3 ภาคียักษ์ใหญ่ ยโสธร แสดงจุดยืนแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรสมาชิก

 

rn

yso1506

rn

 

rn

เมื่อวันที่  7  มิถุนายน  2555  สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  สาขาจังหวัดยโสธร และสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 3  ร่วมกับ ธ.ก.ส. จังหวัดยโสธร  จัดเวทีความร่วมมือการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ฯ ตาม มติคณะรัฐมนตรี 7 เมษายน 2553 ณ ห้องประชุมชั้น 2  ศูนย์ปฏิบัติการจังหวัด (P.O.C) อาคารหลังเก่า  ศาลากลางจังหวัดยโสธร

rn

โดยมี นายจันยา  สุคนธ์คันธชาติ  ปลัดจังหวัดยโสธร  ประธานเปิดงาน เวทีความร่วมมือการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ฯ ตามมติคณะรัฐมนตรี 7 เมษายน  2553 
      เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไข  ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรที่เข้าร่วม  โครงการปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูอาชีพ  เกษตรกร ตาม มติคณะรัฐมนตรี 7    เมษายน 2553  เมื่อได้แนวทางการแก้ไข  ปัญหาหนี้สินฯในระดับจังหวัด  ก็เสนอสู่  ส่วนกลางต่อไป  และทำความเข้าใจร่วม  กันในการแก้ปัญหาหนี้สินของเกษตรกร  อื่นๆในระดับจังหวัดยโสธรร่วมกัน  ผู้เข้าร่วม จำนวน 46 คน
 

rn

นางสาวสุชาดารัช  โพธิคลัง  หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  สาขาจังหวัดยโสธร  กล่าวว่าเพิ่มเติมว่า  เวทีดังกล่าวได้ข้อสรุปและทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน  6 ประเด็น  ดังนี้  

rn

1. เกษตรกรสมาชิกที่ได้รับสิทธิปรับโครงสร้างหนี้ที่มีรายชื่อที่ตรงกัน 263 คน ให้ดำนินการจัดทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ (ปคน.3) ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว 

rn

2. เกษตรกรสมาชิกที่ผ่านการอบรมแล้ว 1,075 ราย ส่งรายชื่อให้ ธ.ก.ส. ตรวจสอบคุณสมบัติหนี้ ว่าเป็นไปตามติคณะรัฐมนตรี 7 เมษายน 2553 หรือไม่ พร้อมส่งรายชื่อให้ กฟก. สำนักงานใหญ่  และให้ กฟก.สำนักงานใหญ่ นำส่งรายชื่อให้ ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่  เพื่อขอเพิ่มเติมรายชื่อที่สามารถดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ (ปคน.3) ได้ 

rn

3. แต่งตั้งคณะทำงานรวมกัน ระหว่าง กฟก.ยโสธร จำนวน 10 คน และ ธ.ก.ส. จำนวน 4 คน รวมเป็น 14 คน  

rn

4. จัดเวทีชี้แจงร่วมกันทั้ง 3 ฝ่าย ตามความเหมาะสม โดย ธ.ก.ส. เป็นเจ้าภาพหลัก 

rn

5. ในระหว่างการตรวจสอบคุณสมบัติของเกษตรกรสมาชิก ให้ ธ.ก.ส. ชะลอการติดตามเร่งรัดหนี้สินกับเกษตรกรสมาชิก 

rn

6. ให้ปฏิบัติตามมติ คณะรัฐมนตรี วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554  เรื่องที่ 18 กรณีเกษตรกรสมาชิกเสียชีวิต  พิการหรือทุพพลภาพ  จนไม่สามารถประกอบอาชีพได้  ณ  วันที่ 31  ธันวาคม 2552  ให้จำหน่ายหนี้เงินกู้ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ 

rn

rn


rn

yso15

rn

rn

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

กฟก.มุกดาหาร

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  สาขาจังหวัดมุกดาหาร  

rn

ที่ตั้ง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร (บริเวณโรงเรียนมุกดาลัย) ถ.พิทักษ์พนมเขต อ.เมือง จ.มุกดาหาร ๔๙๐๐๐ 

