พลิกฟื้นคืนชีวิต ลุยร้อยเอ็ด บันทึกเทปเกษตรกรทุ่งกุลาร้องไห้

p27-6

rn

พลิกฟื้นคืนชีวิต ลุยร้อยเอ็ด บันทึกเทปเกษตรกรทุ่งกุลาร้องไห้

rn

การถ่ายทำรายการ “พลิกฟื้นคืนชีวิตของเกษตรกร” เทปที่ 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถ่ายทำที่จังหวัดร้อยเอ็ด ตอน เกษตรทฤษฎีใหม่ นำเสนอกิจกรรมกลุ่มเกษตรกรทฤษฎีใหม่ บ้านกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรกรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ดินแดนส่วนหนึ่งของทุ่งกุลาร้องไห้ เนื้อหานำเสนอแนวคิดของการทำการเกษตรกรทฤษฎีใหม่ ของพ่อสม คำมณี และกลุ่มเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกันพลิกผืนแผ่นดินอันแห้งแล้งของทุ่งกุลาร้องไห้ บนเนื้อที่ 8 ไร่ ให้กลายเป็นแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์ ใช้เป็นที่ศึกษาดูงานและเป็นแหล่งเรียนรู้ เรื่องการทำเกษตรกรทฤษฎีใหม่ มีการทำบ่อเลี้ยงปลานานาชนิด เลี้ยงวัว ปลูกผัก ปลูกพืชสวน ปลูกสมุนไพร ไว้กินไว้ขายมีรายได้แบ่งปันในสมาชิก รวมทั้งเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ ของสมาชิกได้ใช้แลกเปลี่ยนประสบการณ์

จัดประชุมผู้ซึ่งประสงค์จะจัดตั้งสหกรณ์และเป็นสมาชิกสหกรณ์

จากการสำรวจพนักงานและลูกจ้างที่แจ้งความประสงค์จะเป็นสมาชิกสหกรณ์ จำนวน 122 คน ซึ่งจะดำเนินการจัดประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ เขตพื้นที่ 2 กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 29 มิถุนายน 2555 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมชั้น 3 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สำนักงานใหญ่ จึงขอเชิญสมาชิก เข้าร่วมประชุมตามวันเวลาดังกล่าว รายละเอียดตามเอกสารแนบ

rn

ดาวน์โหลด

การจัดส่งข้อมูลเกษตรกรสมาชิกที่ยื่นอุทธรณ์ขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรและขอรับการจัดการหนี้

การจัดส่งข้อมูลเกษตรกรสมาชิกที่ยื่นอุทธรณ์ขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรและขอรับการจัดการหนี้

rn

ขอความร่วมมือสำนักงานสาขาจังหวัดทุกจังหวัดจัดทำเอกสารให้ถูกต้องตรงตามคู่มือและแนวทางปฏิบัติการพิจารณาการอุทธรณ์ของเกษตรกร และส่งเอกสารให้สำนักจัดการหนี้ตามรายละเอียดแนบ

rn

คลิกเพื่อดาวน์โหลดรายละเอียด

rn

ตัวอย่างตารางข้อมูลแบบ 18 ช่อง

rn

แบบตารางข้อมูลแบบ 18 ช่อง(ไฟล์ Excel)

rn

ตารางสรุปผลการพิจารณาอุทธรณ์ของเกษตรกร

กฟก.สุพรรณบุรี อนุมัติงบอุดหนุน พร้อมร่วมชี้แจงการบริหารโครงการให้ประสบผลสำเร็จ

sp28-1sp28-2

rn

         เมื่อวันที่ 27  มิถุนายน 2555 นายสาธิต   แสงพลาย หัวหน้าสำนักงานพร้อมด้วยพนักงานสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดสุพรรณบุรี  ได้เดินทางไปกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงานขององค์กรกลุ่มบ้านทุ่งชนะการเกษตร ซึ่งได้รับอนุมัติงบอุดหนุน จำนวน 99,400 บาท  โดยมีนายจรุณ   คุณฑี ผู้แทนเกษตรกรภูมิภาคที่ 2 (ภาคกลาง) พร้อมคณะอนุกรรมการ จังหวัดสุพรรณบุรี ร่วมเป็นเกียรติด้วย  ทั้งนี้ กลุ่มบ้านทุ่งชนะการเกษตร รหัสองค์กร 7243004300 ที่ตั้งองค์กรเลขที่ 67 หมู่ 9 ต.วังยาง   อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี  มีสมาชิกองค์กรทั้งหมด 212 คน มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 168 คน ได้เสนอโครงการพัฒนาศักยภาพองค์กรให้เข้มแข็งเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณประเภทเงินอุดหนุนจากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จำนวน 99,400 บาท โดยแบ่งเป็น 3 กิจกรรม ดังนี้  

