วันที่ 24 มกราคม 2566 นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.)พร้อมด้วยนายยศวัจน์ ชัยวัฒนสิริกุล รองประธานกรรมการบริหารฯ คนที่ 1 และคณะผู้บริหารกองทุนฟื้นฟูฯ ร่วมหารือกับนายบัญชา ตรีศิลสัตย์ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบการเงิน และบริหารพัสดุที่ 9 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และคณะผู้ตรวจจาก สตง. เกี่ยวกับแนวทางการเข้าตรวจรายงานการใช้จ่ายงบประมาณปี 65 ของ สตง. ซึ่งตาม กฎหมายของ กฟก. ต้องดำเนินการ ภายใน 120 วัน นับแต่วันสิ้นบัญชี จากนั้น กฟก. ต้องเสนอให้คณะกรรมการกองทุนฯ เห็นชอบเสนองบดุลแสดงฐานะการเงิน โดยมีคำรับรองการตรวจสอบของ สตง. และทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานเสนอต่อ ครม. ตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 และ กฟก. เป็นทุนหมุนเวียนจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561

ที่ผ่านมาการนำส่งข้อชี้แจงหรือเอกสารต่าง ๆจาก กฟก. ไปยังกลุ่มผู้ตรวจจาก สตง. ยังขาดเอกสารและข้อชี้แจงประกอบการตรวจสอบ มีการส่งเอกสารไปกลับหลายครั้ง ทำให้เกิดความล่าช้า ดังนั้น ในการตรวจสอบปี 2565 เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและมีความเข้าใจที่ตรงกันจึงกำหนดแนวทางการนำส่งเอกสารประกอบการตรวจสอบ ดังนี้ 1.จัดทำข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนแล้วนำไปหารือนอกรอบกับ สตง. 2. จัดเตรียมเอกสารประกอบให้ครบถ้วนและตรงตามเนื้อหา 3. มอบหมายให้หัวหน้าส่วนเป็นผู้ประสานงานกับ สตง. เพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ

อ่านต่อ

วันที่ 23 มกราคม 2566 ที่ห้องประชุมชั้น 3 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. พร้อมด้วย รองเลขาธิการ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้าส่วน พนักงานและลูกจ้างทั่วประเทศกว่า 750 คน ร่วมประกาศเจตนารมณ์การต่อต้านการทุจริต ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีสำนักงานสาขาจังหวัดทั่วประเทศร่วมกล่าวประกาศเจตนารมณ์ผ่านระบบ NT Conference ไปพร้อมกันด้วย


นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. ได้มอบนโยบาย “No Gift Policy ไม่รับ – ไม่ให้” ของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่า “นโยบาย No Gift Policy ไม่รับ – ไม่ให้ เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมสุจริตในการปฏิบัติงานให้มีคุณธรรม จริยธรรม ความโปร่งใส ลดการทุจริตคอร์รัปชั่นในการปฏิบัติหน้าที่ และปลูกฝังจิตสำนึกให้เป็นคนดี มีค่านิยมในทางสุจริต และมีจิตบริการ เป็นการรณรงค์ให้พนักงานทุกระดับงดรับของขวัญจากบุคคลภายนอกที่มาติดต่อสำนักงาน และงดให้ของขวัญแก่ บุคคลภายนอกที่มาติดต่อสำนักงานในทุกช่วงเทศกาล เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำอันอาจส่งผลต่อดุลยพินิจ หรือการตัดสินใจในการปฏิบัติหน้าที่ หรือก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน


โอกาสนี้ ได้นำกล่าวประกาศเจตจำนงต่อต้านการทุจริต “สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรไม่ทนต่อการทุจริต” (FRD Zero Tolerance) ประจำปี 2566 ว่า “จะซื่อตรงจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ยาธิราชเจ้าทุกพระองค์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ จะเป็นคนดีมีคุณธรรม ประพฤติปฏิบัติตนในสัมมาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเป็นหลักสำคัญมั่นคง ดำรงตนอยู่ในความมีเกียรติ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ กล้ายืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่กระทำการโกงแผ่นดิน ไม่ทนต่อการทุจริต หรือใช้ตำแหน่งหน้าที่หากินบนความทุกข์ยากของประชาชน จะประพฤติปฏิบัติตนตามรอยยุคลบาทและศาสตร์ของพระราชาผู้ทรงธรรม จะดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันบริสุทธิ์ สืบสานพระราชปณิธาน ยืนเคียงข้างสุจริตชน เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนของราชอาณาจักรไทยสืบไป”