rn

 

rn

**** สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ จ.มุกดาหาร  ยังคงเดินหน้าเชิงรุก ปีงูใหญ่ 2555 ต่อไป ในการชำระหนี้แทนเกษตรกร เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับพี่น้องเกษตร ล่าสุดได้อนุมัติเพิ่มเติม จำนวน 23 ราย เป็นเงินกว่า 1,407,680.96 บาท (หนึ่งล้านสี่แสนเจ็ดพันหกร้อยแปดสิบบาทเก้าสิบหกสตางค์) ประกอบ 2 สหกรณ์  ****

rn

rn

นายสานิต เชิดโคกศรี หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดมุกดาหาร ยังให้ความสำคัญในการชำระหนี้แทนเกษตรกร เพื่อต้องการให้พี่น้องเกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในด้านงานจัดการหนี้  ได้มีการชำระหนี้แทนเกษตรกรเพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ จากที่ผ่านมา ล่าสุดได้ช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร จำนวน   23  ราย  รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,407,680.96 บาท  (หนึ่งล้านสี่แสนเจ็ดพันหกร้อยแปดสิบบาทเก้าสิบหกสตางค์) แยกเป็น  

rn

หนี้สหกรณ์การเกษตรนิคมพัฒนา  จำกัด 14 ราย เป็นจำนวนเงิน  622,423.04บาท 

rn

(หกแสนสองหมื่นสองพันสี่ร้อยยี่สิบสามบาทสี่สตางค์)  

rn

เช็คลงวันที่  30  เมษายน 2555

rn

หนี้สหกรณ์นิคมดอนตาล จำกัด 9 ราย เป็นจำนวนเงิน 785,257.92 บาท 

rn

(เจ็ดแสนแปดหมื่นห้าพันสองร้อยห้าสิบเจ็ดบาทเก้าสิบสองสตางค์)

rn

เช็คลงวันที่  30  เมษายน 2555

rn

ซึ่งสมาชิกเกษตรกรที่ได้รับการชำระหนี้แทน กล่าวถึงความรู้สึกว่า ดีใจมากที่กองทุนฟื้นฟูฯ ได้เข้ามาช่วยเหลือ   เพราะเป็นหนี้ที่ค้างชำระกับเจ้าหนี้มานานแล้ว  และกังวลเรื่องดอกเบี้ยด้วย ดังนั้น เจ้าตัวพร้อมที่จะปฏิบัติตามระเบียบของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ โดยการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูฯ  เพื่อปรับกระบวนทัศน์ /ปรับแนวคิดการดำเนินชีวิตแบบใหม่  ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสำนักงานสาขา จ.มุกดาหาร  มีแผนฟื้นฟูฯไว้รองรับอยู่แล้ว  ต่อไป

rn

rn

หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดมุกดาหาร  กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า  ยังมีสหกรณ์ฯ   ซึ่งเป็นเจ้าหนี้  ได้ยื่นเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการรับชำระหนี้แทน
มาเพิ่มเติมอีกอย่างต่อเนื่อง  จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นของสาขาจังหวัด  ส่วนใหญ่มีคุณสมบัติครบถ้วนเกือบ 100
%  เป็นจำนวนกว่า สามแสนกว่าบาท ซึ่งคาดว่าจะได้รับการอนุมัติจากสำนักงานใหญ่ แน่นอน

