การปฏิรูประบบเกษตรกรรม เพื่อความเป็นธรรมและความมั่นคงทางอาหาร
rn
rn
rn
สถานการณ์ของปัญหา
rn
rn
rn
๑. เกษตรกรรมเป็นวิถีชีวิต วัฒนธรรม และเป็นฐานรองรับระบบเศรษฐกิจและสร้างความมั่นคงทางอาหารของสังคมไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้ประชากรภาคเกษตรจะลดลงอย่างต่อเนื่องจากจำนวน ๓๕.๙๖ ล้านคนในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่ ๘ ลดลงเหลือ ๒๔.๔๘ ล้านคน ในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่ ๑๐ มีอัตราลดลงเฉลี่ยร้อยละ ๔.๖๘ ในช่วงปี ๒๕๔๔-๒๕๕๓ สำหรับแรงงานภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลงเช่น เดียวกัน จำนวน ๑๙.๓๒ ล้านคนในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่ ๘ ลดลงเหลือ ๑๗.๔๑ ล้านคนในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่ ๑๐ มีอัตราลดลงเฉลี่ยร้อยละ ๑.๐๙ ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๔๔-๒๕๕๓ ภาคเกษตรกรรมจึงเป็นภาคที่มีความสำคัญสูงต่อสังคมไทยต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ปัญหาความมั่นคงทางอาหารได้กลายเป็นหนึ่งในประเด็นที่มีความสำคัญอย่างถาวรของประชาคมโลก นับตั้งแต่เกิดวิกฤตอาหารระดับโลกเมื่อปี ๒๕๕๑ เป็นต้นมา
rn
๒.ความเหลื่อมล้ำในภาคการเกษตร ในเชิงเศรษฐกิจมหภาค ประเทศไทยประสบผลสำเร็จในฐานะที่สามารถพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ลำดับต้นของโลกโดยสามารถส่งออกสินค้าได้สูงมากกว่าหนึ่งล้านล้านบาท และบริษัทเอกชนด้านเกษตรอาหารของไทยเติบโตกลายเป็น ๑ ใน ๕ ของบรรษัทอาหารชั้นนำของโลก แต่เกษตรกรในประเทศกลับประสบปัญหาทางเศรษฐกิจและการพัฒนาคุณภาพชีวิต กล่าวคือตั้งแต่ปี ๒๕๔๓ เป็นต้นมามีจำนวนเกษตรกรที่มีหนี้สินถึง ๖.๓ ล้านคน รวมหนี้สินกว่า ๘ แสนล้านบาท
rn
เกษตรกรจำนวนมากต้องสูญเสียที่ดินทำกินจากการสำรวจของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรพบว่าสัดส่วนเกษตรกร ๕๙.๗๓% ของเกษตรกรทั้งหมดต้องเช่าที่ดินทำกิน ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับข้อมูลของศูนย์อำนวยการต่อสู้เอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) ในปี ๒๕๔๗ ที่รายงานว่า มีผู้ไม่มีที่ดินทำกิน จำนวน ๘๘๙,๐๒๒ ราย มีที่ดินทำกิน แต่ไม่เพียงพอ จำนวน ๕๑๗,๒๖๓ ราย มีที่ดินแต่ไม่มีเอกสารสิทธิ ๘๑๑,๒๗๙ ราย การปฏิรูปที่ดินที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากต้องแก้ปัญหาสิทธิและการถือครอง รวมถึงการพัฒนาอาชีพ รายได้ เพื่อให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอย่างมีศักดิ์ศรี กล่าวได้ว่ายังไม่สามารถทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเจ้าของที่ดินได้
rn
