กฟก.สมุทรปราการ อบรมผู้นำองค์กร

 

rn

samut18

rn

นายทศพล  วิชัยดิษฐ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดสมุทรปราการ เปิดเผยว่า “เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ที่ผ่านมา สำนักงานได้จัดประชุมผู้นำองค์กรเกษตรกร เพื่อชี้แจงกระบวนการขอรับการสนับสนุนตามแบบแผนและโครงการภายใต้งบประมาณ ไม่เกิน 5 แสนบาทต่อโครงการ  ตามนโยบายสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ  ณ  ห้องประชุมสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดสมุทรปราการ  การอบรมในครั้งนี้เป็นการประชาสัมพันธ์ให้องค์กรเกษตรกรที่สนใจจะยื่นเสนอแผนโครงการขอรับงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมด้านการเกษตร ได้รับทราบถึงขั้นตอนในการยื่นเสนอแผน กระบวนการพิจารณาอนุมัติ และเมื่อได้รับงบประมาณแล้วองค์กรจะต้องดำเนินการอะไรบ้าง เพื่อให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ ซึ่งในจังหวัดสมุทรปราการมีเกษตรกรค่อนข้างน้อยกว่าจังหวัดอื่นๆ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ได้กลายเป็นเขตอุตสาหกรรมมากขึ้นเรื่อยๆ สำนักงานจึงมีหน้าที่ให้ความรู้กับเกษตรกรในส่วนที่ยังคงทำอาชีพเกษตรกรรมอยู่ ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่ม และเข้าไปสนับสนุน เสริมความรู้ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เกษตรกรตระหนักถึงอาชีพเกษตรกรรมต่อไป”

กฟก.หนองคาย ประชุมเวทีแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร

 

rn

nongkay126

rn

นายหินชนวน อโศกตระกูล หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดหนองคาย ได้จัดประชุมคณะอนุกรรมการจังหวัด เมื่อวันที่ 1  มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา  ณ  ห้องประชุมจอมมณี  ศาลากลางจังหวัดหนองคาย (อาคารหลังใหม่ ชั้น 3)  

rn

ในช่วงเช้า ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการสาขาภูมิภาคที่ 3 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ได้เข้าร่วมประชุมเวทีความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรระหว่างคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดหนองคายกับสำนักงานธ.ก.ส.หนองคาย  พร้อมนี้ได้ร่วมมือทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของโครงการปรับโครงสร้างหนี้ฯ ซึ่งสำนักงานได้เชิญผู้จัดการสาขา หัวหน้าหน่วย ของสำนักงานธ.ก.ส.เข้าร่วมทุกสาขาในจังหวัดหนองคายด้วย

rn

ในช่วงบ่าย ที่ประชุมได้เสนอให้พิจารณาเรื่อง รับรองการแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลองค์กร รับรองการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร  พิจารณาการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเกษตรกร  และพิจารณากลั่นกรองแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

rn

nongkay2606

rn

 

กฟก.สตูลร่วมมือหน่วยงานภาครัฐบริการนอกสถานที่

 

rn

stoon26

rn

บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้กับประชาชนกันอีกแล้ว เดือนนี้เรามีนัดกับท่านเจ้าเมือง เพื่อยกขบวนความสุขไปส่งกันที่ โรงเรียนนิคมพัฒนาผัง 120    ต.อุใดเจริญ อ.ควนกาหลง จ. สตูล  

rn

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2555 ยามเช้าท่ามกลางฝนตกพรำๆชุ่มฉ่ำไปทุกอณูพื้นที่ผัง 120 นับเป็นฤกษ์งามยามดีที่ท่านพิศาล ทองเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ควงแขนหน่วยงานต่างๆ จากจังหวัด เพื่อนำบริการด้านข่าวสาร ข้อมูล ไปสู่พี่น้องชาวอุใดเจริญ อ.ควนกาหลง จ.สตูล ในบรรยากาศที่สดชื่นแจ่มใส แบบฟ้าหลังฝน 