rn

นอกจากนี้ อีกประเด็นหนึ่งที่หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดมุกดาหาร  อยากเพิ่มเติม   ก็คือ การรับชำระหนี้คืนจากสมาชิกเกษตรกรที่กองทุนฟื้นฟูฯได้ชำระหนี้แทนแล้วนั้น เกษตรกรบางรายก็ให้ความสำคัญและยังคงเข้ามาจ่ายชำระเงินคืนให้กับกองทุนฟื้นฟู ณ  สาขาจังหวัดมุกดาหารเมื่อครบกำหนดอย่างต่อเนื่อง  ส่วนบางรายที่ยังไม่ได้มาชำระเงินคืนทางสำนักงานกองทุนฟื้นฟู สาขาจังหวัดมุกดาหาร ได้มีแผนงานในการติดตามการชำระหนี้คืนให้กับกองทุนฟื้นฟูฯ   อย่างต่อเนื่อง   ได้แก่ การตรวจสอบการครบกำหนดรอบการชำระหนี้     ของสมาชิกแต่ละรายที่ได้รับการชำระหนี้แทน และต้องมาชำระหนี้คืนให้กับทางกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ส่งหนังสือแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้า  รวมถึงการลงพื้นที่พบปะ เยี่ยมเยือนสมาชิกรายองค์กร/รายบุคคล เพื่อเป็นการให้กำลังใจ และสอบถามความเป็นอยู่ ของการดำเนินชีวิต   เป็นต้น

rn

เมื่อได้ดำเนินการชำระหนี้แทนเกษตรกร เสร็จสิ้นแล้ว ในส่วนของสาขาจังหวัดที่จะต้องทำก็คือ การจัดทำนิติกรรมสัญญา แต่ละรายให้สมบูรณ์ ซึ่งสาขาจังหวัดมุกดาหาร ได้ดำเนินการจัดทำนิติกรรมสัญญา เสร็จสิ้นครบทุกรายแล้วทั้งสองสหกรณ์

rn

อีกประเด็นหนึ่ง หัวหน้าสำนักงานยังคงให้ความสำคัญเกี่ยวกับโครงการปรับโครงสร้างหนี้ฯ ทั้งที่เซ็นต์ ปคน.3 ไปแล้ว ยังคงติดตามผลการชำระหนี้คืนให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดเพื่อประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ส่วนที่ยังไม่ได้เซ็นต์สัญญา ปคน.3 หัวหน้าสำนักงานก็ให้ความสำคัญ ได้มีการอธิบายเกี่ยวกับโครงการปรับโครงสร้างหนี้ฯและรอการอนุมัติรายชื่อเพิ่มเติมจากสถาบันเจ้าหนี้ ต่อไป

rn

ส่วนโครงการเงินกู้ยืมไม่เกิน 500,000 บาท ที่ได้อนุมัติผ่านทั้งหมด 12 องค์กร ทางสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดมุกดาหาร กำลังดำเนินการจัดทำ เรื่องเงื่อนไข กฎระเบียบและข้อบังคับขององค์กรให้สมาชิกมีความเข้าใจ ในกระบวนการต่างๆร ก่อนทำสัญญารับเงินกู้ยืมนำไปบริหารจัดการในองค์กร และทางสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ ได้มีการกำหนดการฝึกอบรมโครงการ “ พัฒนาศักยภาพองค์กรเกษตรกรที่ได้รับเงินกู้ยืม” ในระหว่างวันที่ 24 – 25 พฤษภาคม ณ โรงแรมธารจินดา รีสอร์ท

rn

ส่วนเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่าน ทางสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดมุกดาหาร ได้จัดประชุมคณะกรรมการจังหวัด ครั้งที่ 4/2555 ได้ประชุมหารือเรื่อง ต่างๆดังหนี้
– การจัดการหนี้
NPA และหนี้นิติบุคคลอื่นให้กับพี่น้อง
– การชำระหนี้แทนเกษตรกรที่ผ่านการอนุมัติจากสำนักงานใหญ่
– ชี้แจงการดำเนินงานโครงการกู้ยืมไม่เกิน 500,000 บาท
– การรับรองการขึ้นทะเบียนหนี้และทะเบียนองค์กรให้กับสมาชิก
– ชี้แจงเงินสนับสนุน 7,000 บาท สำหรับสมาชิกที่ได้รับสิทธิโครงการปรับโครงสร้างหนี้ฯ
ทั้งนี้ทางสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  สาขาจังหวัดมุกดาหาร ได้รับเกียรติจากทาง ผู
้อำนวยการสำนักกิจการสาขา ภูมิภาคที่ 3 พร้อมคณะเข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการในครั้งนี้ด้วย
ทางคณะอนุกรรรมการจังหวัดมุกดาหารได้ฝากให้ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขา ภูมิภาคที่ 3 เป็นตัวแทนผลักดันในการขับเคลื่อน การอนุมัติเงินฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ
(เงิน 7,000) รวมถึงรายชื่อสมาชิกที่ผ่านการอบรมแล้วแต่ยังไม่ได้เซ็นต์ ปคน3. เพราะรายชื่อไม่ตรงกับทางสถาบันเจ้าหนี้ ตลอดจนร่วมปรึกษาหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับพี่น้องเกษตรกร ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อย่างยั่งยืนต่อไป
ดร.วิญญู สะตะ ได้ฝากยุทธศาสตร์ การสะสางงานเก่าที่ยังค้างคาให้ดำเนินการลุล่วงไปได้ด้วยดี พร้อมทั้งการดำเนินงานภายในสาขา ประกอบด้วย

