กฟก.เชียงราย สนับสนุนงบให้เกษตรกรชนเผ่า ลาหู่ เพื่อฟื้นฟูอาชีพ

 

rn

ray25

rn

นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้อนุมัติเงินงบประมาณ ให้กับองค์กรเกษตรกร กลุ่มเกษตรบ้านหนองเขียว หมู่ 12ต.แม่กรณ์ อ.เมือง จ.เชียงราย จำนวนเงิน 330,000 บาท เพื่อเป็นค่าจัดซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และทำปุ๋ยอินทรีย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกองค์กรเกษตรกร  

rn

ทางด้าน นายวิโรจน์ จะผี ประธานองค์กร เปิดเผยว่า ดีใจมากที่ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร อนุมัติงบกู้ยืมให้กับองค์กรเกษตรกร โดยกลุ่มเกษตรบ้านหนองเขียวหมู่ 12 เป็นชุมชนชาวเขาเผ่าลาหู่ หรือ   มูเชอ ซึ่งการประกอบอาชีพของสมาชิกคือทำไร่ข้าวสำหรับบริโภคในครัวเรือน มีรายได้หลักจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และข้าวโพดหวาน มีรายได้เสริมจากการเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู วัว และรับจ้างทั่วไป  

rn

นายนิยม กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การเสนอโครงการ ปลูกข้าวโพดหวานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีความสอดคล้องกับแผนแม่บทองค์กร อีกทั้งเป็นการรวมตัวของสมาชิกองค์กรที่ปลูกข้าวโพดหวานและปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งต้องการปรับระบบการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและเป็นการเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการทำเกษตรกรรมยั่งยืนให้กับสมาชิกองค์กรเกษตรกร

กฟก.เชียงใหม่ร่วมจัดพิธีมอบสำเนาสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ฯ

 

rn

NEW25

rn

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร   ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการตามโครงการปรับโครงสร้างหนี้ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 โดยร่วมกับสถาบันการเงินซึ่งประกอบด้วย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร , ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ,ธนาคารอาคารสงเคราะห์,ธนาคารออมสิน  และธนาคารกรุงไทย  โดยให้ลดเงินต้นร้อยละ 50 ของเงินกู้และตัดดอกเบี้ยทิ้งทั้งหมดนั้น

rn

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2555   สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงใหม่   และผู้แทนสำนักงาน ธ.ก.ส. ได้ร่วมจัดพิธีมอบสำเนาเอกสารสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ  ดังกล่าว  โดยมีรองประธานคณะอนุกรรมการฯ และอนุกรรมการ ฯ จังหวัดเชียงใหม่  ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธี  มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ดังกล่าว จำนวน 486 ราย   มูลค่าหนี้เดิมรวมทั้งหมดจำนวน  142,301,550 บาท  (หนึ่งร้อยสี่สิบสองล้านสามแสนหนึ่งพันห้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน)   หลังจากที่ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้แล้วสามารถทำการลดเงินต้นร้อยละ 50 ของเงินกู้ และตัดดอกเบี้ยทิ้ง   จึงมีมูลหนี้คงเหลือเพียง  71,150,775 บาท (เจ็ดสิบเอ็ดล้านหนึ่งแสนห้าหมื่นเจ็ดร้อยเจ็ดสิบห้าบาทถ้วน) ซึ่งเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการได้มีความดีใจเป็นอย่างมาก  ทั้งนี้ นายประเทือง  นรินทรางกูล ณ อยุธยา หัวหน้าสำนักงานฯ ได้กล่าวว่า “ส่วนสัญญาที่เหลืออีกประมาณ 1,100 สัญญา สำนักงาน ธกส.สาขาในจังหวัดเชียงใหม่กำลังดำเนินการเร่งรัดทำให้แล้วเสร็จ และจะนำมามอบให้กับเกษตรกรเร็วๆนี้ ต่อไป”