๓. การขยายตัวของการผลิตแบบเชิงเดี่ยว และการถูกเอารัดเอาเปรียบ ในระบบเกษตรพันธสัญญา ความล้มเหลวของเกษตรกรรายย่อย ผลักดันให้เกษตรกรที่มีวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพที่เป็นอิสระกลาย เป็นเกษตรกรและแรงงานในระบบเกษตรพันธสัญญา ภายใต้การควบคุมของบรรษัทเกษตรและอาหารขนาดใหญ่ ถึงแม้จำนวนเกษตรกรในระบบพันธสัญญา จากสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติเมื่อปี ๒๕๕๒ จะมีประ มาณ ๑๖๐,๐๐๐ ราย แต่การผลิตในระบบนี้กลับกลายเป็นภาคส่วนที่มีการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารสูงกว่าการผลิตของเกษตรรายย่อย โดยเฉพาะในการเลี้ยงไก่ สุกร การผลิตเมล็ดพันธุ์พืช และการผลิตพืชไร่ เช่น อ้อย เป็นต้น แม้ภาครัฐและบริษัท เกษตรและอาหารชี้ชวนให้เห็นว่าการผลิตเชิงเดี่ยวในระบบนี้มีประสิทธิภาพและสามารถแก้ปัญหาต่างๆในภาคการเกษตรได้ แต่ในทางปฏิบัติกลับพบว่ามีเกษตรกรจำนวนมากขาดอำนาจต่อ รอง ถูกเอารัดเอาเปรียบ และไม่ได้รับความเป็นธรรมจากกลไกต่างๆ ทั้งยังสร้างปัญหาต่อการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สุขอนามัย และวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่นต่างๆ
rn
๔.ปัญหาคุณภาพชีวิตเกษตรกรและผู้บริโภคในสังคมไทยในขณะที่เป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารสำคัญ ของโลก แต่ประชาชนของประเทศจำนวนมากยังขาดความมั่นคงทางอาหาร จากข้อมูลของ FAO ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๗-๒๕๔๙ พบว่ามีจำนวน ๑๐.๗ ล้านคน หรือร้อยละ ๑๗ ของประชากรทั้งหมดของประเทศ เช่นเดียวกับสถิติการเจริญเติบโตของเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ที่พบว่ายังมีเด็กไทยที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์อยู่ถึงร้อยละ ๗ ซึ่งเป็นสถิติที่สูงกว่าหลายประเทศที่มีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจระดับกลางในลาตินอเมริกา เช่น บราซิล เม็กซิโก สาธารณรัฐโดมินิกัน โคลอมเบีย ฯลฯ แม้ว่าสถิติดังกล่าวจะต่ำกว่าเพื่อนบ้านในเอเชียอาคเนย์หลายประเทศ (ยกเว้น สิงคโปร์ และมาเลเซีย) ก็ตาม คุณภาพชีวิตของเกษตรกรมีแนวโน้มตกต่ำลงเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น เมื่อปี ๒๕๔๑ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีเกษตรกรที่ผลการตรวจเลือดอยู่ในเกณฑ์ไม่ปลอดภัยและเสี่ยงต่อการเกิดพิษ คิดเป็นร้อยละ ๒๑ ของเกษตรกรทั้งหมด และเพิ่มขึ้นเกือบหนึ่งเท่าตัว เป็นร้อยละ ๓๙ ในปีพ.ศ. ๒๕๕๐
rn
๕. ภัยพิบัติกับผลกระทบต่อภาคการเกษตรและความมั่นคงทางอาหารการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศแบบสุดขั้ว ได้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและชุมชนท้องถิ่นปรากฏเห็นชัดเจนมากยิ่งขึ้นทุกที ตัวอย่างเช่น ความเสียหายอันเนื่องมาจากปัญหาน้ำท่วมซึ่งเกิดขึ้นจากปริมาณน้ำฝนที่มากขึ้น การจัดการปัญหาน้ำที่ไร้ประสิทธิภาพและไม่เป็นธรรมในปี ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ทำให้พื้นที่การเกษตรเสียหายถึง ๑๒.๖ ล้านไร่ รวมเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบทั้งสิ้น ๑,๖๖๘,๘๑๗ คน ผลของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศยังส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และการระบาดของแมลงศัตรูพืช เช่น ยังเกิดโรคและแมลงศัตรูพืชระบาดรุนแรงขึ้น เช่น การระบาดของเพลี้ยแป้งสีชมพูในมันสำปะหลัง ประมาณ ๑.๐ ล้านไร่ ในปี ๒๕๕๒ รวมถึงการระบาดของโรคพืชบางประเภทที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วแต่เพิ่มระดับความรุนแรงยิ่งขึ้น อาทิ การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว โรคเขียวเตี้ยและโรคใบหงิกในนาข้าวภาคกลาง ประมาณ ๒.๔ ล้านไร่ ซึ่งส่งผลต่อศักยภาพการผลิตของภาคเกษตร เป็นต้น
