สำนักงานใหญ่ ตรวจเยี่ยม เกษตรกร กฟก.พังงา ส่งเสริมให้เพาะพันธุ์กล้ายางเพื่อจำหน่าย

 

rn

 

rn

pung26

rn

เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2555 นางสาวธันย์บดี  หนูเงิน  รักษาการหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดพังงา พร้อมด้วยน.ส.จิราวรรณ  สุขเกษม และนายสุชาติ คมขำ พนักงานประจำ สาขาจังหวัดพังงา ได้ลงเยี่ยมกลุ่มพัฒนาสวนสงเคราะห์บ้านบ่อดาน ในพื้นที่ของจังหวัดพังงาร่วมกับ คณะจากสำนักงานใหญ่ ประกอบด้วย นายกอบเกียรติ ศรคราม ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ นายเกรียงไกร พานอ่อง ผู้อำนวยการสำนักบริหาร นายอุปถัมภ์ ยกเส้ง ตำแหน่งพนักงานอาวุโส และนายจอมภพ บุญธรรม หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดระนอง มีสมาชิกในองค์กรได้ให้การต้อนรับอย่างเป็นกันเอง  

rn

กลุ่มพัฒนาสวนสงเคราะห์บ้านบ่อดาน รหัสองค์กร 8243001468  มีสมาชิกในกลุ่ม จำนวน 365 คน องค์กรตั้งในพื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ในกลุ่มได้รวมตัวกันทำกิจกรรมหลายอย่างเช่นเพาะพันธุ์กล้ายางพารา ทำประมงพื้นบ้าน ปลูกผัก ทำสวนยางพารา ซึ่งในปัจจุบันทางกลุ่มได้รวมกันเพาะพันธุ์ยางพารา ซึ่งเป็นช่วงที่สามารถทำกำไรได้ดี 

rn

ทางสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดพังงา ได้ลงไปติดตามการแผนการฟื้นฟูอาชีพทุกขั้นตอนของนายไมตรี  ศรีรัตน์ ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มพัฒนาสวนสงเคราะห์บ้านบ่อดาน หลังจากได้รับโอกาสอันดีจากสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ สาขาท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ในโครงการปรับโครงสร้างหนี้เกษตรกร ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 โดยนายไมตรี  ศรีรัตน์ จะต้องรับภาระหนี้สินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ เป็นวงเงินทั้งสิ้น 1,182,679 บาท ประกอบด้วยมูลหนี้เงินต้น 585,000 บาท ดอกเบี้ยคงค้าง 344,560 บาท และดอกเบี้ยปรับ 253,119 บาท เมื่อได้รับสิทธิ์ปรับโครงสร้างแล้วนายไมตรี ศรีรัตน์ จึงจ่ายชำระหนี้สิน 50% ของมูลหนี้เงินต้นคงค้างเป็นจำนวนเงิน 292,500 บาท ทำสัญญากับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรไปแล้ว เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา  

rn

นายไมตรี ศรีรัตน์ เปิดเผยถึงวิธีการเพาะพันธุ์กล้ายาง ว่า “ผมเพาะพันธุ์กล้ายางในพื้นที่ ประมาณ 2 ไร่ สามารถผลิตต้นกล้ายางพาราประมาณ 50,000 ต้น สามารถขายผลผลิตจากการติดตายางเขียวได้ต้นละ   20 – 25 บาท และในส่วนผลผลิตที่ติดตายางและชำถุงซึ่งจะต้องดูแลให้ได้อายุประมาณ 1 เดือนครึ่ง ถึง 2 เดือน ใช้เวลาในการเพราะพันธุ์กล้ายางทั้งหมดประมาณ 6 เดือน ก็สามารถขายได้ต้นละ 50 บาท โดยสมาชิกในกลุ่มจะรวมกลุ่มกันขาย เพื่อให้สามารถต่อรองกับพ่อค้าคนกลางได้ เป็นความโชคดีที่ราคายางติดตาเขียวและยางติดตาชำถุง ราคาดี จึงสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ มีเงินไปใช้หนี้ได้อย่างสบาย”