rn

กิจกรรมที่ 1 ประชุมสมาชิกเพื่อปรับกระบวนทัศน์แนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

rn

ค่าใช้จ่ายในการอบรม จำนวน 168 คน เป็นเงิน 18,800 บาท 

rn

กิจกรรมที่ 2 การศึกษาดูงาน ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ พ่อสร้างลูกสาน จังหวัดราชบุรี

rn

ค่าใช้จ่ายในการอบรม จำนวน 130 คน เป็นเงิน 61,800 บาท 

rn

กิจกรรมที่ 3 การประชุมสรุปบทเรียนและจัดทำแผนแม่บทองค์กร

rn

ค่าใช้จ่ายในการอบรม จำนวน 168 คน เป็นเงิน 18,800 บาท

rn


rn

         ในการนี้ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ชี้แจงการบริหารโครงการ ระเบียบ ข้อบังคับและขั้นตอนแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง ตามเนื้อหาในกิจกรรมที่ 1 การประชุมสมาชิกเพื่อปรับกระบวนทัศน์แนวคิดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งในการจัดกิจกรรมครั้งนี้  สมาชิกให้ความร่วมมือเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก ทำให้ดำเนินการตามกิจกรรมเป็นไปด้วยดี   และประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย

rn

sp28-3

rn

sp28-4sp28-5

แจ้งคำสั่งแต่งตั้งผู้แทนเกษตรกรในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และประกาศแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

แจ้งคำสั่งแต่งตั้งผู้แทนเกษตรกรในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และประกาศแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

rnดาวน์โหลด

การจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานและลูกจ้างสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

การจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานและลูกจ้างสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

rn

ดาวน์โหลดรายละเอียดและบัญชีรายชื่อผู้จะเป็นสมาชิก

rn

 

rn

DSCN3771-1DSCN3772-2DSCN3774-2

กองทุนฟื้นฟูฯ จ.มุกดาหาร ยังคงเดินหน้าเชิงรุก ปีงูใหญ่ 2555 ในการชำระหนี้แทน

 

rn

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  สาขาจังหวัดมุกดาหาร  

rn

ที่ตั้ง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร (บริเวณโรงเรียนมุกดาลัย) ถ.พิทักษ์พนมเขต อ.เมือง จ.มุกดาหาร ๔๙๐๐๐ 

rn

 

rn

**** สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ จ.มุกดาหาร  ยังคงเดินหน้าเชิงรุก ปีงูใหญ่ 2555 ต่อไป ในการชำระหนี้แทนเกษตรกร เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับพี่น้องเกษตร ล่าสุดได้อนุมัติเพิ่มเติม จำนวน 23 ราย เป็นเงินกว่า 1,407,680.96 บาท (หนึ่งล้านสี่แสนเจ็ดพันหกร้อยแปดสิบบาทเก้าสิบหกสตางค์) ประกอบ 2 สหกรณ์  ****

rn

rn

นายสานิต เชิดโคกศรี หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดมุกดาหาร ยังให้ความสำคัญในการชำระหนี้แทนเกษตรกร เพื่อต้องการให้พี่น้องเกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในด้านงานจัดการหนี้  ได้มีการชำระหนี้แทนเกษตรกรเพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ จากที่ผ่านมา ล่าสุดได้ช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร จำนวน   23  ราย  รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,407,680.96 บาท  (หนึ่งล้านสี่แสนเจ็ดพันหกร้อยแปดสิบบาทเก้าสิบหกสตางค์) แยกเป็น  

rn

หนี้สหกรณ์การเกษตรนิคมพัฒนา  จำกัด 14 ราย เป็นจำนวนเงิน  622,423.04บาท 

rn

(หกแสนสองหมื่นสองพันสี่ร้อยยี่สิบสามบาทสี่สตางค์)  

rn

เช็คลงวันที่  30  เมษายน 2555

rn

หนี้สหกรณ์นิคมดอนตาล จำกัด 9 ราย เป็นจำนวนเงิน 785,257.92 บาท 

rn

(เจ็ดแสนแปดหมื่นห้าพันสองร้อยห้าสิบเจ็ดบาทเก้าสิบสองสตางค์)  