rn
rn
บทวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
rn
rn
rn
๑. เกษตรกรรมเชิงเดี่ยวและเกษตรกรรมที่ไม่ยั่งยืน
rn
๑.๑ แบบแผนการผลิตเชิงเดี่ยวที่เน้นการเพิ่มผลผลิตโดยการใช้พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ที่ปรับปรุงพันธุ์เพื่อตอบสนองต่อการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลทำให้เกษตรกรต้องพึ่งพาอาหารสัตว์ ปุ๋ย และสารเคมีการเกษตรในสัดส่วนที่สูงมาก โดยในการผลิตพืชทั่วไปมีต้น ทุนการผลิตที่เป็นปุ๋ยและสารเคมีการเกษตรคิดเป็นร้อยละ ๓๕ ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด ในการปลูกพืชพันธุ์ลูกผสม เฉพาะต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ ๓๕ ของต้นทุนการผลิต ในขณะที่การผลิตไก่แบบอุตสาหกรรมนั้น ต้นทุนการผลิตที่เป็นพันธุ์ไก่และอาหารสัตว์คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ ๙๐ ของต้นทุนทั้ง หมด โดยที่ปัจจัยการผลิตดังกล่าวส่วนใหญ่อยู่ในมือของบรรษัทเกษตรและอาหารไม่กี่ราย การพึ่งพาปัจจัยการผลิตที่มีราคาสูงแต่กลับได้ผลผลิตที่เมื่อขายแล้วไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาเชิงโครงสร้างที่ทำให้เกษตรกรต้องมีปัญหาหนี้สิน และต้องตกอยู่ภายใต้พันธนาการของปัญหาจนกลายเป็นปัญหาหมักหมม ของเกษตรกรรมไทย
rn
๑.๒ การที่เกษตรกรรมสมัยใหม่พึ่งพาพลังงานและผลิตภัณฑ์ฟอสซิลประมาณ ๕๐-๑๐๐ เท่าของการเกษตรแบบดั้งเดิม ทำให้ปัญหาความคุ้มทุนของเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวกำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ภายในหนึ่งทศวรรษเนื่องจากข้อจำกัดของแหล่งสำรองของเชื้อเพลิงฟอสซิล ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวด ล้อมและสุขภาพที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการใช้ปุ๋ยและสารเคมีการเกษตร ที่กลายเป็นปัญหาใหญ่ของเกษตร กรรมไทยในปัจจุบัน
rn
๒. การผูกขาดในระบบการเกษตรและการกระจายอาหาร
rn
๒.๑ บริษัทยักษ์ใหญ่การเกษตรและบริษัทข้ามชาติสามารถผูกขาดเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดและพืชไร่หลายชนิดได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดภายในระยะเวลาไม่ถึงสองทศวรรษ โดยหน่วยงานของรัฐซึ่งเคยมีบทบาทในการผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อจัดจำหน่ายให้กับเกษตรกรในอดีต เปลี่ยนมาทำหน้าที่ในการสนับสนุนกิจการของบรรษัทเมล็ดพันธุ์ดังกล่าวแทน การครอบครองพันธุกรรมของธุรกิจขนาดใหญ่ ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ดังกล่าวสามารถควบคุมกระบวนการผลิตทางการเกษตรไว้ได้เกือบทั้งหมด เกษตรกรขาดทางเลือกในการผลิตและการตลาดและค่อยๆเปลี่ยนสถานะมาเป็นแรงงานรับจ้างในผืนดินของบรรพบุรุษในทางปฏิบัติ
