rn
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เผยข้อมูลล่าสุด ผลผลิตมวลรวมในประเทศ หรือจีดีพีภาคเกษตรของไทยในปี 2557 จะขยายตัวที่ 1.2% (จากปี 2556 จีดีพีภาคเกษตรมีมูลค่าที่ประมาณ 1.45 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 11% ของมูลค่าจีดีพีในภาพรวมประเทศ) ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ประเมินไว้จะขยายตัวได้ประมาณ 1.4% สาเหตุที่จีดีพีภาคเกษตรยังขยายตัวในปี 2557 มีแรงหนุนจากกลุ่มสินค้าพืชที่เติบโต 1.5% จากผลผลิตข้าวนาปี มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ นอกจากนี้ยังมีการขยายตัวของสินค้าปศุสัตว์ 1.9% และป่าไม้ 2.8% ส่วนสินค้าที่เป็นปัจจัยลบต่อจีดีพี คือ สินค้าประมงหดตัวลง 1.8% จากผลผลิตกุ้งออกสู่ตลาดน้อย จากโรคตายด่วน (อีเอ็มเอส) ยังระบาด และยังมีสาขาบริการภาคการเกษตรที่หดตัวลง 0.5% ส่วนแนวโน้มจีดีพีภาคเกษตรในปี 2558 คาดว่า จะขยายตัวได้ 2-3% มูลค่าจีดีพีจะอยู่ที่ประมาณ 1.48 ล้านล้านบาท
rn
rn
ข้าว – ยางปี 57 ราคาตก
rn
อย่างไรก็ดีแม้ในภาพรวมจีดีพีภาคเกษตรของไทยจะaltยังขยายตัว แต่หากแยกเป็นรายสินค้าเกษตรสำคัญที่เกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่ครึ่งค่อนประเทศ ใน 3 รายการหลักประกอบด้วย ข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง พบในปีที่ผ่านมาในส่วนของสินค้าข้าวในปี 2557 ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้ได้ลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง หลังโครงการรับจำนำข้าวเปลือกราคาสูงกว่าราคาตลาดในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้สิ้นสุดลง และรัฐบาลชุดปัจจุบันเลือกแนวทางปล่อยให้ราคาเป็นไปตามกลไกตลาด แต่มีการอุดหนุนเพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ และได้ช่วยเหลือตัวเองมากขึ้น เช่นการขอความร่วมมือผู้ประกอบการลดค่าปุ๋ย ค่ายา ค่ารถเกี่ยวข้าว ค่าเช่านา รวมถึงจ่ายชดเชยรายได้ 1 พันบาทต่อไร่ ไม่เกินครัวเรือนละ 15 ไร่ หรือไม่เกิน 1.5 หมื่นบาท การให้สินเชื่อแก่เกษตรกรเพื่อชะลอการขายข้าว การจัดตลาดนัดข้าวเปลือก และมาตรการอื่นๆ เพื่อดันราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้ไม่ต่ำกว่า 8.5 พันบาทต่อตัน
rn
นายประสิทธิ์ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาข้าวไทย คาดการณ์ผลผลิตข้าวของไทยในปี 2558 ว่า แม้ราคาข้าวเปลือกจะลดลงได้ราคาไม่เท่ากับโครงการรับจำนำ และกรณีที่กรมชลประทานได้ขอความร่วมมือชาวนาในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำแม่กลองงดทำนาปรังในฤดูแล้ง(พ.ย.57 – พ.ค.58)จากปริมาณน้ำในเขื่อนมีไม่เพียงพอในการสนับสนุนทำนา แต่คาดการณ์ผลผลิตข้าวในปี 2558 จะลดลงจากปี 2557 ไม่มาก เพราะในข้อเท็จจริงแล้ว แม้
rn
ทางการจะห้ามทำนาปรัง แต่ชาวนาตัวจริงก็ไม่ได้หยุด จะเห็นได้จากยังมีการทำนาในทุกพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยายังดำเนินการต่อไป เพราะหากรอถึงเดือนมิถุนายนในฤดูฝนหน้าก็คงไม่มีรายได้จับจ่ายใช้สอย
rn
ในการทำนาจากนี้ไปอยากให้ชาวนารวมกลุ่มกันเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต เช่นเวลานี้ตนได้รวมกลุ่มชาวนาประมาณ 34 รายรวมพื้นที่ประมาณ 540 ไร่ที่ตำบลหนองปลาหมอ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ในการทำนาตามหลักวิชาการ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ซึ่งมีราคาถูกกว่าแทนปุ๋ยเคมี ซึ่งการรวมกลุ่มซื้อปุ๋ยปริมาณมาก ทำให้ได้เครดิตซื้อปุ๋ยจากทางร้านค้าในราคาไม่แพง และได้ลดราคา มีการเจรจากับโรงสีให้ราคาสูงกว่าราคาตลาดเพราะเป็นข้าวอินทรีย์ปลอดสารเคมี ล่าสุดได้เก็บเกี่ยวแล้วได้ผลผลิต 900-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ได้ราคาเฉลี่ย 1.05 หมื่นบาทต่อตัน ขณะที่ต้นทุนเฉลี่ย 4.5 พันบาทต่อไร่ ทำให้ยังได้กำไร และอยู่ได้ จะได้ขยายแปลงต้นแบบนี้ไปในจังหวัดต่างๆ ต่อไป
rn
สำหรับราคาข้าวเปลือกในปี 2558 ในส่วนของข้าวเปลือกเจ้าที่ชาวนาขายได้เฉลี่ยคงอยู่ที่ระดับ 7-8 พันบาทต่อตัน แต่หากชาวนาหาวิธีลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตอย่างจริงจังโดยใช้ข้าวพันธุ์ดีก็สามารถอยู่ได้และมีกำไรซึ่งอาจมากกว่าในช่วงโครงการรับจำนำด้วยซ้ำ!