rn

นายไมตรี ยังกล่าวต่อไปอีกว่า “ประธานและสมาชิกในกลุ่มทุกคนพร้อมที่จะให้สมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ กลุ่มอื่นๆ ที่สนใจจะศึกษาขั้นตอนและวิธีการเพาะพันธุ์กล้ายางพารา ทางกลุ่มก็มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่จะช่วยสอนวิธีการให้เป็นความรู้ หรือหากต้องการต้องการซื้อพันธุ์ยางที่ติดตาและชำถุงแล้ว ก็สามารถติดต่อได้ที่ กลุ่มพัฒนาสวนสงเคราะห์บ้านบ่อดาน หมู่ที่ 7 ตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา (นายไมตรี  ศรีรัตน์) เบอร์โทรศัพท์ 086 – 9421208 และที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดพังงา เลขที่ 73/19 หมู่ที่ 3 ตำบลถ้ำน้ำผุด อำเภอเมือง จังหวัดพังงา 82000 เบอร์โทรศัพท์ 076 – 460726 ,      082 – 7903363 ซึ่งราคาซื้อ – ขายขึ้นอยู่ตามความต้องการของตลาดโดยผู้ซื้อสามารถตกลงราคากับสมาชิกในกลุ่มองค์กรได้ตามความเหมาะสม

rn

นางสาวธันย์บดี  หนูเงิน  รักษาการหัวหน้าสำนักงาน สาขาจังหวัดพังงา เปิดเผยว่า “สำนักงานได้รับความร่วมมือจากทางกลุ่มเป็นอย่างดี และยังได้รับความร่วมมือจากผู้ใหญ่บ้าน นายณัฐภัทร  กิไพโรจน์  ที่เป็นประธานองค์กร ปัจจุบันทางกลุ่มองค์กรอยู่ระหว่างการเขียนแผนของบอุดหนุนและงบกู้ยืมจากสำนักงานฯ เพื่อช่วยเหลือสมาชิกของกองทุนฯ ต่อไปในอนาคต”

กฟก.ระยองลงพื้นที่ติดตามดู งบกู้ยืมในโครงการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

 

rn

layong2606

rn

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดระยองได้รับอนุมัติแผนและโครงการฯ ในงบกู้ยืมจำนวน 160,000 บาท ชื่อโครงการ“ทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ”  ขององค์กรเกษตรกร   กลุ่มอำเภอแกลงบูรพาจำนวน 1 โครงการ
ทางองค์กรเกษตรกรจัดประชุมสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ โดยมี นายธนสรรค์  สีสมรักษาการหัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดระยอง ได้แนะนำวิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติในการดำเนินงานในโครงการให้แก่เกษตรกรสมาชิกรับทราบ ณ  ที่ทำการขององค์กรเกษตรกรดังกล่าวเมื่อวันที่  1 พฤษภาคม 2555 และจัดทำสัญญากู้ยืมเงินเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม  2555  ที่ผ่านมา โดยมีเจ้าหน้าที่กองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดระยองร่วมจัดทำสัญญากู้ยืมเงินในโครงการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ โดยมีนายดอกไม้   ใจหาญประธานองค์กรเกษตรกรกลุ่มอำเภอแกลงบูรพาและคณะกรรมการร่วมลงนาม

rn

นายทองอบ  ถนอมวงศ์ รองประธานกลุ่มอำเภอแกลงบูรพา พาหัวหน้าสำนักงานพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานสาขาจังหวัดระยองได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจดูลานหมักปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ  ซึ่งเป็นบริเวณบ้านของนายวิรัตน์  ทองหล่อ เกษตรกรสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ ณ ต.พังราด อ.แกลง จ.ระยอง  โดยเกษตรกรสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่เป็นชาวสวนชาวไร่ ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่หมักได้จะนำมาจำหน่ายให้แก่เกษตรกรสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว 

rn

rn


หัวหน้าเมืองโอ่ง นำทีมพนักงานชี้แจงการบริหารโครงการงบกู้ยืม

 

