เมื่อเปิด AEC ผลกระทบธุรกิจการเกษตร ที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย
rn
rn
การขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศต่างๆ จะทาให้ไทยขยายตลาดออกไปกว้างมากขึ้น โดยตลาดอาเซียน+6 ช่วยให้ไทยเข้าถึงตลาด 16 ประเทศ ที่มีจำนวนประชากรกว่า 3,300 ล้านคน หรือกว่าครึ่งของประชากรโลก (6,900 ล้านคน)
rn
เป็นที่น่าสังเกตว่าการเปิดเสรีการค้าของอาเซียน ทำให้ร้านค้าปลีกขนาดยักษ์เข้ามาทำลายร้านของชำ (โชห่วย) ต้องเลิกกิจการไปเป็นจำนวนหมื่นจำนวนแสนราย จุดมุ่งหมายส่วนหนึ่ง ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ การทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี ในสาขาวิชาชีพ 8 สาขานั้น แรงงานประเทศที่มีทักษะทางด้านภาษาอังกฤษที่เหนือกว่าคนไทยก็จะได้เปรียบ สามารถเดินทางเข้ามาทางานในประเทศไทยได้อย่างเสรี คนไทยอาจจะมีโอกาสตกงาน
rn
อย่างไรก็ตาม หากไทยไม่มีการเตรียมความพร้อมที่ดี การเปิด AEC อาจจะส่งผลกระทบได้ เช่น
1) ผู้ประกอบการต้องแข่งขันในตลาดเพิ่มขึ้น
2) สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานจะเข้ามาวางจาหน่ายในประเทศมากขึ้น และ
3) ขาดแคลนแรงงานฝีมือเนื่องจากแรงงานเหล่านี้เคลื่อนย้ายไปในประเทศที่ได้รับค่าตอบแทนสูงกว่า
rn
สินค้าที่กังวลว่าอาจจะได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร เช่น
–น้ำมันปาล์มที่ไทยต้องแข่งขันกับมาเลเซีย (มาเลเซียเป็นผู้ผลิตน้ามันปาล์มอันดับหนึ่งของโลก)
–เมล็ดกาแฟที่ไทยต้องแข่งขันกับเวียดนาม (เวียดนามผลิตมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากบราซิล)
–มะพร้าวที่ไทยต้องแข่งขันกับอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ (อินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตมะพร้าวอันดับหนึ่งของโลก รองมาคือ ฟิลิปปินส์) และ
– ชาที่ไทยต้องเตรียมแข่งขันกับอินโดนีเซีย(อินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตอันดับสี่ของโลก รองจากอินเดีย จีนและศรีลังกา ตามลำดับ)
ส่วนการเปิดเสรีการค้าบริการ ซึ่งธุรกิจบริการไทยมีความเข้มแข็ง เช่นการท่องเที่ยวและบริการสุขภาพ ผู้ประกอบการไทยสามารถรุกออกไปให้บริการในตลาดอาเซียนและขยายการให้บริการภายในประเทศแต่ธุรกิจบริการที่ไทยน่าจะได้รับผลกระทบจากการเข้ามาให้บริการของผู้ให้บริการอาเซียนและต้องแข่งขันสูงในอาเซียน ได้แก่ โลจิสติกส์และสถาปนิก ซึ่งไทยต้องแข่งขันกับสิงคโปร์ที่มีความพร้อมด้านเงินทุนและเทคโนโลยีสูงกว่า
rn
ในภาคเกษตรนับว่าเริ่มมีการเปิดเสรีการค้ามาแล้วตั้งแต่ปี 2553 โดยให้สินค้าเกษตรของ 6 ประเทศในอาเซียนมีภาษีเป็น 0% ฉะนั้นยังเหลืออีก 4 ประเทศ คือเวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ที่จะปรับภาษีให้เป็น 0% ในปี 2558 ซึ่งแต่ละประเทศก็มีสินค้าเกษตรบางตัวเท่านั้นที่มีความอ่อนไหวที่จะต้องมาตกลงกัน เช่น ไทยมีกาแฟ มันฝรั่ง ไม้ตัดดอก มะพร้าวแห้ง ส่วนอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ มีเฉพาะสินค้าข้าว ซึ่งปัจจุบันกำหนดภาษีอยู่ที่ 20-40%
rn
rn
ที่มา: บทคัดย่อจาก สยามรัฐ