rn

            เปิดงานด้วยศิลปะการ่ายรำมโนราห์ โดยคณะนักเรียนจากโรงเรียนนิคมพัฒนา ผัง 120  ที่โชว์ฝีมือต้อนรับท่านผู้ว่าฯ และหน่วยงานต่างๆอย่างอ่อนช้อยสวยงาม จากนั้นมีการมอบทุนการศึกษาแก่น้องๆและการแนะนำหน่วยงานต่างๆ สำหรับพวกเราชาวกองทุนฟื้นฟูฯ สตูล ก็เริ่มทยอยนำบริการต่างๆ ทั้งการรับขึ้นทะเบียนเกษตรกร การตรวจสอบการเป็นสมาชิกองค์กร ตรวจสอบรายชื่อปรับโครงสร้างหนี้ พร้อมรับฟังปัญหาและการให้คำแนะนำแก่เกษตรกรด้านปัญหาการจัดการหนี้เพื่อหาแนวทางในการฟื้นฟูและแก้ไขปัญหาต่อไป

เจาะวิถีชีวิตเกษตรกร หมู่บ้านงูจงอาง ในรายการ “พลิกฟื้นคืนชีวิต เจาะวิถีชีวิต”

 

rn

konkan26

rn

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ จังหวัดขอนแก่น ตรวจเยี่ยมองค์กร สภาเกษตรกรไทย อ.น้ำพอง ซึ่งเป็นองค์กรเข้มแข็งและได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาองค์กรและได้ร่วมบันทึกเทปรายการ พลิกฟื้นคืนชีวิต เพื่อออกอากาศ ในวันพุธที่ 11 กรกฎาคม 2555 ทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง NBT ออกอากาศเวลา 5.00-5.30 น.

rn

นายรังสิต ชูลิขิต  หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า “วันนี้สำนักงานใหญ่ร่วมกับทีมงานที่ผลิตรายการ พลิกฟื้นคืนชีวิต ได้มีโอกาสมาเยี่ยมเยียนสำนักงานขอนแก่น และบันทึกเทปรายการ กลุ่มเกษตรกรสภาเกษตรกรไทย เป็นหนึ่งในองค์กรที่รวมตัวกันเรียกร้องให้มี พรบ.กองทุนฟื้นฟูฯ มาถึงวันนี้ก็นับเป็นเวลา 10 กว่าปีแล้ว สมาชิกในองค์กรนี้มีการเลี้ยงงูจงอาง และงูเหลือมกันทุกครัวเรือน แต่ละหลังจะต้องเลี้ยงงูอย่างน้อย 1 – 2 ตัว เนื่องจากว่า เดิมสมาชิกในหมู่บ้านต้องการขายว่านรักษาพิษงู เมื่อขายไปได้สักระยะก็อยากจะให้ดูสมจริงสมจัง จึงมีการเลี้ยงงูทดลองให้ลูกค้าเห็นว่ารักษาได้ผลจริง จนกลายเป็นหมู่บ้านงูจงอาง มีชื่อเสียงไปทั่วโลกในปัจจุบันนี้ สมาชิกในองค์กรได้ยื่นเสนอแผนโครงการเลี้ยงวัวกับสำนักงานสาขาจังหวัดขอนแก่น เนื่องจากว่า อยากจะมีอาชีพที่มั่นคง ต้นทุนการผลิตไม่สูง เพราะการเลี้ยงงูนั้น ไม่ได้สร้างรายได้ที่แน่นอน จึงมองว่าการเลี้ยงวัวน่าจะเป็นอาชีพที่ทำให้ชีวิตมีความมั่นคง ตอนนี้ก็อยู่ระหว่างการพิจารณาแผนโครงการจากสำนักงานใหญ่”