rn
ส่งออกข้าวดีต่อเนื่อง
rn
ขณะที่ด้านการส่งออกข้าว นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย คาดในปี 2557 ไทยจะส่งออกได้ประมาณ 10.8 ล้านตัน จะมีผลให้ไทยกลับมาเป็นแชมป์ส่งออกข้าวโลกอีกครั้ง หลังจากช่วง 2 ปี ของโครงการรับจำนำข้าว(2555-2556) ไทยได้เสียแชมป์ให้กับอินเดีย และเวียดนามจากราคาข้าวสูงกว่าคู่แข่งขันมาก ส่วนในปี 2558 คาดไทยจะส่งออกข้าวได้ในระดับใกล้เคียงกันที่ 10-11 ล้านตัน จากราคาข้าวไทยได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติและสามารถแข่งขันได้ตามกลไกตลาด
rn
ยางพาราขาขึ้น
rn
ในส่วนสินค้ายางพารา ที่ในปี 2557 ราคาได้ตกต่ำเป็นประวัติการณ์ 3 กิโลกรัม 100 บาท จากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ราคายางในตลาดซื้อขายล่วงหน้า (โตคอมและเซี่ยงไฮ้) ได้ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากนักเก็งกำไรมีการเทขายสัญญามากกว่าซื้อสัญญายางพารา
rn
นายบุญส่ง นับทอง นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย มองว่าผลผลิตยางของไทยในปี 2558 น่าจะลดลงจากปี 2557 จากเกษตรกรได้เงินจากกองทุนสงเคราะห์จากรัฐบาลในการโค่นต้นยางเก่าตามเป้าหมายของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง 4 แสนไร่ต่อปี จากยางราคาตกในปีที่ผ่านมา ลูกจ้างกรีดยางหันไปทำอาชีพอื่นที่รายได้ดีกว่า จากโครงการมูลภัณฑ์กันชน (Buffer Fund) ของรัฐบาลซื้อยางราคานำตลาดในตลาดกลางยางพารา เกิดการแข่งขันซื้อกับผู้ส่งออกยาง ล่าสุดมีผลให้ราคายาง (ยางแผ่นรมควันชั้น 3) ได้ทะลุเป้าหมาย 60 บาท/กิโลกรัมแล้ว
rn
ในปี 2558 คาดราคายางทุกชนิด ทั้งในตลาดกลาง และในตลาดท้องถิ่นจะปรับตัวดีขึ้น จากในปี 2557 ถือเป็นราคาต่ำสุดแล้ว ทั้งนี้สิ่งที่ชาวสวนยางอยากได้เป็นของขวัญปีใหม่จากรัฐบาลคือขอให้เร่งจ่ายเงินชดเชยเกษตรกร 1 พันบาท/ไร่ ไม่เกินครัวเรือนละ 15 ไร่ เพราะเวลานี้การจ่ายเงินค่อนข้างล่าช้า อย่างน้อยขอให้จ่ายได้ซัก 50% ของจำนวนผู้มีสิทธิ
rn
ส่วนนายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด (IRCo) คาดการณ์ราคายางพาราปี 2558 ว่ามีโอกาสฟื้นตัว จากไทย อินโดนีเซียและมาเลเซีย ผู้ผลิตรายใหญ่ได้จับมือกันจะควบคุมการขยายพื้นที่ปลูกและการส่งออกยางพาราของทั้ง 3 ประเทศ จากเศรษฐกิจโลกโดยรวมมีแนวโน้มฟื้นตัว จะมีผลความต้องการใช้ยางพาราเพื่อผลิตล้อยางรถยนต์ ถุงมือยาง และผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ เพิ่มขึ้นด้วย รวมถึงคาดการณ์ราคายางในตลาดซื้อขายล่วงหน้าจะกระเตื้องขึ้น ขณะที่สต๊อกยางของประเทศผู้ผลิตสำคัญได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนามลดลง ส่วนผู้ใช้ยางรายใหญ่สุดของโลกคือจีนสต๊อกได้ลดลงจาก 3.6 แสนตันเมื่อต้นปี 2557 ได้ปรับลดลงเหลือประมาณ 1.2 แสนตันเท่านั้นในเดือนธันวาคม
rn
มันสำปะหลังยังสดใส
rn
ด้านสินค้ามันสำปะหลัง อีกหนึ่งพืชเศรษฐกิจสำคัญ นางสุรีย์ ยอดประจง นายกสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย ให้ความเห็นว่า ในปี 2557 ราคาหัวมันสดของไทยอยู่ในเกณฑ์ดี เฉลี่ยเกษตรกรขายได้กิโลกรัมละ 2.30 บาท คาดแนวโน้มราคามันสำปะหลังปี 2557/58 จะสดใส หลังผลการสำรวจปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังของ 4 ประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ (ไทย เวียดนาม กัมพูชา ลาว) จะมีผลิตรวม 50.6 ล้านตัน ใช้ในประเทศรวม 14.3 ล้านตัน เหลือส่งออก 36.3 ล้านตัน ขณะที่ความต้องการของตลาดโลกโดยรวมประมาณ 39.9 ล้านตัน ดังนั้นในปี 2558 จึงถือเป็นอีกหนึ่งปีทองของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง
rn
สรุปภาพรวมสินค้าเกษตรสำคัญ 3 รายการในปี 2558 ในส่วนของข้าวเกษตรกรยังอยู่ได้ แม้ราคาจะยังไม่ดีนัก แต่หากมีการปรับลดต้นทุนเพิ่มผลิตก็ยังสามารถอยู่รอดได้ ส่วนยางพารา ราคามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่มันสำปะหลัง
rn
rn
ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
rn