กฟก.สมุทรสาคร เดินหน้างบอุดหนุนสร้างองค์กรเข้มแข็ง

 

rn

samutsa2506

rn

 

rn

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดสมุทรสาคร นำโดยนางวรรณี  มหานีรานนท์ และเจ้าหน้าที่ฟื้นฟูฯ ลงพื้นที่พบปะเกษตรกรสมาชิก กลุ่มโคกขามพัฒนา (7451000010) กลุ่มพัฒนาเกษตรกร  ต.เจ็ดริ้ว (7443000537) กลุ่มนาโคกพัฒนา (7447000035) เพื่อผลักดันงบประมาณแก่องค์กร   ที่ยังไม่เคยได้รับงบอุดหนุน โดยมีวัตถุประสงค์หลักสอดคล้องกับมาตรา 5 ของ พ.ร.บ. กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรดังนี้

rn

1. ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร

rn

2. ส่งเสริมและสนับสนุนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกร

rn

3. พัฒนาความรู้ในด้านการเกษตรกรรมหรือกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรเกษตรกร

rn

4. พัฒนาศักยภาพในการพึ่งพาตนเองและเกื้อกูลซึ่งกันและกันระหว่างเกษตรกร

rn

               “สมาชิกองค์กรแต่ละคนประกอบอาชีพที่แตกต่างกันไป บ้างก็ทำสวนทำนา บ้างก็เลี้ยงสัตว์น้ำ ดังนั้น  การจะพัฒนาองค์กรให้เข้มแข็ง แต่ละกลุ่มจะต้องมีแนวทางที่ชัดเจนและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการ เกษตรกรได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงและสามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งแต่ละองค์กรมี ความเชื่อมั่นว่า งบอุดหนุนนี้จะสามารถสร้างความสามัคคีและพัฒนาองค์กรให้เข้มแข็งต่อไปได้น.ส.เกษร   พึ่งมาลา  ประธานกลุ่มองค์กรโคกขามพัฒนากล่าวด้วยความภาคภูมิใจ

กฟก.จันทบุรีลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้า “งบกู้ยืม”

 

rn

junta25

rn

 

rn

วันที่ 15 มิถุนายน 2555 นางดลยา  ศรีสำราญรุ่งเรือง หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดจันทบุรีพร้อมด้วยพนักงานและลูกจ้างลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยม และติดตามโครงการตามแผนเลี้ยงหอยแครงของ กลุ่มสัจจะพัฒนาการเกษตรบ้านสีลำเทียน

rn

หลังจากที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดจันทบุรี ได้รับอนุมัติโครงการ งบกู้ยืม”   แต่ละองค์กรก็เร่งดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ เริ่มต้นจากองค์กรแรก กลุ่มสัจจะพัฒนาการเกษตรบ้านสีลำเทียนรหัสองค์กร 2243004763 โครงการเลี้ยงหอยแครงเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ หลังจากเริ่มปล่อยหอยแครง เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2554 ของ จนถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2555 จนตอนนี้ครบ 6 เดือนแล้วมีขนาดโตขึ้นมากจากวันที่ปล่อย ขนาด 1,100 ตัว/กก. เป็น 145 ตัว/กก. ทั้งนี้ทางกลุ่มคาดว่าจะเลี้ยงหอยแครงให้มีขนาด 60 ตัว/กก. โดยใช้ระยะเวลาอีก 4-5 เดือนจึงจะจับขายได้

rn

ประธานกลุ่ม นายศรนรินทร์ สอิ้ง ได้กล่าวเพิ่มเติ่มว่าก่อนที่จะมาทำการเลี้ยงหอยแครงเคยการเลี้ยงกุ้งมาก่อนแต่กุ้งเกิดโรคระบาดทำให้ประสบปัญหาการขาดทุนเกษตรกรบางคนถึงขนาดต้องขายไร่ขายนาเพื่อนำมาใช้หนี้ เลยคิดที่จะหันกลับมาเลี้ยงหอยแครงเพราะมีความรู้และเคยเลี้ยงมาก่อนโดยเข้าไปที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อจัดทำแผนโครงการและได้รับเงินกู้ยืม โดยการเลี้ยงหอยแครงนี้เป็นการเลี้ยงอย่างธรรมชาติน้ำถ่ายเทได้ดีและไม่ต้องใช้อาหารในการเลี้ยงและหอยแครงทำให้หอยแครงโตเร็วมาก 

rn

junta2506

สมาชิก กฟก.สมุทรสาคร ดูงานห้วยทรายฯ ปรับกระบวนทัศน์เศรษฐกิจพอเพียง

 

rn

samut125

rn

ตามที่องค์กรโคกขามพัฒนา รหัสองค์กร 745100010 เสนอแผนโครงการพัฒนาศักยภาพองค์กรเข้มแข็ง เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2555 มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ 115 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ พัฒนาความรู้ในด้านเกษตรกรรมและอาชีพเสริม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กร พัฒนาศักยภาพในการพึ่งพาตนเองเกื้อกูลซึ่งกันและกันระหว่างเกษตรกร และนำความรู้ที่ได้มาทำแผนแม่บทองค์กร ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม 4 กิจกรรมดังต่อไปนี้

