชั่วคราวโครงการปรับโครงสร้างหนี้ ฯ พบเกษตรกรและได้เข้าแจ้งติดตามผู้เข้าร่วมโครงปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูพัฒนาอาชีพเกษตรกร   เพื่อดำเนินการในเรื่องอบรม และมีเกษตรกรที่ได้ผ่านการอบรมแล้วติดตามเรื่องเงินฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ

rn

วันที่ 21  พฤษภาคม 2555 เวลา 09.00-10.30 น. เดินทางไปอำเภอเมืองหนองคาย  ณ  บ้านนางหนูมั่น  เคณาสิงห์  บ้านเลขที่ 27 หมู่ 3   ต.เวียงคุก  อ.เมืองหนองคาย  จ.หนองคาย  ลูกจ้างชั่วคราวโครงการปรับฯพบเกษตรกรและได้เข้าแจ้งติดตามผู้เข้าร่วมโครงปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูพัฒนาอาชีพเกษตรกร   เพื่อดำเนินการในเรื่องอบรม

สหกรณ์ฯ ผ่องไส เกษตรกรชื่นใจ บรรเทาหนี้ได้ถ้วนหน้า

rn

rn

pi232

rn

นางนุชฎา  จำเริญสาร  รักษาการหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพิจิตร  มอบเช็คชำระหนี้แทนเกษตรกรให้กับ สหกรณ์การเกษตรจำนวน  3  สหกรณ์  ได้แก่  สหกรณ์การเกษตรวังทรายพูน  จำกัด , สหกรณ์การเกษตรบางมูลนาก  จำกัด  และสหกรณ์การเกษตรตะพานหิน  จำกัด  จ.พิจิตร 

rn

วันที่  30  เม.ย.  2555  –  11  พ.ค.  2555  นางนุชฎา  จำเริญสาร  รักษาการหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพิจิตร  ทำการมอบเช็คชำระหนี้แทนเกษตรกรฯ  ให้กับ นางสุจินดา    อินทร์สุข  ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรวังทรายพูน  จำกัด , ตัวแทนจากสหกรณ์การเกษตรบางมูลนาก  จำกัด และ  ตัวแทนจากสหกรณ์การเกษตรตะพานหิน  จำกัด เดินทางเข้ามารับเช็คชำระหนี้แทนเกษตรกรด้วยตัวเอง  ณ. สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  สาขาจังหวัดพิจิตร  ศาลากลางจังหวัดพิจิตร  ชั้น 3  พร้อมทั้งนำสมาชิกเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์การชำระหนี้แทนฯ  มาดำเนินการจัดทำนิติกรรมสัญญา  ณ. สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  สาขาจังหวัดพิจิตร  ซึ่งมีสมาชิกเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์การชำระหนี้แทนฯ  จากทั้ง 3 สหกรณ์ฯ  ดังนี้

rn

สหกรณ์การเกษตรวังทรายพูน  จำกัด  รวมจำนวน  42  ราย  เป็นเงิน 2,970,812.47 บาท

rn

( สองล้านเก้าแสนเจ็ดหมื่นแปดร้อยสิบสองบาทสี่สิบเจ็ดสตางค์ )

rn

สหกรณ์การเกษตรบางมูลนาก  จำกัด  รวมจำนวน  8  ราย  เป็นเงิน  1,625,255.66  บาท     ( หนึ่งล้านหกแสนสองหมื่นห้าพันสองร้อยห้าสิบห้าบาทหกสิบหกสตางค์ )

rn

สหกรณ์การเกษตรตะพานหิน  จำกัด  รวมจำนวน  10  ราย  เป็นเงิน  779,804.88  บาท (เจ็ดแสนเจ็ดหมื่นเก้าพันแปดร้อยสี่บาทแปดสิบแปดสตางค์ )

rn

รวมทั้งสิ้นมีสมาชิกเกษตรกรที่ได้รับการอนุมัติชำระหนี้แทนฯ  ในครั้งนี้  ทั้งสามสหกรณ์ฯ   จำนวนรวม  60  ราย  เป็นเงินรวมทั้งสิ้นจำนวน  5,375,873.01  บาท   ( ห้าล้านสามแสนเจ็ดหมื่นห้าพันแปดร้อยเจ็ดสิบสามบาทหนึ่งสตางค์ )

rn

สร้างความยินดีให้กับเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร 

rn

สร้างความหรรษาให้แก่สหกรณ์การเกษตร

rn

และทำให้สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรคึกคักเป็นอย่างยิ่ง