กฟก. ตราด จัดอบรมดูงานโรงสีข้าวขนาดเล็ก ลดปัญหาพ่อค้าคนกลางตัดราคา

trad26

rn

เมื่อวันที่  9 มิถุนายน 55 นายคมกฤช  แกวลี รก.หน.สนง.จ.ตราด ได้เป็นประธานในพิธีเปิด ร่วมกับเจ้าหน้าที่กองทุนฯ ตามโครงการอบรมและศึกษาดูงานการทำโรงสีข้าวขนาดเล็กเพื่อชุมชน ณ โรงสีข้าวบ้านท่าตะเภา จังหวัดตราด ของกลุ่มเกษตรกรสามัคคี สมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดตราด  มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม  69 คน สมาชิกขององค์กรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ซึ่งประสบปัญหาราคาซื้อขายข้าวที่ไม่เป็นธรรมจากโรงสี สมาชิกจึงต้องการเรียนรู้การพัฒนากระบวนการผลิตที่สามารถพึ่งพาตัวเอง โดยการทำโรงสีข้าวขนาดเล็กไว้ใช้เป็นขององค์กรเอง และมั่นใจว่าจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเมื่อทำกิจกรรมการผลิตอย่างครบวงจร จึงขอเสนอรับการสนับสนุนงบประมาณประเภทเงินอุดหนุนจากกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นจำนวนเงิน 58,990 บาท

rn

“ที่ผ่านมาเกษตรกรสมาชิกของกลุ่มฯ ที่ปลูกข้าวประสบปัญหา ในเรื่องของราคา ที่ยังต้องถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลางในเรื่องเครื่องชั่ง ตวง วัด การกำหนดคุณภาพผลผลิต  จึงมีความต้องการที่จะศึกษาดูงานในการทำโรงสีข้าวเพื่อที่องค์กรจะนำมาดำเนินการสร้างโรงสีเพื่อสีข้าวไว้บริโภคเองภายในกลุ่ม บางส่วนขายให้กับผู้อื่นที่สนใจ และเป็นการสร้างอำนาจต่อรองราคาในการขายให้ได้ราคาที่สูงขึ้น องค์กรมี ความเชื่อมั่นว่ากิจกรรมนี้จะสามารถสร้างความสามัคคีและพัฒนาองค์กรให้เข้มแข็งต่อไปได้ และขอขอบคุณกองทุนฟื้นฟูฯที่อยู่เคียงข้างพี่น้องเกษตรกรเป็นอย่างดีตลอดมา” นายณัฐภูมิ  แจ้งแสงประธานองค์กร กล่าว

rn

trad2606

กฟก.จังหวัดตาก เดินหน้าฝึกอบรมเกษตรกรโครงการปรับโครงสร้างหนี้

 

rn

tark26

rn

เมื่อวันที่ 23 – 25 พฤษภาคม 55 ที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดตาก ร่วมกับศูนย์ฝึกอบรมวิยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตาก ได้จัดอบรมเกษตรกรโครงการปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร รุ่นที่ 8/2555 วันที่เมื่อวันที่ 23 – 25 พฤษภาคม 55 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาศักยภาพของสมาชิก,การส่งเสริมเพื่อต่อยอดทางด้านเกษตรกรรมและกสิกรรมเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

rn

ทั้งนี้เกษตรกรสมาชิกผู้เข้าร่วมฝึกอบรมให้การตอบรับและความสนใจเป็นอย่างดี  เนื่องจากได้รับความรู้จากคณาจารย์ทางด้านการเกษตรและความเข้าใจต่อโครงการปรับโครงสร้างหนี้ฯอีกด้วย 