rn

กิจกรรมที่ 1 สัมมนา/ อบรม การปรับกระบวนทัศน์และพัฒนาการผลิตในครัวเรือน

rn

กิจกรรมที่ 2 จัดทำแผนองค์กร -เก็บข้อมูล-วิเคราะห์ข้อมูล-ปัจจัยภายในภายนอกองค์กร-กำหนดแผนเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ

rn

กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมตามที่องค์กรได้ของบอุดหนุนไว้อุดหนุนในแผนและโครงการ ศึกษาดูงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง/ เกษตรอินทรีย์

rn

กิจกรรมที่ 4 สรุปแผน/ โครงการที่ได้รับอนุมัติงบอุดหนุน

rn

โดยเมื่อวันที่ 14-15 มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา ตัวแทนองค์กรกลุ่มโคกขามพัฒนา จำนวน 30 คนและเจ้าหน้าที่ กฟก.สมุทรสาคร เดินทางไปอบรม เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ 3 การศึกษาดูงานด้านเกษตรพอเพียง/ เกษตรอินทรีย์ โดยทางศูนย์ฯ เน้นการปรับปรุงดินด้วยการปลูกหญ้าแฝก การทำน้ำหมักจุลินทรีย์ การเพาะพันธุ์ปลานิลหมัน ปลาดุก การเลี้ยงเป็ดไข่ โดยมีแปลงสาธิตพืชผักปลอดสารเคมี กังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน

rn

จากการศึกษาดูงานข้างต้น ตัวแทนเกษตรกรให้ความสนใจและซักถามข้อมูลต่างๆ กับวิทยากรและเจ้าหน้าที่ของทางศูนย์เป็นอย่างดี โดยตัวแทนเกษตรกรจะได้นำความรู้ที่ได้กลับไปเผยแพร่ให้กับเกษตรกรสมาชิกในกลุ่มดำเนินการพัฒนาอาชีพ ต่อยอด ขยายองค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง และที่สำคัญที่สุดคือ การสร้างความเข้มแข็ง ความสามัคคีให้แก่องค์กรเพื่อก้าวไปสู่การจัดทำแผนแม่บทตามโครงการพัฒนาศักยภาพองค์กรเข้มแข็งได้

กฟก.อุดรธานี จัดเวทีเวทีขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาเกษตรกร

udoon251

rn

นายรัตนกุล โพธิ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดอุดรธานี ได้จัดทำโครงการเวทีขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงเชิงพื้นที่เพื่อ “สร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาเกษตรกรอุดรธานี” ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม – 6 เมษายน 2555 จำนวน 10 เวที โดยได้รับงบประมาณดำเนินการสนับสนุนจาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี โดยนายหาญชัย ทีฆธนานนท์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ในการอบรมเกษตรกรตามโครงการ และการจัดเวทีดำเนินการอบรมครั้งนี้ ทางสำนักงานต้องขอขอบคุณ หน่วยงานราชการอื่นๆ ที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือจนการอบรมสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ซึ่งการทำเกษตรประณีต 1 ไร่ เป็นความพยายามของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ที่ต้องการสร้างหลักฐานเชิงประจักษ์ และกระบวนการทำงานดับทุกข์ สร้างสุขสำหรับเกษตรกรที่สนใจจะเจริญรอยตามปราชญ์ชาวบ้าน ในการทำเกษตรผสมผสานแต่มักจะติดกรอบความคิด ว่าต้องมีที่ดินมาก ต้องมีแรงงานมาก และต้องลงทุนมากจึงจะทำได้สำเร็จ ให้สามารถเห็นตัวอย่างที่ดี และสามารถไปเริ่มต้นได้ไม่ยาก โดยมีที่ดินเพียง 1 ไร่ ใช้เวลาไม่มาก และใช้เงินทุนน้อย การอบรมครั้งนี้ ทำให้เกษตรกรได้รับองค์ความรู้ในการทำเกษตรกรรมอย่างประณีต 1 ไร่ ตามแบบอย่างเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านและพหุภาคีภาคอีสานว่าเป็นอย่างไร ทำอย่างไร ทำแล้วจะได้ผลผลิตกี่ชนิด จำนวนเท่าไร เสียค่าใช้จ่ายเท่าไร มีต้นไม้เพิ่มขึ้นกี่ชนิด จำนวนเท่าไร่ เพื่อสรุปเป็นบทเรียนในการทำเกษตรกรรม อย่างประณีตในที่ดิน 1 ไร่ แก่เกษตรกรที่สนใจศึกษา