rn

– การบริหารงานสำนักงาน
– งานด้านการฟื้นฟูอาชีพ

rn

– งานด้านการจัดการหนี้
– โครงการปรับโครงสร้างหนี้ฯ
– งานเฉพาะกิจของสาขาจังหวัด

rn

rn

(*_*)   สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดมุกดาหาร จะยังคงเดินหน้าต่อไป  เพราะความเป็นอยู่ที่ดีของพี่น้องเกษตรกร คือหัวใจสำคัญของเรา (*_*)

จังหวัดระยอง งบกู้ยืมในโครงการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ของกลุ่มอำเภอแกลงบูรพา งบประมาณ 160,000 บาท

จังหวัดระยอง

rn

งบกู้ยืมในโครงการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

rn

ของกลุ่มอำเภอแกลงบูรพา 

rn

งบประมาณ 160,000 บาท 

rnry55-1rn

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดระยองได้รับอนุมัติแผนและโครงการฯ ในงบกู้ยืมจำนวน 160,000 บาท ชื่อโครงการ“ทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ”  ขององค์กรเกษตรกร   กลุ่มอำเภอแกลงบูรพาจำนวน 1 โครงการ ทางองค์กรเกษตรกรจัดประชุมสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ       โดยมีนายธนสรรค์  สีสมรักษาการหัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดระยอง ได้แนะนำวิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติในการดำเนินงานในโครงการให้แก่เกษตรกรสมาชิกรับทราบ ณ  ที่ทำการขององค์กรเกษตรกรดังกล่าวเมื่อวันที่  1 พฤษภาคม 2555 และจัดทำสัญญากู้ยืมเงินเมื่อวันที่      14 พฤษภาคม  2555  ที่ผ่านมา

rn

rnry55-2ry55-3rn

เจ้าหน้าที่กองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดระยองร่วมจัดทำสัญญากู้ยืมเงินในโครงการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ โดยมีนายดอกไม้   ใจหาญประธานองค์กรเกษตรกรกลุ่มอำเภอแกลงบูรพา    และคณะกรรมการร่วมลงนาม

rnry55-4rn

นายทองอบ  ถนอมวงศ์ รองประธานกลุ่มอำเภอแกลงบูรพา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานสาขาจังหวัดระยองได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจดูลานหมักปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ  ซึ่งเป็นบริเวณบ้านของนายวิรัตน์  ทองหล่อ เกษตรกรสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ ณ ต.พังราด อ.แกลง จ.ระยอง  โดยเกษตรกรสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่เป็นชาวสวนชาวไร่ ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่หมักได้จะนำมาจำหน่ายให้แก่เกษตรกรสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว

rnry55-5 ry55-6rn

นายธนสรรค์  สีสม  รักษาการหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดระยองได้มอบเช็คเงินกู้ยืมงวดที่ 1 ให้แก่นายดอกไม้  ใจหาญ ประธานองค์กรเกษตรกรกลุ่มอำเภอแกลงบูรพา

กองทุนฟื้นฟูฯ กำแพงเพชร ส่งเสริมเกษตรกร เลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง

 

rn

kampang15

rn

 

rn

นางณิชาภา ไชยยา รักษาการ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดกำแพงเพชร เปิดเผยว่า สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้อนุมัติงบกู้ยืม ให้กับองค์กรเกษตรกร กลุ่มเลี้ยงสัตว์น้ำลุ่มน้ำปิงตอนล่าง อำเภอโกสัมพี จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเงิน 445,500 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อพันธุ์ปลา ค่าอาหารสำเร็จรูปและอาหารเสริม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรายได้เสริม พัฒนาศักยภาพในการฟื้นฟูอาชีพแบบมีส่วนร่วมของสมาชิก และเป็นแหล่งเรียนรู้ ให้กับองค์กรเกษตรกรอื่น ๆ โดยมีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ 28 คน

rn

นางณิชาภา ไชยยา เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2555 ทางสำนักงานสาขาจังหวัดกำแพงเพชร ได้ร่วมกิจกรรมปล่อยปลาทับทิม ร่วมกับสมาชิกเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 กระชัง โดยองค์กรมีการจัดระบบการเลี้ยงปลา ในลักษณะกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ให้สมาชิก ที่ผ่านมาพบว่าราคาจำหน่ายปลาถูกกำหนดโดยพ่อค้าคนกลาง ดังนั้น องค์กรจึงวางแผนการผลิตและจำหน่ายหมุนเวียนเป็นรอบการผลิต โดยไม่เลี้ยงพร้อมกันคราวละมากๆ การกำหนดรอบการผลิตต้องสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทำให้องค์กรสามารถควบคุมปริมาณและคุณภาพของปลาทับทิม ได้มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ โดยองค์กรจะรวบรวมผลผลิตจำหน่ายให้กับพ่อค้าที่มารับซื้อปลาสดที่หน้ากระชัง ตลาดท้องถิ่นและตลาดรับซื้อปลาในจังหวัด และพื้นที่ใกล้เคียง กรณีที่มีปลาตายหรือปลามีขนาดไม่ได้มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ ก็จะนำไปแปรรูปเป็นปลาตากแห้ง ปลาแดดเดียวเพื่อบริโภคและจำหน่าย ต่อไป

ลำพูน อบรม “ปรับความคิด พิชิตความยากจน” แก้ปัญหาหนี้ตามนโยบายรัฐ

lumpoon15

rn

เมื่อวันที่ 6-8 มิถุนายน 2555 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดลำพูน จัดอบรมเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 รุ่นที่ 3 หลักสูตร ปรับความคิด พิชิตความยากจนเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรเข้าสู่กระบวนการปรับกระบวนทัศน์หลังการปรับโครงสร้างหนี้ ไม่ให้กลับไปเป็นหนี้ซ้ำอีกรอบ ซึ่งนางณัฐยา  ศักดิ์สูง  หัวหน้าสำนักงาน สาขาจังหวัดลำพูน ได้ทำการเปิดศูนย์ฝึกอบรมเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์โครงการปรับโครงสร้างหนี้ฯ ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านทาป่าเปา ต.ทาป่าเปา อ.แม่ทา จ.ลำพูน

rn

นางณัฐยา ศักดิ์สูง  เปิดเผยว่า การจัดอบรมในครั้งนี้เป้าหมายคือ เกษตรกรที่ทำสัญญากับ ธกส.เรียบร้อยแล้ว จำนวน 169 ราย แบ่งเป็น 3 รุ่น รวม 2 ศูนย์ ได้แก่ ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านทาป่าเปา ต.ทาป่าเปา อ.แม่ทา จ.ลำพูน และ ศูนย์ฝึกสหวิถีเพื่อชุมชนยั่งยืนโขงสาละวินลำพูน ต.เหมืองง่า อ.เมือง จ.ลำพูน ปัจจุบันมีเกษตรกรที่ทำสัญญาปรับโครงสร้างกับ ธกส. ครบสมบูรณ์ จำนวน 1,031 ราย จากจำนวนทั้งหมดที่ส่งไป 1,603 และอี 572 ราย ยังติดปัญหาเรื่องการโอนหลักทรัพย์และกรณีบุคคลค้ำประกันไม่ครบ หลังจากนี้สำนักงานจะเร่งรายงานผลการฝึกอบรมให้สำนักงานใหญ่รับทราบต่อไป