นครสวรรค์ พร้อมลุย!!! ช่วยเหลือเกษตรกรทางด้านกฎหมาย

 

rn

nakornsa26
rn

               เมื่อวันที่  16  พฤษภาคม   2555  นายนภดล   สัจจาสัย   รักษาการหัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดนครสวรรค์  พร้อมด้วยนายปริญญา   พิมพา ลูกหนี้ธนาคารออมสิน  ได้เดินทางเข้าพบผู้อำนวยการสำนักงานบังคับคดีจังหวัดนครสวรรค์  และผู้แทนธนาคารออมสิน  เพื่อเจรจาขอระงับการบังคับคดีขายทอดตลาด      ผลการเจรจาปรากฏว่าธนาคารยินยอมงดการขายทอดตลาด  รวม 3 นัด คือวันที่  16 , 30  พฤษภาคม และ 6  มิถุนายน 2555 และธนาคารยินดีที่จะชะลอการบังคับคดีออกไปอีก  6  เดือน  นับแต่วันขายทอดตลาดนัดสุดท้าย

rn

rn

         ทั้งนี้  นายปริญญา เปิดเผยว่า “ผมรู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่งที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯเข้ามาช่วยเหลือเจรจากับธนาคาร ผมและครอบครัวรู้สึกคลายความทุกข์กังวลไปมากที่เดียวเพราะว่าทุกวันนี้มีผู้สนใจเดินทางมาดูที่ดินของผมและพร้อมที่จะซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดหลายราย หากไม่ได้สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ  มาช่วยเจรจาในวันนี้  ผมและครอบครัวคงไม่มีที่อยู่อาศัยอีกต่อไป เพราะมีบ้านหลังเดียวและเป็นที่ดินผืนสุดท้ายที่มีอยู่”

rn

         นอกจากงานประจำของสำนักงานแล้ว  สำนักงานสาขาจังหวัดนครสวรรค์ยังบริการให้คำแนะนำปรึกษาปัญหาทางด้านกฏหมายให้กับเกษตรกรสมาชิกฟรี เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับสมาชิกอีกด้วย

เยี่ยมศูนย์ปราชญ์ เมืองนนท์

 

rn

 

rn

nonta26

rn

เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ๒๕๕๕  หัวหน้าสำนักงานกองทุนฯสาขาจังหวัดนนทบุรีพร้อมด้วยพนักงานและลูกจ้าง  ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสวนของ นายยวง เขียวนิล สมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร   ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานอนุกรรมการฯ จังหวัดนนทบุรี  ซึ่งได้ดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้จัดที่ทำกินเป็นศูนย์ปราชญ์เพื่ออบรมเกษตรกรที่ต้องการหาความรู้ในการดำเนินชีวิตในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ในแต่ละปีจะมีหน่วยงานต่างๆเกี่ยวกับเกษตร มาดูงานและนำเกษตรกรมารับการฝึกอบรม   ในพื้นที่ทำกินของนายยวง เขียวนิล  จำนวน 44 ไร่  ได้แบ่งพื้นที่ทำกิน บ่อเลี้ยงปลา สวนมะม่วง  สวนมะพร้าว สวนทุเรียน ทำนา เผาถ่าน เลี้ยงกบ ทำน้ำชีวภาพ และพืชเกษตรอื่นๆ โดยรายได้ในการทำเกษตรครั้งนี้ ทำให้เกษตรกรไม่มีหนี้สิน และมีความเป็นอยู่ที่ดีและได้นำความรู้ที่มีเผื่อแผ่มาถึงเกษตรกรรายอื่นด้วย

ประจวบคีรีขันธ์ เดินหน้า ! ซื้อหนี้ ธกส. หลังเว้นวรรคไปกว่า 2 ปี

 

rn

pajob26

rn

พนักงานสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  สาขาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ร่วมกันถ่ายภาพกับเกษตรกรสมาชิก ที่ได้รับการชำระหนี้แทน และโอนโฉนดที่ดินมาเป็นของกองทุนฯ หลังจากเว้นวรรคชำระหนี้แทนให้กับ ธกส. ไปกว่า 2 ปี  