rn
๒.๒ บริษัทขนาดใหญ่ยังมีแนวโน้มเข้ามาครอบครองและผูกขาดกลไก การกระจายอาหารมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ ตัวอย่างเช่น การขยายตัวของกิจการไฮเปอร์มาร์เก็ต ฟู้ดสโตร์ คอนวีเนี่ยนสโตร์ ที่เข้ามาแทนที่ตลาดสด ตลาดนัด แผงเนื้อสัตว์ และร้านขายของชำขนาดเล็กอย่างรวดเร็ว โดยในกรณีประเทศไทยนั้นกิจการโมเดิร์นเทรดเหล่านี้มีมูลค่าทางตลาดสูงถึง ๕.๔๕ แสนล้านบาท ในขณะที่ธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม ที่มีมูลค่าทางตลาดลดลงเหลือเพียง ๒.๒ แสนล้านบาทเท่านั้นเมื่อปี ๒๕๕๐ แต่สิสิ่งที่ควรตระหนักมากขึ้นก็คือสัดส่วนของสินค้าในห้างขนาดใหญ่ดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทอาหารสูงถึงร้อยละ ๗๕ และกิจการเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ผูกขาดอยู่ในมือของบริษัทข้ามชาติ
rn
๒.๓ การรวมศูนย์การกระจายอาหารโดยธุรกิจค้าปลีกดังกล่าว ทำให้เกิดปัญหาการเข้าถึงอาหาร และความมั่นคงทางอาหารของคนไทย ดังปรากฏว่าในขณะเกิดน้ำท่วมใหญ่ในประเทศไทยปี ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ประชาชนในกรุงเทพมหานครและในจังหวัดภาคกลาง รวมถึงบริเวณเขตชุมชนเมืองในหลายจังหวัดของประ เทศไม่สามารถหาซื้อข้าวสาร ไข่ น้ำมันพืชและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆได้เนื่องจากศูนย์กระจายสินค้าของโมเดิร์นเทรดซึ่งรวมศูนย์อยู่เพียงไม่กี่แห่งดังกล่าวถูกน้ำท่วมจนเสียหายและไม่อาจดำเนินธุรกิจต่อไปได้
rn
๒.๔ การผูกขาดในระบอบธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารตลอดทั้งห่วงโซ่อาหาร ถือว่าเป็นการคุกคามสิทธิทางอาหารของปัจเจกชน โดยเฉพาะความเดือดร้อนของประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างเพียงพอในห้วงยามพิบัติภัย ภายใต้กฎบัตรว่าด้วยสิทธิทางอาหาร ซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชน ไม่จำกัดเชื้อชาติและศาสนา จะต้องมีสิทธิที่จะมีอิสรภาพจากความอดอยากหิวโหย และภาวะทุพโภชนาการ เพื่อจะสามารถพัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะประเทศไทยเป็นประเทศส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารลำดับต้นของโลก มีฐานทรัพยากร ศักยภาพขององค์กร องค์ความรู้ และเทคโนโลยี ที่สามารถจะทำให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงสิทธิทางอาหาร หลุดพ้นจากความอดอยากหิวโหยและภาวะทุพโภชนาการได้ จึงไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะให้มีการผูกขาดการผลิต และการกระจายอาหาร
rn