rn

rachcha26

rn

เมื่อวันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม 2555 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  สาขาจังหวัดราชบุรี  ได้ลงพื้นที่เข้าร่วมประชุมกับกลุ่มชาวไร่มันสำประหลังหมู่บ้านแก้มอ้น รหัสองค์กร 7043003873 ณ ที่ทำการกลุ่มชาวไร่มันสำประหลังหมู่บ้านแก้มอ้น เลขที่ 28 หมู่ 13 ตำบลแก้มอ้น อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ซึ่งได้รับอนุมัติโครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ จำนวนเงิน กู้ยืม  384,100 บาท  โดยนายสุทธิชัย  เซี่ยงเซี้ยว  ประธานองค์กร  สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ 

rn

จำนวน 26 คน และสมาชิกที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ เข้าร่วมประชุมด้วย  

rn

โดยนายวิบูลย์ คุณพงษ์ลิขิต  หัวหน้าสำนักงาน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่   ได้ชี้แจงให้สมาชิกทุกท่านที่เข้าร่วมโครงการ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารโครงการ ระเบียบ ข้อบังคับ ขั้นตอนแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องชัดเจน และซักถามปัญหาร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินงานตามโครงการเป็นไปอย่างราบรื่น

rn

 

กฟก.ลพบุรีลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม องค์กรเกษตรกร

 

rn

lopbu

rn

หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  สาขาจังหวัดลพบุรี นางนัทธมน ฉายชูวงศ์ ได้มอบหมายให้ นายศุภฤกษ์  มะนะโส  พนักงานอาวุโส  ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อมูลโครงการงบกู้ยืมไม่เกิน  500,000.-  บาท ของกลุ่มส่งเสริมทำไร่สี่ซับ  รหัสองค์กร  1643001191  ที่ตั้งองค์กร  ม.2  ซ.19 สาย 2 ขวา  ต.ชอนน้อย อ.พัฒนานิคม  จ.ลพบุรี  มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการทั้งหมด  48  คน  ชื่อโครงการเลี้ยงสุกรขุน  งบประมาณ  499,750  บาท  จากการตรวจสอบพบว่าทางกลุ่มจะขอเปลี่ยนโครงการเป็นเลี้ยงพันธุ์โคนมเพื่อจำหน่าย เนื่องจากสมาชิกในองค์กรที่เข้าร่วมโครงการมีความคิดเห็นร่วมกันว่า การเลี้ยงโคนมจะสร้างรายได้ให้กับองค์กรมากกว่าการเลี้ยงสุกร และสมาชิกมีความรู้ความเชี่ยวชาญมากกว่าการเลี้ยงสุกร ประกอบกับสภาพภูมิประเทศบริเวณ อ.พัฒนานิคม เหมาะสำหรับการเลี้ยงโคนม เกษตรกรในพื้นที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงเป็นอย่างดี และสามารถขอคำปรึกษาจากปศุสัตว์จังหวัดเรื่องการเลี้ยงพันธุ์โคนมเพื่อจำหน่ายได้ ขณะนี้ทางองค์กรอยู่ระหว่างการปรึกษาหารือเพื่อปรับเปลี่ยนแผนโครงการ และจะแจ้งให้สำนักงานรับทราบ เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขแผนโครงการต่อไป  

