rn
rn
ปัจจุบันความตื่นตัวเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC เริ่มเป็นที่สนใจของผู้คนทุกมากขึ้นในทุกภาคส่วนของ
ผู้คนในขณะนี้ ว่าจะมีผลดีผลเสียต่อการประกอบอาชีพ การดำเนินชีวิตของตัวเอง อย่างไรบ้างหลังจากเปิด AEC แล้ว โดยเฉพาะภาคการเกษตร ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทย ยังประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม จะมีผลกระทบในเชิงลบ หรือทางบวก ได้รับผลประโยชน์จาก AEC มากน้อยเพียงได ต้องปรับตัวหรือเตรียมกันอย่างไร
rn
สำหรับประชาคมอาเซียน (Asean Economic Community : AEC) ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
ได้แก่ ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา และ บรูไน มีประชากรรวมกัน ประมาณ 600 ล้านคน หรือกล่าวได้ว่าตลาดการค้าการลงทุนจะขยายเพิ่มจาก 62 ล้านคนภายในประเทศไทยเป็น 600 ล้านคน การผลิตสินค้าเกษตรและอาหารจากเดิมที่ มุ่งเน้นผู้บริโภคคนไทยด้วยกัน ต่อจากนี้จะต้องให้ความสำคัญกับผู้บริโภคที่ อยู่ในอีก 9 ประเทศเพิ่มขึ้น
rn
rn
แต่อย่างไรก็ตาม ในทางกลับกัน ก็จะมีเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตร ผู้ประกอบการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และอาหารในอีก 9 ประเทศที่คิดเช่นเดียวกันกับเรา และจะเข้าสู่ตลาดและดำเนินนโยบายทางการผลิตและการตลาดแข่งขันกับเรา เช่น นโยบายทางด้านราคา ด้านต้นทุนและด้านความหลากหลายของผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรและอาหาร เป็นต้น ดังนั้น การเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน หรือการเปิด เสรีทางการค้าจะทำให้สินค้าเกษตรและอาหารจะเคลื่อนย้ายผ่านกลไกการขนส่งได้อย่างเสรี ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อการเพิ่มพูนปริมาณ การค้าและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศให้เพิ่มขึ้น จากการที่สินค้าเกษตรและอาหารจะถูกส่งไปจำหน่ายยังตลาดของประเทศในกลุ่มด้วยต้นทุนที่ถูกลง เนื่องจากไม่ต้อง เสียภาษีศุลกากรที่แต่ละประเทศได้เคยกำหนดไว้ ระบบตลาดจะปรับตัวเข้าสู่สภาวะที่ซึ่งผู้ผลิตแต่ละรายจะดำเนินการผลิตสินค้าที่ตนเองมีความได้เปรียบในการแข่งขัน กล่าวคือผู้ผลิตที่สามารถผลิตสินค้าได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าแต่ยังรักษาระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้า ผู้ผลิตที่มีประสบการณ์หรือทักษะในการผลิตสูง และสามารถเข้าถึงปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพได้ในราคาที่ถูกกว่าโดยเปรียบเทียบ จะดำเนินการผลิตสินค้าและส่งไปจำหน่ายในต่างประเทศ ขณะเดียวกันผู้ผลิตรายอื่นก็จะปรับตัวหันไปผลิตสินค้าที่ ตนเองมีความถนัดกว่า จึงเกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน โดยสินค้าที่ แลกเปลี่ยนกันนั้นผู้ซื้อจะมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นจากเดิม เพราะได้รับ สินค้าที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้นและมีราคาจำหน่ายหรือมีต้นทุนต่ำกว่า
rn
นอกจากนั้นทรัพยากรภายในประเทศของแต่ละประเทศ จะถูกใช้ประโยชน์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มได้ดีขึ้นกว่าการไม่เปิด
