เกษตรกร จ.ตาก สนใจร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้

 

rn

tak22

rn

 

rn

โครงการปรับโครงสร้างหนี้ ตามมติ ครม. 7 เม.ย. 53 จังหวัดตากคืบหน้า เกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์แสดงความประสงค์ขอเข้าร่วมโครงการ เพื่อลดภาระหนี้กับ ธกส. หวังหลุดพ้นจากวงจรการเป็นหนี้ที่หมักหมมมานานหลายปี และพร้อมเข้าศูนย์ฝึกอบรม ปรับทัศนคติชีวิตใหม่

rn

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดตาก โดยเจ้าหน้าที่โครงการปรับโครงสร้างหนี้ ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามเกษตรกรที่มีรายชื่อตามโครงการปรับโครงสร้างหนี้ฯ เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมโครงการปรับวิธีคิดพิชิตความยากจนณ ศูนย์ฝึกอบรมวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตาก โดยเจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการปรับโครงสร้างหนี้ ฯ และการจัดอบรมเพื่อปรับกระบวนทัศน์ ซึ่งหลังจากทำความเข้าใจกันแล้ว มีเกษตรกรสมาชิกที่ได้รับสิทธิ์ลงชื่อเข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้อย่างคับคั่ง

อนุกรรมการนครปฐมเร่งสำรวจพื้นที่ผู้อุทธรณ์กรณีวัตถุประสงค์ไม่ระบุเพื่อการเกษตร

 

rn

npatom22

rn

เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2555 ประธานอนุกรรมการฯ ผู้แทนอนุกรรมการฯ และหัวหน้าสำนักงานฯจังหวัดนครปฐม ร่วมตรวจสอบพื้นที่หลักประกันการกู้ พื้นที่ที่อยู่อาศัยและพื้นที่การทำการเกษตรของสมาชิกเกษตรกรที่ยื่นคำขออุทธรณ์กรณีที่วัตถุประสงค์การกู้ไม่ระบุเพื่อการเกษตร โดยการตรวจสอบพื้นที่ในครั้งนี้นำทีมโดยประธานอนุกรรมการฯซึ่งอีกสถานะหนึ่งดำรงตำแหน่งอัยการประจำ                  สำนักงานอัยการสูงสุดจังหวัดนครปฐมด้วย ซึ่งประธานอนุกรรมการฯ ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาให้พี่น้องเกษตรกรเป็นอย่างยิ่ง  จึงเร่งให้ทำการตรวจสอบและเร่งพิจารณา เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรได้รับการแก้ไขปัญหาได้ทันก่อนการถูกบังคับคดีและขายทอดตลาดต่อไป 

กฟก.นครปฐม ลงพื้นที่ชี้แนะการนำเสนอแผนโครงการปรับโครงสร้างหนี้

 

rn

npatom2206

rn

นางสาวรุ่งนภา วงค์แพง หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรนครปฐม และลูกจ้างโครงการปรับโครงสร้างหนี้ฯ ร่วมพูดคุยกับคณะกรรมการของกลุ่มองค์กร เพื่อสร้างความเข้าใจในแนวทางการเขียนแผนโครงการเพื่อของบประมาณสนับสนุนการเรียนรู้และสร้างความเข้มแข็งขององค์กร พร้อมกับชี้แจงแนวทางการปรับปรุงแผนโครงการให้กับคณะกรรมการของกลุ่มที่เคยได้รับงบสนับสนุนไปพัฒนาการเรียนรู้สร้างความเข้มแข็งกลุ่มองค์กรแล้ว โดยจัดเวทีประชุมร่วมกัน 3 กลุ่มองค์กร เพื่อให้ได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม โดยจัดการประชุมร่วมกันที่ทำการกลุ่มไร่นาสวนผสมบ้านไผ่ล้อม อ.บางเลน จ.นครปฐม 