อ่านต่อ

คณะทำงานสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้เกษตรกรเตรียมแผนเชิงรุกเดินหน้าสนับสนุนภารกิจปรับโครงสร้างหนี้ ตามมติ ครม. 22 มี.ค.65มั่นใจ ต้นเดือน ก.พ. นี้เริ่มดำเนินการได้ วันที่ 23 ม.ค. 66 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 3 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประชุมคณะทำงานสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้เกษตรกร ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 65 ครั้งที่ 2/2566 โดยมี นายยศวัจน์ ชัยวัฒนสิริกุล เป็นประธาน การประชุมครั้งนี้ มีมติเห็นชอบ

  1. เห็นชอบแผนการดำเนินงานของคณะทำงานฯ ตามที่เสนอ โดยให้คณะทำงานร่วมกันกำหนดกรอบรายละเอียดเนื้อหาในการทำความเข้าใจกับสำนักงานสาขาจังหวัด ตามแผนงานที่ 4 (ประชุมผ่านระบบ Conference) ในการประชุมครั้งต่อไป
  1. เห็นชอบ (ร่าง) แผนการลงพื้นที่ 4 ภูมิภาค เพื่อสนับสนุนและติดตามภารกิจในระดับพื้นที่ ตามเสนอ โดยในส่วนของการกำหนดวันเวลา รายละเอียดกรอบเนื้อหาและกิจกรรมในการลงพื้นที่ ให้สำนักงานนำเสนอ ที่ประชุมพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป หลังจากที่ได้มีการหารือกับ 4 ธนาคารรัฐ ในวันศุกร์ที่ 27 ม.ค. 2566 แล้ว ซึ่งคาดว่าเกษตรกรที่ได้สิทธิ์จะสามารถดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ฯ กับเจ้าหนี้ได้ภายในต้นเดือนกุมภาพันธ์ 66 นี้
อ่านต่อ

วันที่ 23 ม.ค. 66 นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการ สำนักงาน กฟก. พร้อมด้วยนางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ประธานกรรมการบริหารฯ และคณะผู้บริหาร เข้าพบ ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อนำเสนอรายชื่อตัวแทนสภาทนายความที่ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ที่คณะกรรมการบริหารสภาทนายได้ส่งรายชื่อมาให้สำนักงาน กฟก.

โดยสภาทนายความยินดีให้ความร่วมมือการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายให้เกษตรกรสมาชิก กฟก. ทุกกรณีตามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ที่ได้ทำร่วมกันก่อนหน้านี้และในอนาคตจะมีการกำหนดหลักสูตรเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมาย เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการการช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ นอกจากนี้ยังเห็นชอบการจัดเวทีสร้างความเข้าใจให้ผู้เกี่ยวข้องซึ่งจะมีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการอีกครั้ง

อ่านต่อ

วันที่ 23 ธันวาคม 2565 เวลา 12.30 น. ที่ วัดเสมียนนารี กรุงเทพมหานคร สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และเจริญจิตตภาวนาถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา โดยมีคณะสงฆ์ รวม 10 รูป นำโดยพระเทพวรสิทธาจารย์ (อุทัย อุทโย) เจ้าอาวาสวัดเสมียนนารี ขึ้นนั่งอาสน์สงฆ์ เจริญพระพุทธมนต์

ทั้งนี้ มีนายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พร้อมด้วย นายสมยศ ภิราญ รองเลขาธิการ นายสมศักดิ์ อยู่รอต รักษาการรองเลขาธิการ และผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้าส่วน พนักงาน ลูกจ้างสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เข้าร่วมพิธีอย่างพร้อมเพรียง โดยได้มีการถ่ายทอดพิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนาผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ไปยังสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรทั่วประเทศด้วย