๓. ข้อจำกัดของการเรียนรู้ที่รวมศูนย์ โดยสถาบันการศึกษากระแสหลักและระบบราชการกระบวน การเรียนรู้และการส่งเสริมการเกษตรในสถาบันการศึกษา ที่เป็นทางการและหน่วยงานส่งเสริมของรัฐมีข้อจำ กัดในการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและแก้ปัญหาการเกษตร และระบบปัญหาของเกษตรกรและสังคม ไทยโดยรวม ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือ เมื่อมีการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนโดยให้มีพื้นที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๒๐ ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งประเทศ หรือประมาณ ๒๕ ล้านไร่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๘ แต่กลับปรากฏว่ากลไกหลักคือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กลับมิได้จัดทำแผนงบ ประมาณหรือโครงการเพื่อดำเนินการดังกล่าว ในขณะเดียวกับที่สถาบันการศึกษาที่เป็นอยู่ ก็มิได้มีการปรับหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้เพื่อรอง บทิศทางการพัฒนาประเทศดังกล่าวแต่ประการใด เป้าหมายการพัฒนาเกษตรกรรมที่ยั่งยืนซึ่งเน้นที่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและการคำนึงถึงสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจึงไม่อาจบรรลุเป้าหมายได้ ในช่วงแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๑ ได้มีความพยายามที่จะกำหนดเป้าหมายการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนขึ้นใหม่อีกครั้ง โดยวางเป้าหมายในการเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืนของประเทศให้ได้อย่างน้อยร้อยละ ๕.๐ ต่อปี รวมทั้งยกระดับให้ครอบครัวเกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองทางอาหารจากไร่นาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๕๐.๐ ในปี ๒๕๕๙ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ทั้งที่เกี่ยวข้องกับสถาบันที่เป็นทางการและกระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกรเองไปพร้อมๆกัน เพื่อให้เป้าหมายการพัฒนาที่กำหนดไว้สามารถบรรลุผลได้ในทางปฏิบัติ
rn
๔. นโยบายและกฎหมายที่ไม่สร้างความเป็นธรรมและไม่นำไปสู่การปรับโครงสร้างการเกษตร
rn
๔.๑ บริษัทยักษ์ใหญ่ทางการเกษตรมีบทบาท ในการกำหนดทิศทางและนโยบายการเกษตร ของประ เทศตลอดระยะ ๒-๓ ทศวรรษที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่น การเข้าไปมีบทบาทชี้นำการเจรจาการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ การเข้าไปมีบทบาทในการบริหารกระทรวง คณะกรรมการและหน่วยงานต่างๆ งานวิจัยไทบ้านที่ศึกษาในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ในพื้นที่เกษตรพันธะสัญญาภาคกลางพบว่าทุนธุรกิจการ เกษตรเหล่านี้มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์อยู่กับพรรคการเมืองในระดับชาติทุกพรรคการเมือง มีความใกล้ชิดกันในระดับดีมากกับข้าราชการในกระทรวงเกษตรฯ ดังนั้นเกษตรกรจึงไม่สามารถที่จะเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมไม่ว่าจะเป็นในด้านการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ให้เกิดความเป็นธรรมในระบบการเกษตรแบบพันธสัญญาด้านความเป็นธรรมในการบังคับใช้กฎหมายและในด้านการเข้าถึงระบบการระงับข้อพิพาทการตัดสินชี้ขาดคดี เป็นต้น
rn