กฟก.พิจิตร ร่วมงานเปิดศูนย์ขยายผลโรงเรือนผลิตปุ๋ยอินทรีย์

rn

rn

mixpi

rn

rn

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพิจิตร  ได้เข้าร่วมงานมอบของที่ระลึก  งานเปิดศูนย์ขยายผลโรงเรือนผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ณ. องค์กรเกษตรพัฒนาพิจิตร  ต.หนองพระ  อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร  เพื่อเป็นสถานที่และแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ ตามพระราชดำริฯ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง  ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  และแก้ปัญหาหนี้สินให้กับสมาชิกเกษตรกรในพื้นที่  อ.วังทรายพูน  จ.พิจิตร  และเขตอำเภอใกล้เคียง

rn

rn

เมื่อวันที่  25  เม.ย.  2555  สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพิจิตร  ได้เข้าร่วมงานเปิดศูนย์ขยายผลโรงเรือนผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ณ. องค์กรเกษตรพัฒนาพิจิตร  ต.หนองพระ  อ.วังทรายพูน        จ.พิจิตร  เพื่อเป็นสถานที่และแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ ตามแนวทางพระราชดำริฯ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง  ลดต้นทุนในการผลิตและแก้ไขปัญหาหน้าดินเสื่อมคุณภาพ  จากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ช่วยลดปัญหาหนี้สินเพิ่มพูนให้กับสมาชิกเกษตรกร ได้รับเกียรติจาก  นายอำนวย  พานทอง  นายอำเภอวังทรายพูน  อ.วังทรายพูน  จ.พิจิตร เป็นประธาน  เปิดศูนย์ขยายผลโรงเรือนผลิตปุ๋ยอินทรีย์ปั้นเม็ด  ขององค์กรเกษตรพัฒนาพิจิตร  สมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพิจิตร 

rn

rn

องค์กรเกษตรพัฒนาพิจิตรได้รับอนุมัติเปิดเป็นศูนย์ขยายผลโรงเรือนผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และแหล่งการเรียนรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อลดต้นทุนในการผลิตและแก้ไขปัญหาหน้าดินเสื่อมคุณภาพ  จากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยลดการใช้ปุ๋ยและสารเคมี  อันจะนำไปสู่การช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินที่เพิ่มพูนให้กับสมาชิกเกษตรกรในพื้นที่  อ.วังทรายพูน    และเขตอำเภอใกล้เคียง   

rn

rn

นายคำมนัน  มิสกรถา  ประธานองค์กรเกษตรพัฒนาพิจิตร  กล่าวท่ามกลางผู้มาร่วมแสดงความยินดีที่มาจากหน่วยงานทั้งภาครัฐฯ  เอกชน  เช่น  หน่วยงานราชการ  อบต.  กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  และประชาชนทั่วไปว่าองค์กรเกษตรพัฒนาพิจิตร  ได้รับการส่งเสริมองค์ความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์โดย  สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  ทำให้องค์กรนำพาสมาชิกมุ่งมั่นในเกษตรอินทรีย์  จนได้รับการยอมรับ  และสนับสนุนงบประมาณ  จากการนำเสนอแผนพัฒนาจังหวัดพิจิตร  ประจำปี  2555  โดยการแนะนำจากสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดพิจิตร  เพื่อเปิดเป็นศูนย์ขยายผลโรงเรือนผลิตปุ๋ยอินทรีย์ปั้นเม็ด  ประจำอำเภอวังทรายพูน  ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้  ชัยพัฒนาการเกษตร  สิรินธร  อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดพิจิตร  โดยใช้ชื่อว่า “ โรงปุ๋ยอินทรีย์ศูนย์ขยายผล  ชัยพัฒนาการเกษตร  สิรินธร  องค์กรเกษตรพัฒนาพิจิตร “  และขณะนี้ได้รับการอนุมัติเงินกู้ยืมเพื่อเข้าไปต่อยอดพัฒนาอาชีพของสมาชิกในองค์กรให้ยั่งยืน  จาก สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร     ในวงเงิน  450,000  บาท