กฟก. สุราษฎร์ธานี ร่วมอบรมและสัมมนาวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

rn

surat15

rn

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดสุราษฎร์ธานี  ร่วมงานการอบรมและสัมมนาวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหารองค์กรส่วนภูมิภาค ประเทศไทย Aor Bor Tor SUMMIT 2012 ในระหว่าง วันที่ 11 12 มิถุนายน 2555 ณ ห้องศรีวิชัย B และ C ชั้น 2 โรงแรมวังใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี  โดยได้รับเกียรติจาก นายชลอศักดิ์ วาณิชย์เจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี  ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน ซึ่งภายในงานได้มีการกล่าวบรรยายปาฐกถา  ให้ความรู้ในเรื่องต่างๆเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อนำไปบริหารองค์กรส่วนภูมิภาค เช่น  ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ,ไอซีทีกับการเพิ่มผลผลิตภาคเกษตรกร ,เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันภัยฉุกเฉิน สำหรับท้องถิ่น ,บทบาทของกรมอุตุนิยมวิทยากับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานส่วนท้องถิ่น ,กรณีศึกษา eCommerce และ Socia Media ทางเลือกของการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น  นอกจากการให้ความรู้ภายในงานแล้วยังมีการให้ผู้เข้าร่วมงาน ได้ลุ้นรับรางวัลอีกด้วย

กฟก. สุราษฎร์ฯ ร่วม “ปรับวิธีคิด พิชิตความยากจน สู่ความเข้มแข็งของเกษตรกรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

 

rn

surat1506

rn

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดสุราษฎร์ธานี  เข้าร่วมโครงการอบรม เรียนรู้ให้องค์กรเกิดความเข้มแข็ง ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  หลักสูตร ปรับวิธีคิด พิชิตความยากจน สู่ความเข้มแข็งของเกษตรกรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระหว่าง วันที่ 11 – 13 มิถุนายน 2555 ณ สำนักสงฆ์ปลายหริก ต.เคียนซา อ.เคียนซา         จ.สุราษฎร์ธานี

rn

นายชนาธิป เหลืองอ่อน หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดสุราษฎร์ธานี  ได้เป็นประธานกล่าวเปิดงาน  พร้อมทั้งนายมณฑล ศรีทองกุล  หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดชุมพร และพนักงานสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดสุราษฎร์ธานี  ได้เข้าร่วมและพบปะพูดคุยกับสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ  โดยมีคณะกรรมการองค์กรเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเพื่อการกสิกรรมและสมาชิกขององค์กรให้ความสนใจเข้าร่วมฝึกอบรม กว่า 150 คน ซึ่งในการอบรมตลอด 3 วัน  มีการบรรยายเพื่อให้ความรู้แก่สมาชิก ในวันแรกเรื่องสภาพเศรษฐกิจ การเมือง สาเหตุของปัญหาหนี้สินและผลกระทบต่อความยากจนของเกษตรกร ,พ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2544  และให้สมาชิกร่วมเสวนากลุ่ม  ในวันที่สองเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงทางรอดของเกษตรกรไทย ,หลักการพื้นฐานในการฟื้นฟูอาชีพหลักและหลักการพื้นฐานในการฟื้นฟูอาชีพรอง/อาชีพเสริม ,ประเมินสภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนและแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สิน ,แผนฟื้นฟูพัฒนาเกษตรกร และให้สมาชิกร่วมเสวนากลุ่ม ในวันสุดท้ายให้นำเสนอแผนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร-แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประเมินผล ซึ่งทั้งวิทยากรและผู้เข้าร่วมอบรมต่างร่วมกันซักถามข้อสงสัย และร่วมกันตอบคำถามตลอดการอบรม

rn

surat015

รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ มอบแคชเชียร์เช็คเงินกู้ยืมไม่เกิน 500,000 บาท