๔.๒ นโยบายของพรรคการเมืองใหญ่ที่เข้ามาบริหารประเทศนับตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ เป็นต้นมามีแนวโน้มให้ความสำคัญต่อนโยบายแบบประชานิยมมากขึ้น โดยในภาคการเกษตรนั้นมีการใช้งบประมาณเป็นจำนวนมากเพื่อประกันราคาสินค้าการเกษตรในรูปแบบต่างๆ เช่น รับจำนำและประกันรายได้ เป็นต้น นโยบายดังกล่าวมีผลในการจูงใจต่อการลงคะแนนเสียงทางการเมืองของเกษตรกรในการเลือกตั้งระดับประเทศแต่กลับมีผลน้อยมากต่อการปรับโครงสร้างทางการเกษตรให้มีความเป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และมีความยั่งยืนมากขึ้น นโยบายการแทรกแทรงกลไกตลาดของรัฐ เช่น โครงการรับจำนำข้าว นอกจากทำลายระบบตลาดแล้วยังสร้างความไม่เป็นธรรม และจะสร้างผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อยอย่างรุนแรงในภายหน้าเพราะจะถูกครอบครองโดยรายใหญ่ และจะสูญเสียวิถีชีวิตในชนบท และกลายเป็นลูกจ้าง ขณะเดียวกันจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนอีกด้วย
rn
๔.๓ นอกเหนือจากสาเหตุที่ได้กล่าวแล้ว แนวโน้มของปัญหาภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในอนาคตจะสร้างผลกระทบต่อเกษตรกรและประชาชนส่วนใหญ่มากยิ่งขึ้น และโดยเหตุที่วงจรการผลิตของเกษตรกรและชุมชนท้องถิ่นจำนวนมากเกี่ยวข้องกับสภาพของดินฟ้าอากาศโดยตรง ทำให้เมื่อเกิดภัยพิบัติแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะเป็นโรคระบาดหรือปัญหาความแห้งแล้ง/น้ำท่วมส่งผลให้เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบต้องใช้เวลานานตั้งแต่ ๕-๑๐ ปีเพื่อฟื้นฟูอาชีพและเศรษฐกิจของตนให้กลับไปอยู่ในสถานะเดิมได้ การแก้ไขและฟื้นฟูภาคเกษตรกรรมและอาหารจึงทำได้ยากขึ้น
rn
rn
ข้อเสนอเพื่อการพิจารณาของสมัชชาระดับชาติ
rn
rn
๑. ขับเคลื่อนให้เกษตรกรรมยั่งยืนและการผลิตที่หลากหลายเป็นทิศทางหลักของเกษตรกรรมไทยภายในหนึ่งทศวรรษ ๑.๑ เกษตรกรรมยั่งยืนและการผลิตที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ เช่น เกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ วนเกษตรและเกษตรทฤษฎีใหม่ จะเป็นแนวทางการพัฒนาเกษตรกรรมที่เตรียมความพร้อมของประ เทศในการเผชิญหน้ากับวิกฤตอาหารและพลังงานการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศอีกทั้งยังสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรได้ไปพร้อมๆกัน ดังการศึกษาโดย Pretty et al. ครอบคลุม ๕๗ ประเทศ มีพื้นที่ประมาณ ๒๓๐ ล้านไร่ (ร้อยละ ๓ ของพื้นที่เกษตรของประเทศกำลังพัฒนา ) พบว่าวิธีการดังกล่าวสามารถเพิ่มผลผลิตของเกษตรกร ๑๒.๖ ล้านครัวเรือน โดยเฉลี่ยเพิ่มผลผลิตพืชได้ร้อยละ ๗๙ ในขณะเดียวกันได้ปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม และการให้บริการของระบบนิเวศ ผลผลิตของอาหาร (ธัญพืชและพืชหัว) เพิ่มขึ้นประมาณ ๑.๗ ตันต่อปีต่อครัวเรือน การปฏิบัติจัดการแบบใช้ทรัพยากรเชิงอนุรักษ์ได้ใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะพืชอาศัยน้ำฝน และปลดปล่อยคาร์บอนโดยเฉลี่ย ๐.๓๕ ตันต่อเฮกตาร์ต่อปี การศึกษาเปรียบเทียบของเดวิด พีเมนเทล มหาวิทยาลัยคอร์เนล พบว่าเกษตรอินทรีย์ใช้พลังงานเพียงร้อยละ ๖๓ ของเกษตรเคมีทั่วไปในสหรัฐ โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการไม่ใช้ปุ๋ยไนโตรเจน สอดคล้องกับผลการศึกษาซึ่งรวบรวมงานวิจัยมากกว่า ๑๓๐ ชิ้นของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมของแคนาดาก็ยืนยันเช่นเดียวกันว่า เกษตรอินทรีย์ใช้พลังงานน้อยกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่า