เสรี เช่น สินค้าบางประเภทเราจะพบเห็นว่าเวลาเพื่อนเดินทางไปต่างประเทศ จะมีการฝากซื้อสินค้า เนื่องจากว่ามีราคาถูกกว่า การซื้อภายในประเทศ ทั้งนี้ในการกลับกันก็เป็นเช่นเดียวกัน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม การเปิดเสรีทางการค้าสินค้าเกษตรและอาหารนั้น เป็นการดำเนินการ ตกลงกันที่จะลดอุปสรรคทางการค้าทางด้านภาษีศุลกากรโดยการลดและเลิกไปในที่ สุด ส่วนอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี แต่ละประเทศยังสามารถที่จะกำหนดได้ เช่น เงื่อนไขมาตรการ สุขอนามัยพืชและสุขอนามัยสัตว์ที่แต่ละประเทศมีกฎ ระเบียบไว้เพื่อการปกปูองคุ้มครองผู้บริโภคมิให้ได้รับอันตรายจากการบริโภคสินค้าและอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมี สารชีวภาพ วัตถุอันตรายต่างๆ และเงื่อนไขพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ที่รักษาระดับความหลากหลายทาง ชีวภาพของประเทศ ทั้งสินค้าที่จะนำเข้ามาหรือจะนำออกไป
rn
rn
ดังนั้นในการเปิดเสรีทางการค้าสินค้าเกษตรและอาหารนั้น เกษตรกรในทุกระดับจะต้องปรับตัวโดยการติดตามข้อมูลทาง การตลาด พฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภค ข้อมูลการผลิตของเกษตรกรในต่างประเทศ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาบริหารจัดการต้นทุนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต การสร้างความแตกต่างในสินค้า ที่สำคัญการปรับตัวเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐานกระบวนการผลิตและมาตรฐานสินค้า และระบบการตรวจสอบย้อนกลับ
ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันได้ว่าสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งผลิตด้วยกระบวนการที่ปนเปื้อนสารเคมี วัตถุอันตรายและมี
ราคาถูก จะไม่สามารถเข้ามาจำหน่ายได้ภายในประเทศไทยและกลายเป็นคู่แข่งขันหรือทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคภายในประเทศ นอกจากนั้น การเสริมสร้างขีดความสามารถของกลุ่มสหกรณ์การเกษตรให้สามารถเข้าสู่ ตลาดอาเซียน จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนและเปลี่ยนบทบาทของเกษตรกรรายย่อยให้มีพื้นที่ทางการตลาดในอาเซียนเพิ่มมากขึ้น
นอกจากการเปิดเสรีทางด้านการค้าและประชาคมอาเซียนยังเปิดให้มีการลงทุนอย่างเสรี จะส่งผลให้นักลงทุนสามารถ
เคลื่อนย้ายการเงินทุนหรือการเคลื่อนย้ายฐานการผลิตสินค้า กล่าวคือ นักลงทุนไทยสามารถไปลงทุนสร้างโรงงานแปรรูปสินค้าเกษตรในกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น การไปลงทุนทาธุรกิจรวบรวมสินค้าเกษตรและแปรรูปแล้วส่งออกไปจำหน่าย (โรงสีข้าว โรงงานมันสำปะหลัง) หรือการ ลงทุนทางการเกษตรกรรมผลิตสินค้าเกษตรขั้นต้น แล้วส่งออกผลผลิตมาแปรรูปขั้นกลาง ขั้นสูงในประเทศไทย เป็นต้น
rn
rn
ในขณะเดียวกันประเทศไทยก็จะมีนักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนสร้างโรงงานแปรรูปสินค้าเกษตรขั้นกลางและขั้นสูง หรือ การลงทุนผลิตปัจจัยการผลิตทางด้านการเกษตร เช่น เครื่องมือเครื่องจักรทาง การเกษตร เทคโนโลยีทางด้านการเกษตร เป็นต้น ระบบเศรษฐกิจในลักษณะนี้ จะส่งผลให้เกิดการแข่งขัน ในตลาดปัจจัยการผลิต เกษตรกรจะมีทางเลือกเพิ่มขึ้น ในการเลือกซื้อ ปัจจัยการผลิตที่มีมาตรฐานคุณภาพและราคาที่ถูกกว่าโดยเปรียบเทียบ ขนาดการผลิตสินค้าเกษตรขั้นต้นจะปรับตัวให้เหมาะสมกับศักยภาพของเกษตรกรแต่ละครัวเรือน นั้นหมายถึงเกษตรกรไทยจะมุ่งผลิตสินค้าเกษตรที่เน้นคุณภาพ มากกว่าเน้นปริมาณ ที่ซึ่งเกษตรกรไทยมีความแตกต่างจากการใช้ฝีมือการผลิตที่เป็นจุดแข่ง รายได้สุทธิจากการผลิตจะปรับตัวเปลี่ยนผ่านเพิ่มขึ้นเมื่อตลาดเข้าสู่สมดุล ปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคเกษตรจะลดลงเนื่องจากเกษตรกรปรับตัว จากระบบการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้นเน้นปริมาณ ไปสู่ระบบการผลิตที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้มข้นและเน้นคุณภาพสินค้า
rn
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญในเรื่องการเปิดเสรีการลงทุนนั้น จะต้องมีกฎระเบียบในการกำกับดูแลและสร้างบรรยากาศการ