rn

นางสาวนารี  อุทัยทิพวุฒิกร พนักงานอาวุโส รักษาการหัวหน้าสำนักงานกองทุนฯ สาขาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า “สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  สาขาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ดำเนินการโอนหลักทรัพย์ที่เกษตรกรนำไปเป็นหลักประกันแห่งหนี้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เรียบร้อยแล้ว  จำนวน 5 แปลง   รวมเกษตรกรจำนวน 5 คน  ประกอบไปด้วย นายพล  เพ็ชรประดับ,  นางลำจวน  โพธิ์ทอง,  นายแคล้ว  โพธิ์ศรี,  นายบุญส่ง  พุ่มศิริ  และนายมนัส  ครุฑบิน  รวมเงินที่ชำระหนี้แทนทั้งสิ้นจำนวน 2,170,000 บาท  ซึ่งการชำระหนี้แทนของกองทุนฟื้นฟูฯ ในครั้งนี้  ทำให้รักษาที่ดินทำกินของเกษตรกรทั้ง 5 คน ซึ่งมีเนื้อที่รวมกันประมาณ 85 ไร่ 2 งาน 60 ตารางวา ไม่ตกไปสู่การฟ้องร้องดำเนินคดีและถูกขายทอดตลาดอีก จนทำให้เกษตรกรกลายเป็นบุคคลสิ้นเนื้อประดาตัว

rn

นางสาวนารี ได้กล่าวสรุปว่า “สำนักงานกองทุนฯ สาขา จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้มีเกษตรกรที่เป็นหนี้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ที่กองทุนฯได้ชำระหนี้แทนไปแล้วจนถึงปี 2552 รวมจำนวน 53 คน หลังจากนั้นก็ยังไม่มีการชำระหนี้แทนต่อมาอีกเลย  ทั้งนี้เป็นผลมาจากเงื่อนไขต่างๆ ที่เกษตรกรยังไม่เข้าเกณฑ์ของการชำระหนี้   และเพิ่งมาได้รับการชำระหนี้แทนต่อในปี 2555 นี้อีกจำนวน 5 คน  ซึ่งรวมเกษตรกรทั้งหมดที่กองทุนฯ ได้มีการชำระหนี้แทนกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ในพื้นที่สาขา จ. ประจวบคีรีขันธ์ แล้วในปัจจุบันนี้รวมจำนวนทั้งสิ้น  58 คน

rn

///////////////////////////////////////////

อยุธยา โครงการงบอุดหนุน คืบหน้าแล้วเสร็จ 100 เปอร์เซนต์

 

rn

ayut260655

rn

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดหนึ่งที่กลุ่ม/องค์กรเกษตรกร ให้ความสำคัญและเห็นประโยชน์ จากโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ซึ่งเป็นเครื่องมือ  ในการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีเกษตรกรรม ให้มั่นคง อย่างยั่งยืน อันจะเป็นหนทางที่จะไม่ทำให้เกษตรกรกลับไปเป็นหนี้สินอีกครั้ง 

rn

โดยในเบื้องต้น กลุ่มเกษตรกรได้เสนอโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประเภทงบอุดหนุนก่อน       เพื่อนำมาดำเนินการในการปรับแนวคิด เพิ่มเติมความรู้และประสบการณ์ ให้กับสมาชิกกลุ่ม ก่อนที่จะเสนอโครงการประเภทงบกู้ยืมในขั้นตอนต่อไป ซึ่งมีกลุ่มเกษตรกรเสนอโครงการประเภทงบอุดหนุน 4 กลุ่มเกษตรกร จำนวน 4 โครงการ และได้รับการอนุมัติครบแล้วทั้ง 4 โครงการ ด้านผลการดำเนินงานตามแผนโครงการโดยรวมคืบหน้าไปมากแล้ว โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้