rn

นายศุภฤกษ์ มะนะโส พนักงานอาวุโส กล่าวว่า “จากการติดตามการดำเนินงานขององค์กรอย่างใกล้ชิด ทำให้ได้รับทราบปัญหาขององค์กรอย่างต่อเนื่อง ในช่วงแรกองค์กรยื่นเสนอแผนโครงการ นำเงินกู้ยืมไปเลี้ยงสุกร แต่เมื่อได้พูดคุยให้คำปรึกษากับสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการแล้ว พบว่า สมาชิกมีความถนัดเรื่องการเลี้ยงโคนมมากกว่า เพราะในเขตพื้นที่ อ.พัฒนานิคม มีอาชีพเลี้ยงโคนมเป็นหลัก ทางสำนักงานจึงได้เสนอแนวทางให้สมาชิกในองค์กร ระดมความคิดเห็นร่วมกันใหม่ เพราะการกู้ยืมเงินในครั้งนี้ จะต้องนำไปประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่สมาชิกมีความถนัด แผนโครงการที่ยื่นเสนอมาจะต้องมีความเป็นไปได้ ทางสมาชิกในองค์กรทุกคนมีความเชี่ยวชาญเรื่องการเลี้ยงโคอยู่แล้ว ยังขาดแต่เรื่องการทำงานเป็นกลุ่ม สำนักงานจึงเข้าไปเสริมในส่วนนั้น คาดว่าเมื่อองค์กรมีมติเปลี่ยนแปลงกิจกรรมแล้ว จะเร่งปรับปรุงแผนโครงการให้ถูกต้องแล้วส่งสำนักงานใหญ่พิจารณาอนุมัติงบประมาณต่อไป

rn

rn


ขนมครกเพื่อชีวิต (ศิลปิน)

 

rn

Lumpang2606

rn

 

rn

การเดินทางของหนุ่มใหญ่วัย 49 ปี  จากเส้นทางสายดนตรี สู่ศิลปะของการทำขนมหวาน “ขนมครกลุงตุ๋ย”    หรือ “นายองอาจ  ถ้ำทอง เกษตรกรในโครงการปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง”เกษตรกรนักสู้ผู้มีอารมแห่งศิลปิน

rn

ย้อนหลังไปเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว นายองอาจ ถ้ำทอง หรือ ตุ๋ย มือคีย์บอร์ด ของวงอาร์เทคนิคซาวท์วงดนตรีชื่อดังของ บ้านป่าตัน อำเภอแม่ทะ  กำลังวาดลวดลายการสร้างสรรค์ผลงานทางดนตรีบนเส้นทางฝันของตนเอง  แต่แล้วเส้นทางฝันก็หยุดลง เมื่อเรื่องระยะทาง และเวลาที่ไม่แน่นอนของงานเป็นอุปสรรค์ในการใช้ชีวิตกับครอบครัว   จึงหวนคืนสู่อาชีพการเกษตร  ควบคู่กับการรับจ้างก่อสร้างเพื่อเลี้ยงครอบครัว   ทำไปทำมากลับกลายเป็นความไม่ลงตัว  เมื่อการเกษตรที่ยึดถือปฏิบัติ มีผลผลิตที่ไม่เป็นดังหวัง  จึงหันพึ่งทางการเงินที่ใกล้ที่สุดในขณะนั้น  ก็คือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาแจ้ห่ม  เพื่อนำเงินเหล่านั้นมาลงทุนทำการเกษตร       ด้วยความเป็นศิลปินนักสู้แห่งลุ่มน้ำสอย องอาจ จึงไม่ท้อต่อความลำบาก  ก้มหน้าสู้พร้อมคู่ชีวิต มุ่งหน้าสืบสานอาชีพแห่งบรรพบุรุษคือการทำนา  เมื่อหมดฤดูการทำนา ก็ปลูกผักกาดหัวขาย  ซึ่งทำให้รายได้ของครอบครัวเริ่มมีสภาพคล่องมากขึ้น  และในปัจจุบันนอกจากอาชีพเกษตรกรแล้ว  องอาจยังมองหาโอกาสในการมาหากินหวังเสริมรายได้ด้วยการขายขนมครก  ที่ตลาดสดเทศบาล อ.แจ้ห่ม  