rn
สำหรับประเทศไทยงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นประเด็นเกษตรกรรมยั่งยืนภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นได้ศึกษาความสามารถจัดการหนี้ของเกษตรกรจากภาคเหนือตอนบนและภาคอีสานหลังจากได้ปรับเปลี่ยนระบบการผลิตเป็นเกษตรกรรมยั่งยืนที่มีวิธีการผลิตเป็นอินทรีย์ พบว่า ร้อยละ ๓๒ สามารถปลดหนี้ได้หลังทำเกษตรยั่งยืนเป็นเวลา ๑-๓ ปี ร้อยละ ๕๕ สามารถลดหนี้ได้ และมีแผนการออกจากหนี้ได้ภายใน ๕ ปี ส่วนร้อยละ ๑๔ ของครัวเรือนยังคงหนี้โดยไม่ก่อหนี้เพิ่ม เนื่องจากหนี้เดิมมีปริมาณสูง แต่มีทิศทางที่ชัดเจนในการจัดการหนี้ในระยะยาว
rn
๑.๒ เกษตรกรรมยั่งยืนได้ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ การฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายชีวภาพในธรรมชาติ ในชนบทที่ห่างไกลความหลากหลายชีวภาพจากธรรมชาติ เช่น ป่าชุมชน ลำธาร และหนองน้ำ เป็นแหล่งอาหารหรือธนาคารอาหารของชุมชนที่สำคัญ ดังนั้น กล่าวได้ว่าความหลากหลายทางชีวภาพในธรรมชาติ และความมั่นคงทางอาหารของชุมชนที่ด้อยโอกาสทางสังคมของชนบท มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ดังนั้นสิทธิการเข้าถึงการอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรความหลากหลายชีวภาพของชุมชนท้องถิ่นควรต้องได้รับการปกป้อง
rn
๒.การพัฒนาระบบตลาดและการกระจายอาหารที่หลากหลาย เป็นธรรม และสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภครูปแบบต่างๆ เช่น ๒.๑ ฟื้นฟูและส่งเสริมกลไกค้าปลีกรายย่อยเพื่อเป็นระบบคู่ขนานกับโมเดิร์นเทรด เป็นการเพิ่มทางเลือกที่หลากหลายของระบบอาหาร มีมิติความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภคโดยเฉพาะในภาวะวิกฤติ พัฒนาตลาดกลางระดับจังหวัดซึ่งเป็นช่องทางการกระจายสินค้าเกษตรที่สำคัญมายังผู้บริโภคในเมือง การยกระดับและเพิ่มจำนวนตลาดชุมชนและตลาดผู้ผลิต-ผู้บริโภค ลดการผูกขาดของผู้ผลิตรายใหญ่พร้อมกับการเกื้อกูลเกษตรกรรายย่อยและวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น ลดต้นทุนการจำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลาง ลดการใช้ทรัพยากรในการขนส่งและจัดเก็บรักษาอาหาร รวมทั้งส่งเสริมระบบการผลิตและการตลาดที่เป็นหุ้นส่วนระหว่างเกษตรกรกับผู้บริโภค เช่น รูปแบบ CSA (Community Supported Agriculture) ของกลุ่มเกษตรกรและตลาดเกษตรอินทรีย์ตามโรงพยาบาลและสถานที่ราชการ เป็นต้น
rn
๒.๒ การดำเนินการดังกล่าวต้องดำเนินไปพร้อมกับการเร่งผลักดัน (ร่าง) พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งเพื่อกำกับและดูแลธุรกิจค้าปลีกค้าส่งไม่กระทบกับความอยู่รอดและการเจริญก้าวหน้าของผู้ประกอบการรายย่อยและตลาดคู่ขนาน รวมทั้งแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.๒๕๔๒ เพื่อควบคุมการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม โดยมีคณะกรรมการและการบริหารงานที่เป็นอิสระจากอิทธิพลของผู้ประกอบการที่มีส่วนได้เสีย