rn

เช็คลงวันที่  30  เมษายน 2555

rn

ซึ่งสมาชิกเกษตรกรที่ได้รับการชำระหนี้แทน กล่าวถึงความรู้สึกว่า ดีใจมากที่กองทุนฟื้นฟูฯ ได้เข้ามาช่วยเหลือ   เพราะเป็นหนี้ที่ค้างชำระกับเจ้าหนี้มานานแล้ว  และกังวลเรื่องดอกเบี้ยด้วย ดังนั้น เจ้าตัวพร้อมที่จะปฏิบัติตามระเบียบของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ โดยการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูฯ  เพื่อปรับกระบวนทัศน์ /ปรับแนวคิดการดำเนินชีวิตแบบใหม่  ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสำนักงานสาขา จ.มุกดาหาร  มีแผนฟื้นฟูฯไว้รองรับอยู่แล้ว  ต่อไป

rn

 

rn

หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดมุกดาหาร  กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า  ยังมีสหกรณ์ฯ   ซึ่งเป็นเจ้าหนี้  ได้ยื่นเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการรับชำระหนี้แทน
มาเพิ่มเติมอีกอย่างต่อเนื่อง  จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นของสาขาจังหวัด  ส่วนใหญ่มีคุณสมบัติครบถ้วนเกือบ 100
%  เป็นจำนวนกว่า สามแสนกว่าบาท ซึ่งคาดว่าจะได้รับการอนุมัติจากสำนักงานใหญ่ แน่นอน

rn

นอกจากนี้ อีกประเด็นหนึ่งที่หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดมุกดาหาร  อยากเพิ่มเติม   ก็คือ การรับชำระหนี้คืนจากสมาชิกเกษตรกรที่กองทุนฟื้นฟูฯได้ชำระหนี้แทนแล้วนั้น เกษตรกรบางรายก็ให้ความสำคัญและยังคงเข้ามาจ่ายชำระเงินคืนให้กับกองทุนฟื้นฟู ณ  สาขาจังหวัดมุกดาหารเมื่อครบกำหนดอย่างต่อเนื่อง  ส่วนบางรายที่ยังไม่ได้มาชำระเงินคืนทางสำนักงานกองทุนฟื้นฟู สาขาจังหวัดมุกดาหาร ได้มีแผนงานในการติดตามการชำระหนี้คืนให้กับกองทุนฟื้นฟูฯ   อย่างต่อเนื่อง   ได้แก่ การตรวจสอบการครบกำหนดรอบการชำระหนี้     ของสมาชิกแต่ละรายที่ได้รับการชำระหนี้แทน และต้องมาชำระหนี้คืนให้กับทางกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ส่งหนังสือแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้า  รวมถึงการลงพื้นที่พบปะ เยี่ยมเยือนสมาชิกรายองค์กร/รายบุคคล เพื่อเป็นการให้กำลังใจ และสอบถามความเป็นอยู่ ของการดำเนินชีวิต   เป็นต้น

rn

เมื่อได้ดำเนินการชำระหนี้แทนเกษตรกร เสร็จสิ้นแล้ว ในส่วนของสาขาจังหวัดที่จะต้องทำก็คือ การจัดทำนิติกรรมสัญญา แต่ละรายให้สมบูรณ์ ซึ่งสาขาจังหวัดมุกดาหาร ได้ดำเนินการจัดทำนิติกรรมสัญญา เสร็จสิ้นครบทุกรายแล้วทั้งสองสหกรณ์  

rn

อีกประเด็นหนึ่ง หัวหน้าสำนักงานยังคงให้ความสำคัญเกี่ยวกับโครงการปรับโครงสร้างหนี้ฯ ทั้งที่เซ็นต์ ปคน.3 ไปแล้ว ยังคงติดตามผลการชำระหนี้คืนให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดเพื่อประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ส่วนที่ยังไม่ได้เซ็นต์สัญญา ปคน.3 หัวหน้าสำนักงานก็ให้ความสำคัญ ได้มีการอธิบายเกี่ยวกับโครงการปรับโครงสร้างหนี้ฯและรอการอนุมัติรายชื่อเพิ่มเติมจากสถาบันเจ้าหนี้ ต่อไป

rn

ส่วนโครงการเงินกู้ยืมไม่เกิน 500,000 บาท ที่ได้อนุมัติผ่านทั้งหมด 12 องค์กร ทางสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดมุกดาหาร กำลังดำเนินการจัดทำ เรื่องเงื่อนไข กฎระเบียบและข้อบังคับขององค์กรให้สมาชิกมีความเข้าใจ ในกระบวนการต่างๆร ก่อนทำสัญญารับเงินกู้ยืมนำไปบริหารจัดการในองค์กร และทางสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ ได้มีการกำหนดการฝึกอบรมโครงการ “ พัฒนาศักยภาพองค์กรเกษตรกรที่ได้รับเงินกู้ยืม” ในระหว่างวันที่ 24 – 25 พฤษภาคม ณ โรงแรมธารจินดา รีสอร์ท