rn

องค์กรเกษตรกรที่ได้รับอนุมัติงบกู้ยืมปี 2549 สำนักงานสาขาจังหวัดอุดรธานี

rn

ได้อนุมัติเงินกู้ยืมองค์กรเกษตรกร งวดที่ 1 จำนวน 10 องค์กร งบประมาณทั้งสิ้น 2,395,050 บาท ณ สำนักงานกองทุนฯ สาขาจังหวัดอุดรธานี

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

ลำดับ 

rn

rn

ชื่อองค์กร 

rn

rn

รหัสองค์กร 

rn

rn

โครงการ 

rn

rn

จำนวนเงิน 

rn

rn

1

rn

rn

กลุ่มกองทุนฟื้นฟูเกษตรกรปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ 

rn

rn

4143001071

rn

rn

การเลี้ยงโคเนื้อและสุกร

rn

rn

255,000

rn

rn

2

rn

rn

กลุ่มปลูกมันสำปะหลังบ้านนาปู 

rn

rn

4143003244

rn

rn

โครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรภายหลังการจัดการหนี้ 

rn

rn

107,350

rn

rn

3

rn

rn

กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์บ้านหนองแปน

rn

rn

4143019574

rn

rn

การเลี้ยงปลานิล 

rn

rn

286,900

rn

rn

4

rn

rn

ศูนย์วิสาหกิจชุมชนเกษตรน้ำโสม 

rn

rn

4148000030

rn

rn

ไร่นาสวนผสมวิสาหกิจชุมชนเกษตรน้ำโสม 

rn

rn

296,300

rn

rn

5

rn

rn

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านศรีบูรพา 

rn

rn

4144000265

rn

rn

ส่งเสริมการปลูกและแปรรูปกล้วยแบบเศรษฐกิจพอเพียง

rn

rn

285,000

rn

rn

6

rn

rn

ศูนย์ถ่ายทอดการเรียนรู้วิสาหกิจชุมชน จังหวัดอุดรธานี 

rn

rn

4143021587

rn

rn

จัดตั้งศูนย์เพาะพันธุ์ขยายพันธุ์โคเนื้อ 

rn

rn

229,500

rn

rn

7

rn

rn

กลุ่มเกษตรกรภูดินพัฒนา 

rn

rn

4143022486

rn

rn

เลี้ยงโคเนื้อพันธุ์พื้นเมือง 

rn

rn

240,000

rn

rn

8

rn

rn

กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่บ้านใหม่ไทรทอง 

rn

rn

4143000687

rn

rn

การเลี้ยงโคเนื้อ

rn

rn

260,000

rn

rn

9

rn

rn

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านตาดอึ้ง 

rn

rn

4143002140

rn

rn

การเลี้ยงโคเนื้อ

rn

rn

165,000

rn

rn

10

rn

rn

ศูนย์วิสาหกิจชุมชนเวียงคำฟ้า อ.บ้านผือ

rn

rn

4144001270

rn

rn

การเลี้ยงโคเนื้อ  

rn

rn

270,000

rn

rn

รวมเป็นเงิน 

rn

rn

2,395,050 

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn


rn

rn

rn

rn

udoon252

กฟก.อุดรธานี ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรเกษตรกร

 

rn

udoon253

rn

นางสาวดาวใจ คำแสน พนักงานอาวุโส พร้อมด้วยลูกจ้าง สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดอุดรธานี  ได้ลงพื้นที่ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรเกษตรกร กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์บ้านหนองแปน รหัสองค์กร 4143019175 ที่เสนอโครงการเลี้ยงปลานิล , เลี้ยงโคพื้นเมืองและเลี้ยงสุกรขุน โดยกลุ่มองค์กรได้รับงบประมาณโครงการกู้ยืมจากสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ จำนวน 426,250 บาท มีผู้เข้าร่วมโครงการ 53 คน นั้น สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดอุดรธานี ได้ให้พนักงานทำทะเบียนโคเนื้อ โดยการติดเบอร์หูโคเนื้อทุกตัวเป็นรหัสของกองทุนฟื้นฟู เช่น  กฟก.อด 001/55  เนื่องจากเป็นโครงการระยะยาวใช้เวลาหลายปี และเพื่อให้สะดวกในการติดตามโครงการและสนับสนุนองค์กรต่อไป

rn

uboon25063

rn

rn

กฟก.จันทบุรีลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้า “งบกู้ยืม” กลุ่มหนองเตียนพัฒนาเกษตรกร