rn

กลุ่มพัฒนาเกษตรกรตำบลบ้านเกาะ รหัสองค์กร 1443001562 ได้รับการอนุมัติโครงการศึกษาดูงานและอบรมอาชีพ งบประมาณ 205,000 บาท เป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการเป็นเกษตรกรสมาชิกกลุ่ม จำนวน 200 คน แบ่งการดำเนินกิจกรรมเป็น 2 กิจกรรม คือกิจกรรมอบรมอาชีพ ดำเนินการอบรมแล้ว เมื่อวันที่ 6 – 8 มิถุนายน 2555 จัดการอบรม  ณ ที่ทำการกลุ่ม เลขที่ 20/2 หมู่ที่ 5 ต.บ้านเกาะ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา และอีกหนึ่งกิจกรรมคือกิจกรรมศึกษาดูงาน อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมและวางแผนการทำงาน ก่อนเดินทางไปศึกษาดูงาน

rn

กลุ่มองค์กรเกษตรกรพิตเพียน 5 รหัสองค์กร1443000728  ได้รับอนุมัติโครงการทำนาโยน ในส่วนของงบอุดหนุน คือกิจกรรมอบรมเพิ่มศักยภาพสมาชิกและศึกษาดูงาน งบประมาณ 114,000 บาท  แบ่งเป็น 2 กิจกรรมย่อย คือ กิจกรรมอบรมเพิ่มศักยภาพสมาชิก จัดอบรมแล้วเมื่อวันที่ 11 – 13 มิถุนายน 2555 ณ ที่ทำการกลุ่ม เลขที่ 42 หมู่ที่ 5 ต.พิตเพียน อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา และกิจกรรมศึกษาดูงานซึ่งได้เดินทางไปศึกษาดูงาน การทำนาโยน ,การทำก้อนเชื้อเห็ด และการเผาถ่าน ณ ศูนย์เรียนรู้บ้านคนเอาถ่าน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2555 ทั้ง 2 กิจกรรม มีสมาชิกกลุ่มเข้าร่วม 100 คน

rn

กลุ่มชาวนาหนองน้ำส้ม รหัสองค์กร 1443001783 ได้รับการอนุมัติโครงการศึกษาดูงานทำนาแบบปลอดปลอดสารพิษและอื่นๆ งบประมาณ 108,540 บาท กิจกรรมตามแผนมี 2 กิจกรรม  คือ กิจกรรมศึกษาดูงาน ได้ดำเนินการแล้ว เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2555 ศึกษาดูงาน ณ ศูนย์เรียนรู้บ้านคนเอาถ่าน อ.สรรคบุรี จังหวัดชัยนาท มีสมาชิกกลุ่มเดินทางไปศึกษาดูงาน 50 คน กิจกรรมที่สอง กิจกรรมอบบรมสมาชิกกลุ่ม ดำเนินการวันที่ 20 – 22 มิถุนายน 2555 อบรม ณ วัดราษบรรจง(วัดตาดง) ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา สมาชิกกลุ่มเข้าร่วมอบรม 150 คน

rn

ในส่วนของสำนักงานสาขาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำโดยนายประเสริฐ พงษ์เสนีย์ หัวหน้าสำนักงานสาขา ก็ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามโครงการ เช่น ให้คำปรึกษา,ร่วมประชุมสมาชิกกลุ่มเพื่อชี้แจงการดำเนินงานโครงการ,ลงพื้นที่ติดตามและตรวจเยี่ยมให้กำลังใจ สมาชิกกลุ่มต่างๆ รวมทั้งร่วมเดินทางไปศึกษาดูงานกับสมาชิกกลุ่มต่างๆ

rn

สำหรับอีกหนึ่งกลุ่ม คือกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงปลาบู่ที่ได้รับการอนุมัติโครงการเลี้ยงปลาบู่ ในส่วนของงบอุดหนุน กิจกรรมศึกษาดูงาน งบประมาณ 14,400 บาท ในขณะนี้อยู่ระหว่างวางแผนเพื่อเตรียมงานการเดินทางไปศึกษาดูงาน คาดว่าจะดำเนินการช่วงปลายเดือน มิถุนายน 2555

rn

ayutta2606