rn

ส่วนเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่าน ทางสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดมุกดาหาร ได้จัดประชุมคณะกรรมการจังหวัด ครั้งที่ 4/2555 ได้ประชุมหารือเรื่อง ต่างๆดังหนี้
– การจัดการหนี้
NPA และหนี้นิติบุคคลอื่นให้กับพี่น้อง
– การชำระหนี้แทนเกษตรกรที่ผ่านการอนุมัติจากสำนักงานใหญ่
– ชี้แจงการดำเนินงานโครงการกู้ยืมไม่เกิน 500,000 บาท
– การรับรองการขึ้นทะเบียนหนี้และทะเบียนองค์กรให้กับสมาชิก
– ชี้แจงเงินสนับสนุน 7,000 บาท สำหรับสมาชิกที่ได้รับสิทธิโครงการปรับโครงสร้างหนี้ฯ
ทั้งนี้ทางสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  สาขาจังหวัดมุกดาหาร ได้รับเกียรติจากทาง ผู
้อำนวยการสำนักกิจการสาขา ภูมิภาคที่ 3 พร้อมคณะเข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการในครั้งนี้ด้วย
ทางคณะอนุกรรรมการจังหวัดมุกดาหารได้ฝากให้ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขา ภูมิภาคที่ 3 เป็นตัวแทนผลักดันในการขับเคลื่อน การอนุมัติเงินฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ
(เงิน 7,000) รวมถึงรายชื่อสมาชิกที่ผ่านการอบรมแล้วแต่ยังไม่ได้เซ็นต์ ปคน3. เพราะรายชื่อไม่ตรงกับทางสถาบันเจ้าหนี้ ตลอดจนร่วมปรึกษาหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับพี่น้องเกษตรกร ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อย่างยั่งยืนต่อไป
ดร.วิญญู สะตะ ได้ฝากยุทธศาสตร์ การสะสางงานเก่าที่ยังค้างคาให้ดำเนินการลุล่วงไปได้ด้วยดี พร้อมทั้งการดำเนินงานภายในสาขา ประกอบด้วย

rn

– การบริหารงานสำนักงาน
– งานด้านการฟื้นฟูอาชีพ

rn

– งานด้านการจัดการหนี้
– โครงการปรับโครงสร้างหนี้ฯ
– งานเฉพาะกิจของสาขาจังหวัด

rn

rn

(*_*)   สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดมุกดาหาร จะยังคงเดินหน้าต่อไป  เพราะความเป็นอยู่ที่ดีของพี่น้องเกษตรกร คือหัวใจสำคัญของเรา (*_*)

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

จัดทำโดย

rn

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ มุกดาหาร  

rn

โทร. ๐ – ๔๒๖๑ – ๔๗๒๔

rn

โทรสาร. ๐ – ๔๒๖๑ – ๔๑๐๑

rn

rn

จังหวัดระยอง งบกู้ยืมในโครงการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ของกลุ่มอำเภอแกลงบูรพา งบประมาณ 160,000 บาท

cn5-7-55

rn

นางทิพวรรณ์  เกตุหนู หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดชัยนาท เปิดเผยว่า “สำนักงานสาขาจังหวัดชัยนาท ได้จัดประชุมเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุมัติเงินกู้ยืม โดยมีนายสุรพล  เสถียรมาศ ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 2 (ภาคกลาง) และนางสาวสายฉัตร  สิงหนาท หัวหน้าส่วนส่งเสริมฟื้นฟูและพัฒนาการเกษตรกร ภูมิภาคที่ 2   เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  งบกู้ยืมไม่เกิน  500,000.-บาทของจังหวัดชัยนาท  จำนวน  3  องค์กร  เพื่อร่วมตรวจสอบความถูกต้องและความเป็นไปได้ของโครงการฟื้นฟูฯ และอธิบายหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการฯ ก่อนนำส่งให้สำนักใหญ่พิจารณาอนุมัติโครงการกู้ยืมเงินขององค์กรเกษตรกร  โดยมีองค์กรอื่นที่สนใจเข้าร่วมประชุมอีกจำนวน  7  องค์กร  เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรของกลุ่มต่อไป”