กฟก.มุกดาหาร จัดโครงการพัฒนาศักยภาพองค์กรที่ได้รับเงินกู้ยืม

 

rn

 

rn

mukda22

rn

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ จ.มุกดาหาร  จัดอบรม โครงการพัฒนาศักยภาพองค์กรเกษตรกรที่ได้รับเงินกู้ยืมกฟก.มุกดาหารได้รับเงินกู้ยืมรวมทั้งสิ้น 2,300,000 บาท พร้อมลุยตรวจเยี่ยมองค์กรเกษตรกรทุกองค์กรที่ได้รับเงินกู้ยืม

rn

นายสานิต เชิดโคกศรี หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดมุกดาหารร่วมกับพนักงานและลูกจ้าง ได้จัดอบรม โครงการพัฒนาศักยภาพองค์กรเกษตรกรที่ได้รับเงินกู้ยืมระหว่างวันที่     2425 พฤษภาคม 2555 ณ ธารจินดา รีสอร์ท จังหวัดมุกดาหาร  ประกอบด้วยองค์กรเกษตรกรที่ได้รับเงินกู้ยืมจำนวน  12 องค์กร

rn

                                             1. สหกรณ์การเกษตรเมืองมุกดาหาร จำกัด

rn

                                             2. กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ตำบลมุกดาหาร

rn

                                             3. กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ตำบลหนองสูงใต้

rn

                                             4. กลุ่มเกษตรธรรมชาติ

rn

                                             5. กลุ่มสามัคคีร่วมพัฒนาอาชีพ

rn

                                             6. กลุ่มเกษตรกรทำนาพังแดง

rn

                                             7. กลุ่มกิจกรรมการเกษตรเพื่อชีวิต ตำบลบ้านเหล่า

rn

                                              8. กลุ่มประมงบ้านท่าไคร้ นาแล

rn

                                              9. สหกรณ์การเกษตรโนนยาง จำกัด

rn

                                            10. สมาพันธ์เกษตรกรจังหวัดมุกดาหาร

rn

                                            11. กลุ่มเลี้ยงโคบ้านขอนแก่

rn

                                            12. กลุ่มผู้ทำการเกษตรแบบผสมผสาน

rn

เป็นเงินทั้งสิ้น 2,300,000 บาท ซึ่งได้เชิญผู้นำองค์กรและคณะกรรมการดำเนินการชุดปัจจุบันเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ การจัดอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพองค์กรเกษตรกรในครั้งนี้ทางสำนักงานได้เชิญผู้อำนวยการสำนักฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นายประยงค์ อัฒจักร มาเป็นวิทยากรและชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการที่ผ่านการอนุมัติ  เพื่อต้องการให้องค์กรเกษตรกรมีความเข้มแข็ง เข้าใจหลักการกฎเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ชี้แจงการการบริหารองค์กรให้มีแนวความคิดในการบริหารองค์กรไปในทิศทางทีถูกต้อง การจัดการและการบริหารเงินกู้ยืมภายในองค์กรให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้

rn

             หลังจากอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพองค์กรแล้วเสร็จ หัวหน้าสานิต เชิดโคกศรีพร้อมลูกจ้างฯ ได้ลุยลงพื้นที่ ออกตรวจเยี่ยมองค์กรเกษตรกรทุกองค์กรที่ได้รับเงินกู้ยืมเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวขององค์กรพร้อมทั้งชี้แจงสมาชิกองค์กรที่เข้าร่วมโครงการให้มีความรู้ความเข้าใจ  ปฏิบัติตามกฎระเบียบและแผนที่วางไว้ ให้มีความถูกต้อง เพื่อให้สมาชิกมีรายได้ที่ดี และมีกำลังชำระเงินคืนให้กับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรต่อไป

rn

เกษตรกรที่สนใจอยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับการฟื้นฟูอาชีพ และการจัดการหนี้ สามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดมุกดาหาร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร (บริเวณโรงเรียนมุกดาลัย)  ถ.พิทักษ์พนมเขต อ.เมือง จ.มุกดาหาร ๔๙๐๐๐ โทร. ๐ ๔๒๖๑ ๔๗๒๔ โทรสาร. ๐ ๔๒๖๑ ๔๑๐๑