 

rn

pacha15

rn

เมื่อวันที่  1  มิถุนายน  2555  นางกมลา   สักเพ็ง  รักษาการหัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้จัดพิธีมอบเช็คเงินกู้ยืมไม่เกิน 500,000 บาท งวดที่ 1  ณ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดเพชรบูรณ์ โดย ได้รับเกียรติจาก นายศุภชัย   เอี่ยมสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานในพิธีมอบแคชเชียร์เช็คให้กับกลุ่มองค์กรเกษตรกรที่ได้รับอนุมัติโครงการฯ จำนวน 2 องค์กร คือ

rn

1.กลุ่มเกษตรสร้างสรรค์ หมู่2  นางั่ว  ชื่อโครงการ พัฒนาอาชีพเกษตรกรสู่ความยั่งยืนและพึ่งพาตนเองได้รับงบประมาณกู้ยืม 495,300  บาท มอบแคชเชียร์เช็คงวดแรกจำนวน 205,000  บาท

rn

2.กลุ่มบ้านพรวนร่วมพัฒนา ชื่อโครงการ รับซื้อฝักมะขามและแปรรูปมะขามได้รับงบประมาณ 430,000  บาท  มอบแคชเชียร์เช็คงวดแรกจำนวน 205,400  บาท

rn

โดยหลังจากพิธีรับมอบ นายศุภชัย   เอี่ยมสุวรรณ ได้กล่าวแสดงความยินดี ให้คำแนะนำ และข้อคิดกับองค์กรเกษตรกร ดังกล่าว

กฟก. พิจิตร ร่วมฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปี

 

rn

pijit15

rn

นางนุชฎา  จำเริญสาร  รักษาการหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพิจิตร  นำทีมพนักงานและลูกจ้างสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯสาขาจังหวัดพิจิตร พร้อมใจกันนุ่งขาวห่มขาว เข้าร่วมฉลองพุทธชยันตี 2,600ปีพิธีการปฏิบัติธรรม โครงการ  หนึ่งจังหวัด  หนึ่งพุทธบูชา  การปฏิบัติอธรรม  เจริญจิตภาวนา ข้าราชการ  และลูกจ้าง  จังหวัดพิจิตร  ถวายเป็นพุทธบูชา  ฉลองพุทธชยันตี  2,600  ปี  แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ณ  ศาลากลางจังหวัดพิจิตร  (หลังใหม่)  วันที่  30 พฤษภาคม  ถึง  1 มิถุนายน  2555  

rn

นางนุชฎา จำเริญสาร  รักษาการหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพิจิตร นำทีมพนักงาน ลูกจ้าง พร้อมใจกันนุ่งขาว ห่มขาว เข้าร่วมฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปี ร่วมพิธีปฏิบัติธรรมในโครงการ หนึ่งจังหวัด หนึ่งพุทธบูชา ปฏิบัติธรรม เจริญจิตภาวนา ข้าราชการ และลูกจ้างจังหวัดพิจิตร ถวายเป็นพุทธบูชา ฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้พระพุทธเจ้า ซึ่งในครั้งนี้ นายสุวิทย์ วัชโรทยางกูร ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เป็นผู้นำ ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานพร้อมใจกันนุ่งขาว ห่มขาว ฟังธรรมเทศนา เจริญจิตภาวนา นั่งสมาธิ โดยมีพระเถรานุเถระ เกจิอาจารย์ ร่วมนำปฏิบัติธรรม ตลอดระยะเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม 1 มิถุนายน 2555

ให้ประเมินผลการปฏิบัติงานลูกจ้างชั่วคราว(ให้ประเมินผลการปฏิบัติงานลูกจ้างชั่วคราว(ตามเอกสารแนบ))

ให้ประเมินผลการปฏิบัติงานลูกจ้างชั่วคราว(ให้ประเมินผลการปฏิบัติงานลูกจ้างชั่วคราว(ตามเอกสารแนบ)

rn

โดยส่งให้ส่วนทรัพยากรบุคคลในวันที่ 22 มิ.ย.2555

rn ดาวน์โหลด