rn

rn

 

rn

rn

 

rn

rn

 

rn

rn

 

rn


กฟก.กระบี่ นำสมาชิกเกษตรกรเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ด้านการเกษตร

rn

rn

kabee23

rn

เมื่อวันที่  10  พฤษภาคม  2555  สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดกระบี่ ร่วมบูรณาการกับสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดกระบี่  โดยนำสมาชิกเกษตรกรเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ด้านการเกษตร  ในหลักสูตร “การพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง (เน้นการพึ่งพาตนเอง)” ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเขากลม  ต.หนองทะเล อ.เมือง จ.กระบี่  ระยะเวลาของการฝึกอบรม  4  วัน  3  คืน    โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกให้สามารถพึ่งพาตนเองและเป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับสมาชิกได้นำไปปรับใช้ในอนาคต 

rn

โดยมีเนื้อหาหลักสูตรเป็นการทำการเกษตรแบบครบวงจร  เน้นการใช้วัตถุดิบซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นเป็นส่วนประกอบสำคัญ  สามารถประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมตามสภาพของแต่ละท้องถิ่น  โดยใช้เทคโนโลยีชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นหลัก    ไม่มีสารเคมีเจือปน   เน้นให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองเพื่อลดต้นทุนการผลิตและเป็นทางเลือกให้เกษตรกรประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ในครอบครัว

rn

          

กฟก.สุพรรณบุรี จัดประชุม อนุฯเพื่อพิจารณาแผนและโครงการฟื้นฟู

rn

supan23

rn

rn

วันพุธ ที่ 2 พฤษภาคม 2555 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูสาขาจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ดำเนินการจัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรี ครั้งที่ 3/2555 ณ ห้องประชุมพลายชุมพล ศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อพิจารณากลั่นกรองแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  (งบอุดหนุน) โดยจะพิจารณา 2 องค์กร ดังนี้

rn

1. องค์กรเกษตรกร กลุ่มชาวนาสุพรรณ  รหัสองค์กร  7243000797  โครงการ พัฒนาความเข้มแข็งและฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร  งบประมาณที่ขอรับสนับสนุนจากกองทุนฯ ประเภทงบอุดหนุน จำนวน  78,500  บาท สมาชิกผู้รับประโยชน์ในโครงการ จำนวน  150  คน  โดยมีทั้งหมด 3กิจกรรมดังนี้

rn

rn

21

rn

rn

2.  องค์กรเกษตรกร กลุ่มบ้านทุ่งชนะการเกษตร  รหัสองค์กร  7243004300  โครงการ  เลี้ยงโคขุน งบประมาณที่ขอรับสนับสนุนจากกองทุนฯ ประเภทงบอุดหนุน  จำนวน  99,400  บาท สมาชิกผู้รับประโยชน์ในโครงการ จำนวน  168 คน  โดยมีทั้งหมด 3 กิจกรรม

rn

2_1

rn


rn

และในวันเดียวกันนี้ คณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรี ได้มีการพิจารณากลั่นกรองแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร(งบกู้ยืมไม่เกิน 500,000 บาท) จากการที่สำนักงานสาขาจังหวัดสุพรรณบุรีร่วมกับอนุกรรมการจังหวัดสุพรรณบุรี ลงพื้นที่ตรวจสอบดูความพร้อมความเป็นไปได้ของโครงการที่ยื่นขอรับการฟื้นฟูต่อสำนักงานสาขาจังหวัดในปีงบประมาณ 2549  งบกู้ยืมไม่เกิน 500,000 บาท จำนวน 2 โครงการ และนำเข้าที่ประชุมอนุกรรมการจังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อพิจารณา ดังนี้