กฟก.ศรีสะเกษ เดินหน้าทำสัญญากู้ยืมหลังองค์กรได้รับอนุมัติงบกู้ยืม

rn

rn

srisa223

rn

rn

 

rn

ศรีสะเกษ ดร.อังกูร  จำเริญสาร  หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดศรีสะเกษ  เปิดเผยว่าตามที่องค์กรเกษตรกรได้เสนอแผนและโครงการฯ เพื่อขอรับการสนับสนุนเงินงบประมาณประเภทเงินให้กู้ยืมจากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ไม่เกิน 500,000 บาท เพื่อไปดำเนินกิจกรรมตามโครงการเพื่อพัฒนาอาชีพของเกษตรกรสมาชิก

rn

 ที่ผ่านมามีกลุ่มองค์กรเกษตรกรได้เสนอแผนโครงการซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการจังหวัดศรีสะเกษแล้วจำนวน 8 องค์กร โดยกลุ่มประชาสังคมเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลเมืองหลวง (20) รหัสองค์กร 3343007048  ชื่อประธานองค์กร  คุณตระกูล  พรหมคุณ ที่ตั้งองค์กร เลขที่ 44 หมู่ที่ 2 ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน   จังหวัดศรีสะเกษ  ได้รับสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินกิจกรรมตามโครงการต้นกล้าเกษตรอินทรีย์ จำนวน 429,000 บาท มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ 16 คน  ซึ่งทางกลุ่มได้จัดประชุมคณะกรรมการกลุ่มและสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการโดยมีหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดศรีสะเกษ เข้าร่วมชี้แจงโครงการและระเบียบข้อบังคับของโครงการในการทำงานร่วมกันภายในองค์กร รวมทั้งการแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการและสมาชิก สิทธิประโยชน์ภาระผูกพันและข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติระหว่างสมาชิกกับองค์กร และเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2555 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาศรีสะเกษจัดทำสัญญากู้ยืมกับองค์กรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

rn

“กฟก.ระนอง” บูรณาการอนุกรรมการ เปิดเวทีติวเข้มก่อนปล่อยงบ”เกษตรกร”

 

rn

ranong2205

rn

หวั่นเกษตรกรใช้เงินผิดพลาด “กฟก.ระนอง” จับมืออนุกรรมการจังหวัด “เปิดเวทีจัดปฐมนิเทศ องค์กรเกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อนำไปใช้ในการจัดทำแผนแม่บทองค์กร “ตัวแทนองค์กร” เผย สานฝันเกษตรกรให้เป็นจริง หลังรอมายาวนานกว่า ๑๐ ปี

rn

       ระนอง – นายจอมภพ บุญธรรม หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดระนอง เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการปฏิบัติงานสนับสนุนด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่า เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา เขาพร้อมด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่ฯประกอบด้วย นางอรุณี นวลศรี นางสาวปณีต บูรณ์พงศ์ และนายวิสุทธิ สิทธิเดช ประธานคณะอนุกรรมการฯ นายสมควร รัตนเทพี รองประธาน ได้เดินทางไปที่ทำการ กลุ่มพลัง จปร.ฟื้นฟูเกษตรกร เลขที่ ๒๘ หมู่๑๑ ตำบล จปร. อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง เพื่อจัดปฐมนิเทศโครงการทำแผนแม่บทองค์กร ซึ่งได้รับงบสนับสนุน(ให้เปล่า)จากกองทุนฟื้นฟูฯ

rn

       “สมาชิกขององค์กรนี้มีทั้งหมด ๑๑๙ คน มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวน ๑๐๖ คน ในการจัดประชุมเพื่อปฐมนิเทศก์ มีสมาชิกมาร่วม ๘๐ คน ซึ่งในการประชุมนั้นผมได้แจ้งให้สมาชิกได้ทราบว่า ทางสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯได้อนุมัติงบให้ทางกลุ่มพลัง จปร.ฯ จำนวน ๗๒,๗๒๐ บาท เพื่อใช้สำหรับการจัดประชุมระดมความเห็นมาจัดทำแผนแม่บทองค์กร และสำรวจตัวเองและความต้องการของส่วนรวม ซึ่งจะได้นำไปสู่กระบวนการทำแผนกู้ยืม นำมาพัฒนาหรือฟื้นฟูอาชีพของสมาชิกในองค์กรต่อไป”