rn

หลายคนเรียกขาน “หนมครกลุงตุ๋ย”  ด้วยรสชาติที่อร่อยถูกปากที่สำคัญราคาถูกมากเพียงถาดละ 10 บาท ด้วยความเป็นศิลปิน ขนมครกที่ออกจากมาจึงดูสวยงามและหน้ารับประทานเป็นอย่างยิ่ง   จากการสอบถามถึงเคล็ดลับที่ถูกปากถูกใจคือการตีแป้งให้แตกตัวอยู่ตลอดเวลา  “ขนมครกลุงตุ๋ย”  จึงเป็นที่รู้จักกันของชาวอำเภอแจ้หม่ ซึ่งเปิดขายตั้งแต่เวลา 6 โมงเช้าเป็นต้นไป จนกระทั่งแป้งขนมหมด   เพราะหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายได้เสริมนี้จะพอสำหรับการใช้หนี้  ธ.ก.ส  โดยเริ่มจากงวดแรกในเดือนมิถุนายนนี้

rn

rn

นี่เป็นหนึ่งเกษตรกรตัวอย่างในโครงการปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูอาชีเกษตรกร จ.ลำปาง ที่สู้ชีวิต  และเป็นตำนานขนมเลื่องชื่อ อ.แจ้ห่ม “หนมครกลุงตุ๋ย” เกษตรกรนักสู้ผู้มีอารมณ์แห่งศิลปิน

rn

ศรีสะเกษเร่งอบรม ให้ความรู้เกษตรกร

seesakad26

rn

เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา  สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดศรีสะเกษ  ได้นำเกษตรกรเข้ารับการฝึกอบรมโครงการปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร ตามติคณะรัฐมนตรี 7 เมษายน 2553  ณ ศูนย์ฝึกอบรมและแปลงทดลองเกษตรธรรมชาติ และศูนย์ฝึกอบรมหน่วยเฉพาะกิจทหารพรานที่ 23เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมได้ปรับกระบวนทัศน์  เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการประกอบอาชีพหลัก และเสริมสร้างองค์ความรู้เพิ่มเติมในอาชีพเสริม  โดยมุ่งหวังให้เกษตรกรสมาชิกสามารถพึ่งพาตนเองได้  การอบรมครั้งนี้มีเกษตรกรสมาชิกเข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 842 ราย

rn

seesakad2606

rn


“สำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 3 จัดเวทีความร่วมมือการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร”

 

rn

 

rn

เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 7  มิถุนายน 2555  ดร.วิญญู  สะตะ  ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 3 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ร่วมกับ  นางสาวสุดารัตน์  โพธิคลัง  หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดยโสธร นายอติพิชญ์ จันทร์เพ็ง  รองผู้อำนวยการ ธกส. สาขาจังหวัดยโสธร และคณะอนุกรรมการจังหวัดยโสธร  ได้ร่วมกันจัดเวทีความร่วมมือการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร  โดยมี นายจันยา สุคนธ์คันธชาติ ปลัดจังหวัดยโสธร  เป็นประธานในที่ประชุม  

rn

         ดร.วิญญู สะตะ  ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 3 เล่าว่าในการจัดเวทีครั้งนี้ขึ้นมาก็เพื่อหาความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 7 เมษายน 2553 ซึ่งที่ผ่านมาได้เกิดปัญหาจำนวนรายชื่อของเกษตรกรที่มีสิทธิ์ปรับโครงสร้างหนี้ฯ ไม่ตรงกัน เมื่ออบรมเสร็จให้สำนักงานจัดสรรเงินอุดหนุนส่งเสริมอาชีพโดยให้นำไปซื้อปัจจัยการผลิต มาพัฒนาอาชีพตามความต้องการของตนเอง ซึ่งกองทุนกำหนดไว้รายละ ๗,๐๐๐ บาท และการจัดทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ไม่สามารถกระทำได้  จึงได้มีเวทีนี้ขึ้นมา

rn

 

ขอให้ทำรายงานสรุปผลการปฏิบัติงานและให้ประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน

ขอให้ทำรายงานสรุปผลการปฏิบัติงานและให้ประเมินผลงานการปฏิบัติงานของพนักงาน ส่งไปยังส่วนทรัพยากรบุคคล ภายในวันที่ 9 สิงหาคม 2555 รายละเอียดตามเอกสารแนบ

rn

 

rn

ดาวน์โหลด

กฟก.ราชบุรี เร่งลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับองค์กรเกษตรกรก่อนปล่อยเงิน “โครงการกู้ยืม”