rn

1. กลุ่มร่วมใจพัฒนาเกษตรกรตำบลหนองขาม  รหัสองค์กร   7247000325 ที่อยู่องค์กร 143 ม.7 บ้านหนองห้าง ต.หนองขาม

rn

อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี ชื่อโครงการเงินกู้ เลี้ยงแม่หมูขยายเป็นลูกหมูให้สมาชิกเลี้ยงเป็นหมูเนื้อเพื่อขายและขยายต่อ

rn

เป็นแม่พันธุ์ของตนเอง โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ 20 คน งบประมาณที่ขอรับการสนับสนุน 500,000 บาท ระยะเวลากู้  6 ปี  ผ่อนชำระ  6  งวด ร้อยละ1บาท/ปี

rn

วัตถุประสงค์ของโครงการ

rn

โครงการเลี้ยงแม่พันธุ์-พ่อพันธุ์ คือลงทุนครั้งเดียวสามารถขยายได้ยาวนานและเชื่อมโยงอาชีพหลักได้

rn

 1. สมาชิกที่ได้รับลูกหมูเลี้ยงนั้นสามารถขยายเป็นแม่พันธุ์ซึ่งเลี้ยงไว้เป็นของตนเองได้

rn

 2. สมาชิกที่ไม่มีที่ทำกิน หมูใช้พื้นที่น้อยอาชีพนี้ก็สามารถทำรายได้ให้อย่างงามและสามารถใช้หนี้

rn

3. สมาชิกที่ทำการเกษตรปุ๋ยเป็นหลักสำคัญมูลหมูนั้นสามารถใช้แทนปุ๋ยได้เป็นอย่างดี                        

rn

4. อาชีพหลักของเกษตรคือข้าวมันสำปะหลัง – ข้าวโพด – อ้อย สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เกื้อกูลพึ่งพากันและ

rn

สามารถสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสมาชิกได้         

rn

2. กลุ่มเกษตรผสมผสานบ้านทรัพย์ศิลา รหัสองค์กร 7243001580 ที่อยู่องค์กร 176 หมู่ 19 ต.ด่านช้าง อ.ด่านช้าง

rn

จ.สุพรรณบุรี ชื่อโครงการเงินกู้ ปลูกผักปลอดสารพิษ ทำปุ๋ยหมักชีวภาพใช้เอง โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ  16  คน งบประมาณที่ขอรับการสนับสนุน 500,000 บาท  ระยะเวลากู้  5 ปี  ผ่อนชำระ  5  งวด ร้อยละ1บาท/ปี 

rn

rn

วัตถุประสงค์ของ

rn

1. เพื่อสุขภาพผู้ผลิตและผู้บริโภคจะได้บริโภคผักปลอดภัยจากสารเคมี

rn

2. เพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกผัก

rn

3. เพื่อรักษาสภาพแวดล้อม

rn

4. เพื่อความต้องการของตลาด

rn

5. เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าในอนาคต

rn

โดยมติที่ประชุม พิจารณาเห็นชอบ ทั้ง 2 โครงการ

rn


กฟก.ระนองบูรณาการอนุกรรมการจว.

ranong

rn

ติวเข้มองค์กร“หวังใช้เงินถูกต้องตามกม.”

rn

ปรับแผนทำงานแบบบูรณาการ สำนักงานกองทุนฟื้นฟุและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดระนอง จูงมือคณะอนุกรรมการจังหวัด ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม ให้ความรู้องค์กรเกษตรกร ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ

rn

หวังองค์กรสามารถควบคุมการใช้จ่ายอย่างถูกต้อง 

rn

ระนอง – เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2555 ที่ผ่านมา นายจอมภพ บุญธรรม หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดระนอง พร้อมด้วย นายสมควร รัตนเทพี รองประธานอนุกรรมการจังหวัดระนอง นายมนู มีชัย นายพงษ์พันธ์ นวลศรี อนุกรรมการ และพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ลงพื้นที่เพื่อติดตามตรวจเยี่ยมและให้ความรู้เกษตรกร ณ ศาลาเอนกประสงค์มัสยิดบ้านบางกล้วยนอก โดยมีคณะกรรมการองค์กรบ้านบางกล้วยนอกและสมาชิกที่สนใจเข้าร่วมรับฟังรวม 30 คน นายดลก้อเส็ม  ผดุงชาติ ประธานองค์กรเกษตรกรบ้านบางกล้วยนอก ได้บรรยายความเป็นมาของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงแบบครบวงจร ที่ได้รับงบกู้ยืมจากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทราบโดยละเอียด

rn

นายจอมภพ กล่าวภายหลังการตรวจเยี่ยมให้กำลังใจเกษตรกร ว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้เป็นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันระหว่างพนนักงานเจ้าหน้าที่ คณะอนุกรรมการจังหวัดระนอง และเกษตรกร โดยจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำโครงการ สำหรับเกษตรกรที่ประสงค์จะขอกู้ยืมเงินจากสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ทั้งนี้เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้จ่ายเงินขององค์กรเกษตรกร  

rn

สำหรับบรรยากาศการร่วมประชุม ช่วงเช้านายจอมภพ ได้กล่าวชี้แจงถึงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการที่จัด ตลอดจนยุทธศาสตร์แนวทางการฟื้นฟูอาชีพ และการจัดการหนี้ของเกษตรกร ตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟู หลังจากนั้นายสมควร ในฐานะวิทยากรกระบวนการประจำสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาระนอง ได้ให้ความรู้เรื่องกระบวนการบริหารและการจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ

rn

ช่วงบ่ายนายมนู นายพงษ์พันธุ์ ร่วมกันเสวนาเรื่อง การบริหารโครงการเลี้ยงปลาเก๋าในกระชังเพื่อลดความเสี่ยงจากนั้นในช่วงวันที่ 23 พ.ค. 2555 ซึ่งเป็นวันที่ 2 ของโครงการ นายวิสุทธิ์ สิทธิเดช ประธานอนุกรรมการ ในฐานนะครูบัญชีอาสา ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีฟาร์ม และบัญชีครัวเรือนแก่ผู้เข้าร่วมสัมมนา

rn

ภูมิภาคที่ 1 จัดโครงการสัมมนาสรุปผลการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. 2555

rn

rn

pak1

rn

            สำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 1 ภาคเหนือ    จัดโครงการสัมมนาสรุปผลการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. 2555 ติดตามการจัดการหนี้ของเกษตรกร การฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และการบริหารสำนักงานสาขาจังหวัดภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 23 – 24 พฤษภาคม 2555 ณ โรงแรมวังแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก   เป็นการสัมมนาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในลักษณะของเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสรุปผลการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. 2555 และติดตามผลการดำเนินงานด้านการจัดการหนี้ของเกษตรกร การฟื้นฟูอาชีพของเกษตรกรและการบริหารงานของสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 1 (ภาคเหนือ) สำนักงานสาขาจังหวัดภาคเหนือ 17 จังหวัด ให้สัมฤทธิ์ผลตามแผนงานด้านวิชาการและด้านสันทนาการที่วางไว้ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย รักษาการเลขาธิการฯ นายสมยศ ภิราญคำ และคณะจากสำนักงานใหญ่ สำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 1 (ภาคเหนือ) หัวหน้าสำนักงาน พนักงาน ลูกจ้างชั่วคราวและลูกจ้าง ปคน. สาขาจังหวัด 17 จังหวัด รวมประมาณ  95   คน

rn

โดยได้รับเกียรติจากท่านรักษาการเลขาธิการฯ เป็นประธานในการสัมมนาครั้งนี้ ผลการสัมมนาได้สรุปประเด็นปัญหาในการเลือกตั้ง สรุปการดำเนินงานใน 6 เดือนแรก และการวางแผนการดำเนินการในไตรมาสสุดท้ายเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายตามแผนการดำเนินงานปะจำปี 2555