อ่านต่อ

วันที่ 6 พ.ย. 65 ที่วิทยาลัยเทคนิคปากช่อง จ.นครราชสีมา รองนายกรัฐมนตรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มอบเช็คเงินโครงการฟื้นฟูอาชีพและพัฒนาอาชีพเกษตรกร เช็คเงินชำระหนี้แทนเกษตรกร มอบโฉนดที่ดินคืนให้เกษตรกรที่ชำระหนี้คืนครบตามสัญญา และมอบใบประกาศแสดงความยินดีกับเกษตรกรสมาชิกกฟก. จ. นครราชสีมา ที่ได้สิทธิปรับโครงสร้างหนี้ ลดหนี่เงินต้นเหลือครึ่งเดียว ตามมติครม. 22 มีค. 65 โดยมี นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. พร้อมด้วย นายมนัส วงษ์จันทร์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร นายประยงค์ อัฒจักร ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 3 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) นางโสมสุดา โพธิ์อินทร์ รองผู้อำนวยการสำนักฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นายวัชรางกูร แสนเสริม หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดนครราชสีมา เข้าร่วมกิจกรรมด้วย

นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. เปิดเผยว่า “ในวันนี้ รองนายกจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ได้มอบเช็คเงินโครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร จำนวน 5 องค์กร มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ 275 คน เป็นเงิน 1,560,000 บาท มอบเช็คเงินชำระหนี้แทนเกษตรกร จำนวน 33 คน 5 สหกรณ์ เป็นเงิน 17,594,552.88 บาท มอบโฉนดที่ดินคืนเกษตรกรที่ได้ชำระหนี้ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว จำนวน 10 คน 16 แปลง เนื้อที่ 140 ไร่ 3 งาน 72.4 ตารางวา และมอบใบประกาศการได้รับสิทธิปรับโครงสร้างหนี้ตามมติ ครม. จำนวน 62 คน ซึ่งทั้งหมดเป็นเกษตรกรสมาชิกกฟก.นครราชสีมา

สำหรับจังหวัดนครราชสีมา กฟก. ได้มอบเช็คเงินโครงการฟื้นฟูอาชีพไปแล้ว 130 องค์กร เป็นเงิน 72,085,317 บาท มอบเช็คชำระหนี้แทนเกษตรกรให้กับเจ้าหนี้สหกรณ์ 48 สหกรณ์ เป็นเงิน 168,418,126.43 บาท มอบโฉนดที่ดินและใบประกาศเกียรติคุณให้เกษตรกรที่ชำระหนี้ครบถ้วนตามสัญญา จำนวน 975 คน และมอบใบทะเบียนองค์กรเกษตรกร จำนวน 62 องค์กร

ผลงานที่ผ่านมาของกฟก.ภายใต้การกำกับดูแลของรองนายกรัฐมนตรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้มีการผลักดันให้ กฟก. ได้รับงบประมาณและกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรมาอย่างต่อเนื่อง ในปี 2565 ได้ชำระหนี้แทนเกษตรกรรวมทั้งสิ้น 2,095 ราย 2,098 บัญชี เป็นเงิน 1,772.33 ล้านบาท รักษาที่ดินทำกินให้เกษตรกรได้ 1,594 แปลง เนื้อที่รวม 8,625 ไร่”

นายจุรินทร์ กล่าวว่า ในปี 2565 ที่ผ่านมาตนในฐานะประธานกองทุนฯ ได้ผลักดันทางนโยบายให้กฟก. ได้รับงบประมาณงบกลางจำนวน 2,000 ลบ. และในปี 2566 ได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปีอีก 500 ลบ. ซึ่งคาดว่าจะไม่เพียงพอต่อความจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร ซึ่งคงต้องเสนอรัฐบาลของบกลางปี 66 อีกครั้ง