ลงทุนที่ โปร่งใส เพื่อให้โอกาสแก่นักลงทุนที่ มีความรับผิดชอบต่อสังคม และไม่เปิดโอกาสให้นักลงทุนที่ ต้องการเข้ามาแย่งชิงทรัพยากรของประเทศหรือมาลงทุนในกิจการที่ทำลายสิ่งแวดล้อมของไทย และที่สำคัญจะต้องสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่นักลงทุนนำเข้ามา มิฉะนั้นประเทศไทยจะเสียโอกาสและไม่ได้ประโยชน์การเปิดเสรีทางด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน เมื่อระบบเศรษฐกิจอาเซียนมีการปรับตัวเข้าสู่สมดุลรอบใหม่แล้ว และจากการที่ปริมาณการค้าการลงทุนเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจของแต่ละประเทศขยายตัว จะส่งผลให้เกิดความต้องการแรงงานทางด้านเกษตร รวมทั้งแรงงานฝีมือด้านอื่นๆ เพิ่มขึ้น ตลาดแรงงานที่ มีทักษะฝีมือจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นในแต่ละประเทศ ค่าจ้างแรงงานภายในกลุ่มอาเซียนจะปรับตัวเข้ามาใกล้เคียงกันตามสภาพแวดล้อมการทำงานหรือมีความแตกต่างกันน้อยลง โอกาสที่แรงงานภาคเกษตรที่เป็นชาวต่างประเทศที่เคยมีอยู่ภายในประเทศจะเคลื่อนย้ายกลับสู่ประเทศเดิมจึงมีสูง ทั้งนี้รวมถึงแรงงานฝีมือของไทยก็อาจถูกจ้างในราคาที่สูงกว่าเพื่อไปทำงานในระดับการควบคุมกระบวนงานการผลิตด้านการเกษตร
rn
rn
ในประเด็นนี้จึงเป็นทั้งโอกาสและผลกระทบต่อภาคการเกษตรของไทย ซึ่งผลกระทบจะมาก่อนโอกาส นั้นหมายถึง จะกดดันเร่งเร้าให้เกษตรกรต้องปรับตัว ต้องขยันเรียนรู้และก้าวทันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศึกษาเรียนรู้ในทุกๆ ด้านเพื่อวิเคราะห์หาทางเลือกที่จะอยู่ร่วมและอยู่ รอด โดยการปรับลดขนาดการผลิตให้เหมาะสม กล่าวคือ เหมาะสมกับแรงงานภายในครัวเรือน และหันไปใช้เทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่มาทดแทนแรงงาน และหรือปรับระบบการผลิตสินค้าเกษตรให้มีความแตกต่าง และเมื่อก้าวข้ามผลกระทบไปได้โอกาสทางการตลาดที่ดีกว่าจะเข้ามาแทนที่ อย่างไรก็ตามการเพิ่มขีดความสามารถ หรือการเพิ่มสมรรถนะของแรงงานภาคการเกษตรมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะในปัจจุบันเกษตรบางส่วนเป็นเพียงผู้จัดการแปลงผู้จัดการนา จ้างแรงงานที่มีทักษะบ้าง ไม่ มีทักษะบ้างเข้ามาทำงานในแต่ละขั้นตอนการผลิต ซึ่งผู้จัดการก็ขาดความรู้ความเข้าใจในการควบคุมกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ
rn
โดยสรุปการเปิดเสรีสินค้าเกษตรในกรอบของ AEC สำหรับประเทศไทยน่าจะได้ประโยชน์จากภาษีที่ ลดลง มีตลาดที่
กว้างขึ้น สินค้าวัตถุดิบที่เป็นปัจจัยการผลิตนำเข้าราคาถูก ทำให้ลดต้นทุนการผลิตเพื่อการส่งออกเสริมสร้างโอกาสในการลงทุนขยายกิจการ ย้ายฐานการผลิต เกิดการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมใหม่ในสินค้าและบริการ มีการพัฒนาและเพิ่มคุณภาพบุคลากรแรงงาน ลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เพิ่มอำนาจการซื้อ มากขึ้นในส่วนของผลกระทบ จะมีผลต่อเกษตรกรของไทยบางส่วนอาจทำให้ราคาสินค้าตกต่ำได้ เมื่อมีการนำเข้าสินค้าราคาถูกจาก อาเซียน 9 ประเทศ อุตสาหกรรมเกษตรที่ มีประสิทธิภาพการผลิตต่ำอาจแข่งขันไม่ได้ มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีจะถูกนำมาใช้มากขึ้น นักลงทุนอาเซียนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ผู้ประกอบการ ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้น แรงงานฝีมือของไทยอาจเคลื่อนย้ายออกไปตลาดต่างประเทศที่ มีค่าตอบแทนสูงกว่า ซึ่งในเรื่องเหล่านี้ทางผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เตรียมการหามาตรการมารองรับและหาทางออกไว้พร้อมแล้ว
rn
rn
rn
rn
rn
แหล่งที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า
rn