rn

การสัมมนาในครั้งนี้มีการจัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสามัคคีระหว่างผู้เข้าร่วมสัมมนาและผู้อำนวยการสำนักกิจการภูมิภาคที่ 1 สนับสนุนเงินรางวัลให้กับจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งอันดับ 1-3

rn

                ผลการใช้สิทธิ        อันดับ 1 จังหวัดน่าน                             5,000 บาท

rn

                                                อันดับ 2 จังหวัดอุตรดิตถ์                     3,000 บาท

rn

                                                อันดับ 2 จังหวัดลำปาง                        2,000 บาท

rn

                ผลการแข่งขันกีฬา  ทีมภาคเหนือตอนล่างชนะทีมภาคเหนือตอนบน

rn

การจัดการสัมมนาในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้และเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติและการเสนอประเด็นปัญหาอุปสรรค์เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขไปได้ต่อไป

rn

  pak125

เลขาฯและคณะติดตาม ลงพื้นที่เยี่ยมชมกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับงบกู้ยืม

rn

petlok25

rn

rn

นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการ รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  และคณะจากสำนักงานใหญ่ นายสมศักดิ์ อยู่รอด ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 1 พร้อมด้วย นายไพรัช สีวาโย รักษาการหัวหน้าสำนักงาน สาขาจังหวัดพิษณุโลก ลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานโครงการที่ได้รับงบกู้ยืมของจังหวัดพิษณุโลก  เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม 2555 ณ กลุ่มส่งเสริมการเกษตร ม.4 ต.ไผ่ขอดอน รหัสองค์กร 6543003847  ประธานกลุ่มคือนางทองหล่อ น่วมบาง 

rn

                ทางกลุ่มได้จัดทำ “โครงการเลี้ยงแม่พันธุ์สุกร” และได้รับงบกู้ยืมจำนวน 450,000 บาท มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ 21 คน ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและรับงบกู้ยืมเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2555 ซึ่งทางกลุ่มได้นำแม่พันธุ์สุกรมาเลี้ยง 20 ตัว เป็นกิจกรรมหลัก และมีกิจกรรมรองได้แก่ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การเลี้ยงปลา และการปลูกผักปลอดสารพิษ โดยสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมดเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว

rn

                ในการนี้ท่านสมยศ ภิราญคำ  รองเลขาฯ ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำกิจกรรมรอง คือการทำแก๊ซชีวภาพ  การประสานงานขอคำแนะนำไปยังปศุสัตว์จังหวัด และการต่อยอดโครงการ โดยให้สมาชิกขององค์กรที่ยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการ รวมกลุ่มเสนอแผนกู้ยืมเงินได้ นอกจากนี้ยังให้เกียรติไปรับประทานอาหารเช้าที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตำบลไผ่ขอดอน อ.เมือง จ.พิษณุโลก

rn

petlok2505

rn

แจ้งมติคณะอนุกรรมการฯ เรื่องชะลอโครงการกู้ยืมเกิน 5 แสนและไม่เกิน 2.5 ล้าน และโครงการ 84 พรรษา

แจ้งมติคณะอนุกรรมการฯ เรื่องชะลอโครงการกู้ยืมเกิน 5 แสนและไม่เกิน 2.5 ล้าน และโครงการ 84 พรรษา

rn

ดาวน์โหลด

กฟก.ระยองลงพื้นที่เพิ่มขวัญกำลังใจเกษตรกรที่ได้รับการชำระหนี้แทน

rn

rayong28

rn

rn

หลังพายุถล่มชาวสวนระยอง “กฟก.” ลงพื้นที่เพิ่มขวัญกำลังใจเกษตรกรที่ได้รับการชำระหนี้แทน