rn

      ด้านนายสมควร รัตนเทพี  วิทยากรกระบวนการประจำสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขา จ.ระนอง กล่าวเพิ่มเติมว่า องค์กรนี้เข้มแข็งที่สุดในจังหวัดระนอง มีทั้งการจัดเก็บเงินออมของกลุ่ม และที่สำคัญมีการประชุมกลุ่มทุกเดือน ซึ่งต่อไปเขาจะสนับสนุนในด้านวิทยาการตลอดจนเป็นที่ปรึกษาให้กลุ่ม

rn

      ส่วนนายคำสิงห์ อุทัย เลขานุการกลุ่มพลัง จปร. กล่าวว่า พวกเขารอเงินสนับสนุนช่วยเหลือจากกองทุนฟื้นฟูฯมาร่วม ๑๐ ปีแล้ว และบัดนี้ความฝันของพวกเขาเป็นจริงแล้ว เขาขอขอบคุณหัวหน้าสำนักงานและขอบคุณคณะอนุกรรมการทุกท่านที่ช่วยกันผลักดันให้ได้มาซึ่งวันนี้

แพร่ ซื้อหนี้ บมจ.กรุงศรีฯ เกษตรกรโอนหลักทรัยพ์ให้ กฟก.ดูแล

 

rn

pae25

rn

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดแพร่ ได้ชำระหนี้แทนให้เกษตรกรที่เป็นหนี้ NPA ของสถาบันการเงิน บมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาแพร่ จำนวน 1 ราย จำนวนเงิน  48,351.51 บาท เกษตรกรที่ได้รับการชำระหนี้แทน ได้โอนหลักทรัพย์ให้กับกองทุนฟื้นฟูฯ จำนวน 1 แปลง ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2555

rn

เกษตรกรที่ได้รับการชำระหนี้แทนของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดแพร่ นางนิตยา พรมทอง เปิดเผยความรู้สึกด้วยความตื้นตันใจว่า “รู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่งที่กองทุนฟื้นฟูฯ ให้ความกรุณาชำระหนี้แทนให้ ต่อจากนี้ไปชีวิตจะต้องดีขึ้นเรื่อยๆ แน่นอน เนื่องจากไม่มีความเครียดความกดดันเรื่องปัญหาหนี้สินอีกต่อไปแล้ว  การผ่อนชำระหนี้ให้กับกองทุนฟื้นฟูฯ ก็สามารถผ่อนชำระได้อย่างสบาย เพราะดอกเบี้ยแต่ละปีไม่แพง ยอดหนี้ก็ลดน้อยลงกว่าเดิมมาก จากนี้เป็นต้นไปจะไม่ขอหันหน้าเข้าสู่วงโคจรของปัญหาหนี้อีกต่อไปแล้ว ที่ผ่านมาการเป็นหนี้ทำให้มีปัญหาชีวิตรุมเร้ามากมายหลายด้าน หาเงินได้มาเท่าไรไม่เพียงพอกับการผ่อนชำระหนี้แต่ละงวดให้กับเจ้าหนี้ อีกทั้งค่าใช้จ่ายภายในครอบครัวและต้นทุนภาคเกษตรก็มีราคาสูงขึ้นทุกวัน มีวันนี้ได้เพราะกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดแพร่ เข้ามาให้ความช่วยเหลือรู้สึกมีความปลื้มใจจริงๆ”