rn
๓.ข้อเสนอนโยบาย กฎหมาย และการปฏิรูปเชิงสถาบัน เพื่อสนับสนุนแนวทางการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนและสร้างความเป็นธรรมในระบบการเกษตรและอาหารมีความจำเป็นต้องดำเนินการขับเคลื่อนให้เกิดกฎหมายและปฏิรูปเชิงสถาบันที่สำคัญใน ๔ เรื่องคือ
rn
๓.๑ เร่งรัดการพัฒนากฎหมาย “(ร่าง)พ.ร.บ.เกษตรกรรมยั่งยืน” ภายใต้คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนซึ่งตั้งขึ้นโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน พ.ศ. ๒๕๕๔ เพื่อให้แล้วเสร็จภายใน ๒ ปี โดยตั้งกลไกที่เป็นอิสระและถาวรเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนเป้าหมายเกษตรกรรมยั่งยืนของประเทศให้บรรลุผล
rn
๓.๒ ผลักดันให้เกิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองเกษตรกรภายใต้ระบบการเกษตรแบบพันธสัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ปัญหาที่เกษตรกรต้องกลายเป็นผู้รับภาระความเสี่ยง การได้รับผลตอบแทนไม่คุ้มค่า การเข้าไม่ถึงปัจจัยการผลิต ปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการทำงาน เป็นต้น ทั้งนี้โดยดำเนินการในการผลักดันกฎหมายนี้ร่วมกับกลไกและมาตรการอื่นๆ เช่น การจัดทำและกำหนดค่ามาตรฐานกลางของปัจจัยการผลิต จัดตั้งระบบการไกล่เกลี่ยและการระงับข้อพิพาทที่เกิดจากความขัดแย้ง หรือการไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมจากระบบเกษตรพันธสัญญา และกำหนดให้ข้อตกลงที่เกี่ยวข้องกับระบบเกษตรพันธสัญญาเป็นสัญญาที่มีแบบมาตรฐาน เป็นต้น ๓.๓ ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้เกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อนำไปสู่เป้าหมายว่า “ความมั่นคงของชีวิตเกษตรกรคือความมั่นคงของชาติ” โดยกระบวนการเรียนรู้นั้นต้องเป็นการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม เห็นของจริง คนจริง เพื่อให้เห็นความเป็นจริงของชีวิต โดยผ่านกลไกต่างๆ เช่น ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน โรงเรียนชาวนา นักวิจัยเกษตรกรและสถาบันวิจัยและพัฒนาการเกษตรท้องถิ่น หลักสูตรเพื่อท้องถิ่น สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ในทุกระดับที่สามารถเชื่อมโยงเสริมพลังทั้งในแนวตั้งและแนวนอน พร้อมๆกับรับทิศทางของศูนย์เรียนรู้ สถาบันวิจัยของรัฐให้เสริมหนุน และทำงานร่วมกับเกษตรกรและชุมชนในการสร้างความรู้และขยายผลความรู้ ที่ตอบสนองต่อปัญหาและเป็นศูนย์ที่ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์และมีส่วนร่วมได้อย่างแท้จริง ๓.๔ พิจารณาผลักดันให้มีการรับรองสิทธิในอาหาร และสิทธิที่เกี่ยวข้องเช่นสิทธิของเกษตรและชุมชนในทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ๒๓ ประเทศที่ได้รับรองสิทธิที่เกี่ยวกับอาหารโดยตรง หรือใน ๒๔ ประเทศที่บัญญัติเรื่องนี้ไว้รวมกับสิทธิด้านอื่นๆ.
rn
rn
rn
ส่วนฝึกอบรม สำนักอำนวยการ
rn
กันยายน ๒๕๕๕