rn

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม – 1 เมษายน 2555  เกิดพายุฤดูร้อนพัดกระหน่ำแถบจังหวัดจันทบุรี ระยอง นานกว่า 1 ชั่วโมง ส่งผลให้สวนผลไม้ ยางพารา บ้านเรือนชาวบ้านเสียหายกว่า 200 หลังคาเรือน มีต้นไม่ล้มหักโค่น ถอนรากถอนโคน บางพื้นที่มีต้นไม้หักทับหลังคาบ้านเรือนประชาชน กระเบื้องหลังคาแตกเสียหาย เกษตรกรชาวสวนครวญ เสียหายครั้งนี้กว่าจะฟื้นคืนได้คงต้องใช้ระยะเวลาอีกหลายปี

rn

นายธนสรรค์  สีสม รักษาการหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดระยอง เปิดเผยว่า “เมื่อช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา พื้นที่ในจังหวัดระยองโดนพายุฤดูร้อนพัดกระหน่ำ ทำให้เกษตรกรสมาชิกกกองทุนฟื้นฟูฯ บางส่วนได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว โดยสำนักงานได้ลงพื้นที่ปลอบขวัญพร้อมทั้งให้กำลังใจเกษตรกรที่ได้รับการจัดการหนี้แล้ว ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองแกลง จำนวน 4 ราย ซึ่งขณะที่พายุพัดถล่มนั้นสวนผลไม้ของเกษตรกรกำลังอยู่ระหว่างรอเก็บเกี่ยวผลผลิต เกษตรกรทั้ง 4 รายนี้ เป็นหนี้สหกรณ์การเกษตรเมืองแกลง ได้รับการจัดการหนี้ไปเมื่อปี 2551 และปี 2553 และเริ่มชำระหนี้คืนให้กับสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ แล้ว แต่บางรายประสบกับปัญหาภัยธรรมชาติและสูญเสียผู้นำครอบครัว จึงจำเป็นต้องขอผ่อนผันการชำระหนี้ไว้ก่อน แต่ยังคงติดต่อกับสำนักงานอย่างต่อเนื่อง จากเหตุการณ์พายุพัดถล่ม ทำให้เกษตรกรต้องพบกับวิกฤตอีกรอบ เมื่อลงพื้นที่มาตรวจเยี่ยมในครั้งนี้ ทางสำนักงานจะได้รายงานผลความคืบหน้าเรื่องการชำระหนี้ให้สำนักงานใหญ่ได้รับทราบผลเพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป”

rn

นางสรรวงศ์  แต่งตั้ง  เกษตรกรที่ได้รับการชำระหนี้ กล่าวว่า “เป็นหนี้กับสหกรณ์การเกษตรเมืองแกลง จำกัด เมื่อหลายปีมาแล้ว ไม่สามารถชำระหนี้ให้กับสหกรณ์ได้ เนื่องจากเจอปัญหาหลายด้าน ทั้งเรื่องพืชผลราคาตกต่ำ รายได้จากการเช่าทำสวนผลไม้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่ต้องลงทุนในสวน ดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เมื่อกองทุนฟื้นฟูฯ เข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระตรงนี้ ได้รับการจัดการหนี้ไปเมื่อปี 2551 ยอดหนี้คงเหลือ 630,003 บาท จึงรู้สึกโล่งใจมาก อย่างน้อยก็ได้เบาใจว่า จำนวนหนี้ลดน้อยลง ผ่อนชำระกับกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นระยะเวลา 15 งวด เริ่มชำระงวดแรกไปเมื่อเดือนธันวาคม 2552 มาระยะหลังสามีป่วยเป็นอัมพฤกษ์ เงินที่พอจะมีอยู่บ้างก็ต้องเอามารักษาสามี ทำให้ค้างชำระหนี้กับกองทุนฟื้นฟูฯ มา 2 งวดแล้ว ซึ่งป้าได้แจ้งเรื่องนี้ให้หัวหน้าสำนักงานได้รับทราบแล้ว ทางสำนักงานแจ้งว่าจะรายงานผลให้สำนักงานใหญ่พิจารณาหาทางช่วยเหลือต่อไป”