rn

นายนิธิศ  ประเทศรัตน์  หัวหน้าสำนักงาน กล่าวว่า “กองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดแพร่ ชำระหนี้ให้เกษตรกรไปแล้วทั้งหมด 146 ราย เกษตรกรโอนโฉนดให้กองทุนฟื้นฟูฯ ดูแลทั้งสิ้นรวม 119 แปลง เกษตรกรในจังหวัดแพร่จะเป็นหนี้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และสหกรณ์การเกษตร เป็นส่วนใหญ่ ที่ผ่านมาสำนักงานได้ลงพื้นที่ดูแลเกษตรกรในอำเภอต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ มีการประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน อำนาจหน้าที่ และภารกิจหลักให้เกษตรกรและประชาชนได้รับทราบ ผ่านช่องทางต่างๆ ทั้ง ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐที่ดูแลด้านการเกษตรโดยตรง เช่น ประมงจังหวัด เกษตรและสหกรณ์จังหวัด สหกรณ์จังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัด นับว่าผลงานการชำระหนี้แทนทั้งหมด ช่วยให้สำนักงานสาขาทำงานได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม เพราะเกษตรกรเริ่มเกิดความเชื่อมั่น และเมื่อเริ่มมีการอนุมัติงบกู้ยืมให้องค์กรได้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ก็ยิ่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับเกษตรกรเข้าไปอีกทางหนึ่ง”

rn

กฟก.สิงห์บุรี ประชุมอนุกรรมการ พิจารณากลั่นกรองแผน ไม่เกิน 5 แสน

 

rn

singbu

rn

 

rn

          สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตร สาขาจังหวัดสิงห์บุรี จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดสิงห์บุรี ครั้งที่ 3/2555  

rn

          เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2555 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตร สาขาจังหวัดสิงห์บุรี จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดสิงห์บุรี ครั้งที่ 3/2555 ณ ห้องประชุมสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดสิงห์บุรี โดยมีคณะอนุกรรมการฯเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน โดยในการประชุมดังกล่าว ประธานและเลขาได้รายงานผลการดำเนินงานของสำนักงานสาขาจังหวัดสิงห์บุรี ได้แก่ งานจัดการหนี้ งานการเงินและบัญชี งานปรับโครงสร้างหนี้ และงานฟื้นฟู ทั้งนี้ ประธานคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดสิงห์บุรี ได้แจ้งเรื่องการพิจารณาอุทธรณ์การขึ้นทะเบียนหนี้กรณีวัตถุประสงค์การกู้ไม่ใช่เพื่อการเกษตร จำนวน 3 ราย ซึ่งมติที่ประชุมอนุมัติให้ขึ้นทะเบียนหนี้ได้ และเรื่องพิจารณากลั่นกรองแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรประเภทเงินกู้ยืมไม่เกิน 500,000 บาท ของกลุ่มเกษตรฟื้นฟู โดยมติที่ประชุมมีมติแต่งตั้งอนุกรรมการฯ 4 คนลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง ความพร้อมและความเป็นไปได้ของโครงการที่ยื่นขอรับการฟื้นฟูต่อสำนักงานสาขาจังหวัด เพื่ออนุมัติต่อไป 

rn

singbu25

ชี้แจงงบกู้ยืม หน.กฟก.อุดรธานี ประชุมองค์กรก่อนปล่อยเงิน

udoon25

rn

 

rn

นายรัตนกุล โพธิ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดอุดรธานี ได้แจ้งองค์กรเกษตรกรที่ยืนเสนอแผนโครงการงบกู้ยืม เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา ว่าสำนักงานกองทุนสาขาจังหวัดอุดรธานี ได้รับอนุมัติงบประมาณ โครงการกู้ยืม ปี 2549 จำนวน 20 โครงการ คิดเป็นเงิน 7,881,239 บาท สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ 1,030 คน หลังจากหัวหน้าสำนักงานสาขาชี้แจงรายละเอียดการอนุมัติโครงการแล้ว พนักงานสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัด ได้จัดทำระเบียบ ข้อตกลง ตัวชี้วัดโครงการ พร้อมกับจัดทำสัญญากู้ยืมเงินร่วมกับองค์กรเกษตรกร  

rn