 

rn

junta225

rn

rn

หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรก นางดลยา ศรีสำราญรุ่งเรืองพร้อมด้วยพนักงานและลูกจ้างสำนักงานลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม กลุ่มหนองเตียนพัฒนาเกษตรกร รหัสองค์กร 2247000142 ที่ได้รับเงินกูยืมเพื่อทำโครงการ ปุ๋ยอินทรีย์ – น้ำหมักชีวภาพ – เลี้ยงหมู   เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา ทางกลุ่มได้ดำเนินการผสมปุ๋ยหมัก และหมักทิ้งไว้ 1 เดือนแล้ว  และในวันที่ 18 มิถุนายน 2555 จะกลับกองปุ๋ยเพื่อคลุกเคล้าให้เข้ากันอีกครั้ง แล้วหมักทิ้งไว้อีก 3 เดือน จึงจะนำออกมาขายให้กับสมาชิกในกลุ่ม พร้อมทั้งสังเกตการเจริญเติบโตของหมู 2 เดือน และการย่อยสลายของน้ำหมักชีวภาพ โดยหัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดจันทบุรี นางดลยา  ศรีสำราญรุ่งเรือง และเจ้าหน้าที่

กฟก. เมืองมะขามหวาน เร่งประสานความร่วมมือกับสหกรณ์ในการซื้อหนี้

 

rn

pachboon25

rn

เมื่อวันที่ 21  มิถุนายน  พ.ศ. 2555  นางกมลา   สักเพ็ง รักษาการหัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ฯ และคณะอนุกรรมการจังหวัดเพชรบูรณ์ เข้าร่วม “การประชุมเพื่อพัฒนาธุรกิจและการสร้าเครือข่ายเชื่อมโยงธุรกิจ”  ซึ่งชมรมเครือข่ายสหกรณ์จังหวัดเพชรบูรณ์ได้จัดขึ้น ณ. ห้องประชุมสโมสรโฮมแลนด์รีสอร์ท  โดยได้ร่วมประชุมเพื่อชี้แจงนโยบาย และการดำเนินการซื้อหนี้ของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดเพชรบูรณ์ และเป็นการประสานความร่วมมือระหว่าง สนง.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดเพชรบูรณ์ และชมรมเครือข่ายสหกรณ์จังหวัดเพชรบูรณ์ ในการดำเนินงานในด้านการจัดการหนี้ของเกษตรกร

อธิปดีกรมบัญชีกลางตรวจเยี่ยม กฟก.พิษณุโลก

 

rn

pechlok25

rn

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2555 เวลา 13.00 น. นางอุไร  ร่มโพธิหยก ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี ปฏิบัติราชการแทน อธิบดีกรมบัญชีกลาง พร้อมคณะทำงาน จำนวน 17 คน  เข้าตรวจเยี่ยมติดตามผลการดำเนินงานและรับทราบปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน ของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพิษณุโลก ณ ห้องประชุมเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก โดยมี  นายนิติธรรม์  พิชิตเธียธรรม ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบ นายคงเจตน์ พร้อมนำพล หัวหน้าส่วนฝึกอบรม นายสมศักดิ์  อยู่รอต ผู้อำนวยการสำนักกิจการภูมิภาคที่1(ภาคเหนือ)  นายไพรัช  สีวาโย  รักษาการหัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดพิษณุโลก พร้อมพนักงานและลูกจ้าง สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพิษณุโลก ให้การต้อนรับและรายงานผลการดำเนินงานตลอดจนปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  

rn

คณะตรวจติดตามผลการดำเนินงานได้ให้คำแนะนำในการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยให้ปรับปรุงการทำงานให้เป็นไปตามตัวชี้วัด และสำนักงานสามารถที่จะปรับตัวชี้วัดในส่วนที่สอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูฯได้ การจัดทำบัญชีให้ปิดบัญชีเป็นไปตามกำหนดเวลา และระเบียบของสำนักงบประมาณ  การดำเนินงานในส่วนของสำนัก งานสาขาให้บูรณาการ การทำงานร่วมกับภาคีความร่วมในจังหวัดให้มากยิ่งขึ้น

rn