rn

นางสายหยุด ปรารถนาผล  มีอาชีพทำสวนผลไม้ เปิดเผยกับสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ ว่า “ป้าเป็นหนี้สหกรณ์การเกษตรเมืองแกลง จำกัด ได้รับการจัดการหนี้จากกองทุนฟื้นฟูฯ เมื่อปี 2551 เป็นเงินทั้งหมด 620,568 บาท ชำระหนี้คืน 15 งวด ได้ชำระไปแล้ว 1 งวด แต่งวดที่ 2 และงวดที่ 3 ยังไม่ได้ชำระคืน เนื่องจากว่าประสบปัญหาเจอพายุพัดถล่มมา 2 ปีแล้ว ทำให้ขาดทุนไม่สามรถใช้หนี้ได้ตามกำหนด จึงขอผ่อนผันการชำระหนี้ออกไป ซึ่งก็ได้รับความกรุณาจากกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นอย่างดี หัวหน้าสำนักงานคอยดูแลอย่างใกล้ชิด รู้สึกดีใจมากที่มีกองทุนฟื้นฟูฯ มาช่วยแบ่งเบาภาระเรื่องหนี้ และทำให้ชีวิตดีขึ้น ถึงแม้วันนี้ผลผลิตจะยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่คิดไว้ แต่ปีไหนรายได้ไม่ดี หรือประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ก็สามารถผ่อนผันได้”

rn

นางมณี  ยวดยิ่ง ทำสวนผลไม้ และเลี้ยงวัว เปิดเผยว่า “กองทุนฟื้นฟูฯ ชำระหนี้แทนให้เมื่อปี 2552 จำนวนเงิน 541,879 บาท เดิมเป็นหนี้สหกรณ์การเกษตรเมืองแกลง จำกัด แต่ชำระหนี้ไม่ไหวโดนดำเนินคดี แต่กองทุนฟื้นฟูฯ เข้ามาจัดการหนี้ให้ ทำให้ยอดหนี้ลดลง ปีที่แล้วเจอพายุหนัก พืชผลในสวนล้มเกือบหมด ทำให้ไม่มีเงินผ่อนชำระ จึงขอผ่อนผันหนี้ไปก่อน ปีนี้คาดว่าถ้ารายได้ดี ก็จะนำเงินไปจ่ายให้กองทุนฟื้นฟูฯ ตามกำหนด”

rn

นางเรณู  เจริญศรี ประกอบอาชีพเก็บฝักบัว และดอกบัวขาย ได้รับการชำระหนี้แทน จำนวน 719,570 บาท กล่าวว่า “ป้าได้รับการจัดการหนี้เมื่อปี 2552 ชำระหนี้คืนไปแล้ว 1 งวด เมื่อเดือนสิงหาคม 2553 แต่ปีนี้ยังไม่มีเงินผ่อนชำระ เนื่องจากว่า ปีนี้รายได้น้อยกว่าทุกปี บัวที่เคยปลูกขายไม่ค่อยมีดอก ทำให้ไม่มีเงินส่งกองทุนฟื้นฟูฯ แต่ได้แจ้งให้หัวหน้าสำนักงานทราบแล้ว หากมีเงินจะรีบนำไปชำระคืนแน่นอน”

rn

ท้ายนี้ นายธนสรรค์  สีสม  รักษาการหัวหน้าสำนักงาน ได้กล่าวปิดท้ายเกี่ยวกับเรื่องการชำระหนี้คืนของเกษตรกรในจังหวัดระยอง ว่า “ในการลงพื้นที่ติดตามการชำระหนี้คืนของเกษตรกรครั้งนี้ ได้มีโอกาสไปเยี่ยมสวนผลไม้ ดูพื้นที่จริงที่เกษตรกรใช้ในการประกอบอาชีพ พบว่า เกษตรกรทุกรายประสบปัญหาภัยธรรมชาติจริง และผลไม้ที่กำลังจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ เสียหายหนัก หลังจากนี้สำนักงานจะต้องรายงานผลการติดตามให้สำนักงานใหญ่ทราบ เพื่อให้คณะกรรมการจัดการหนี้พิจารณาต่อไป”

rn

///////////////////////////////////