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rn

rb27-2 rb1-27
rb27-3

rn
rn

rn

ภายหลังได้รับอนุมัติโครงการเงินกู้ยืมวงเงินมูลค่ากว่า 1.2 ล้านบาท ให้แก่กลุ่มองค์กรเกษตรกรในจังหวัดราชบุรี เพื่อนำไปบริหารโครงการกู้ยืมขององค์กรเกษตรกร  ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 

rn

เมื่อวันที่ 5 – 14 มิถุนายน  ที่ผ่านมา  สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดราชบุรี  นำโดย นายอิทธิพร มาประจวบ พนักงานอาวุโสรักษาการหัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดราชบุรี พร้อมด้วยพนักงาน เร่งลงพื้นที่เข้าร่วมประชุมกับองค์กรเกษตรกรและสมาชิก  เพื่อสร้างความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในการบริหารโครงการภายหลังได้รับอนุมัติเงินโครงการกู้ยืมวงเงินมูลค่ากว่า 1.2 ล้านบาท ให้แก่องค์กรเกษตรกรในจังหวัด 5 องค์กร ได้แก่  1. กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์น้ำทำสวน 2. กลุ่มไร่นาสวนผสมบ้านทุ่งแฝก ได้รับอนุมัติโครงการเลี้ยงหมูหลุม  3. กลุ่มเกษตรกรบ้านหนองปากชัฏ ได้รับอนุมัติโครงการเลี้ยงสุกรขุน และการเลี้ยงปลาดุกแบบอินทรีย์ 4. กลุ่มไทยร่วมมิตร ได้รับอนุมัติโครงการเลี้ยงโคพันธุ์เนื้อลูกผสมเพื่อการขายโค ทำปุ๋ย เลี้ยงปลา (เกษตรผสมผสาน) และ 5. กลุ่มชาวไร่มันสำปะหลังหมู่บ้านแก้มอ้น ได้รับอนุมัติโครงการทำปุ๋ยอินทรีย์แบบครบวงจร

rn

การลงพื้นที่ไปยังที่ทำการกลุ่มเกษตรกรในครั้งนี้  รักษาการหัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดราชบุรี ได้ชี้แจงให้เกษตรกรสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารโครงการ ระเบียบ ข้อบังคับ ขั้นตอนแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องชัดเจน และซักถามปัญหาร่วมกัน เพื่อการบริหารเงินโครงการกู้ยืมเป็นไปตามแผนที่วางไว้

rn

หนองคายประชุมคณะอนุกรรมการฯจังหวัด

rn

           nk27-2nk27-1

rn

rn

           นายหินชนวน อโศกตระกูล หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดหนองคาย ได้จัดประชุมคณะอนุกรรมการจังหวัด เมื่อวันที่ 22  มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา  ณ  ห้องประชุมจอมมณี  ศาลากลางจังหวัดหนองคาย (อาคารหลังใหม่ ชั้น 3)

rn

           ที่ประชุมได้เสนอให้พิจารณาเรื่อง รับรองการแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลองค์กร รับรองการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร  พิจารณาการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเกษตรกร  และพิจารณากลั่นกรองแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จำนวน 23 องค์กร

rn

           ในการประชุมครั้งนี้ ได้กำหนดการประชุมคณะอนุกรรมการจังหวัดหนองคาย  ครั้งที่ 7/2555  ในวันที่ 20กรกฎาคม 2555  ครั้งถัดไปเป็นการประชุมอนุสัญจร ครั้งที่ 2 ซึ่งที่ประชุมมีติจัดประชุมที่อำเภอโพนพิสัย  จังหวัดหนองคาย  ในการประชุมสัญจรครั้งนี้ ครอบคลุม 3 อำเภอ คือ อำเภอโพนพิสัย อำเภอเฝ้าไร่ และอำเภอรัตนวาปี  เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรให้กับเกษตรกรสมาชิก  เพื่อประชาชนได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารด้วย

rn