อ่านต่อ

วันที่ 14 ตุลาคม 2565 ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาชุมพร อ.เมือง จ.ชุมพร รองนายกรัฐมนตรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้มอบเช็คเงินชำระหนี้แทนเกษตรกร มอบโฉนดที่ดินคืนให้เกษตรกร และมอบใบทะเบียนองค์กรให้สมาชิกกองทุนฯ จังหวัดชุมพร กว่า 1,134 ราย โดยนายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. ได้มอบหมายให้นายสมศักดิ์ อยู่รอต รักษาการในตำแหน่งรองเลขาธิการสำนักงาน กฟก. พร้อมด้วย นายมนัส วงษ์จันทร์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร นายสุกิจ ลุ้งใหญ่ ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 4 ภาคใต้ นางรุ่งทิพย์ นวลขาว หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดชุมพร และพนักงาน/ลูกจ้างสาขาชุมพรเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ได้มอบเช็คเงินชำระหนี้แทนเกษตรกร จำนวน 1 สหกรณ์ เป็นเงิน 361,556.03 บาท มอบโฉนดที่ดินคืนเกษตรกรที่ได้ชำระหนี้ปิดบัญชีคืนกองทุนแล้ว จำนวน 5 ราย 8 แปลง เนื้อที่ 41 ไร่ 1 งาน 76.7 ตารางวา และมอบใบรับรองการขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร จำนวน 13 องค์กร จำนวนสมาชิก 1,134 ราย

ด้านผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของ กฟก. ในปี 2565 ภายใต้การกำกับดูแลของรองนายกรัฐมนตรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรได้ชำระหนี้แทนเกษตรกรรวมทั้งสิ้น 2,096 ราย 2,098 บัญชี เป็นเงิน 1,772.33 ล้านบาท ซึ่งสามารถรักษาที่ดินทำกินให้เกษตรกรได้ 1,594 แปลง เนื้อที่รวม 8,625 ไร่ ส่วนของภาคใต้ได้ดำเนินการชำระหนี้แทนจำนวน 136 ราย 137 บัญชี จำนวนเงิน 176 ล้านบาท มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน จำนวน 130 แปลง เนื้อที่ 431 ไร่

โดยรองนายกรัฐมนตรีได้ผลักดันนโยบายเพื่อเกษตรกรและสมาชิก กฟก. มาอย่างต่อเนื่อง ในฐานะประธานกรรมการ กฟก. ได้มอบเช็คเงินโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรแล้ว จำนวน 130 องค์กร 130 โครงการ จำนวนเงิน 72่,085,317 บาท มอบเช็คเงินชำระหนี้แทนเกษตรกรให้กับเจ้าหนี้สหกรณ์ ในพื้นที่ภาคใต้ จำนวน 47 สหกรณ์ จำนวน 168,065,570.40 บาท มอบโฉนดที่ดินและใบประกาศเกียรติคุณให้เกษตรกรที่ชำระหนี้ครบตามสัญญา จำนวน 970 คน และมอบใบทะเบียนองค์กรเกษตรกร จำนวน 67 องค์กร

อ่านต่อ

วันที่ 8 ตุลาคม 2565 ที่โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อ.เมือง จ.นครสวรรค์ รองนายกรัฐมนตรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มอบเช็คเงินโครงการฟื้นฟูอาชีพและพัฒนาอาชีพเกษตรกร เช็คเงินชำระหนี้แทนเกษตรกร และมอบโฉนดที่ดินคืนให้เกษตรกรสมาชิกกองทุนฯ จังหวัดนครสวรรค์ โดยนายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. ได้มอบหมายให้นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการสำนักงาน กฟก. พร้อมด้วย นายมนัส วงษ์จันทร์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร นายประเทือง นรินทรางกูล ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักบริหาร นางทิพวรรณ์ เกตุหนู หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดนครสวรรค์ เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ รองนายกจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ได้มอบเช็คเงินโครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร จำนวน 7 องค์กร มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ 110 ราย เป็นเงิน 2,115,000 บาท มอบเช็คเงินชำระหนี้แทนเกษตรกร จำนวน 8 ราย 3 สหกรณ์ เป็นเงิน 11,710,763.40 บาท มอบโฉนดที่ดินคืนเกษตรกรที่ได้ชำระหนี้ปิดบัญชีคืนกองทุนแล้ว จำนวน 3 ราย 5 แปลง เนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 32.2 ตารางวา

สำหรับผลงานที่ผ่านมาในปี 2565 กฟก. ภายใต้การกำกับดูแลของรองนายกรัฐมนตรี นายจุริทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรได้ชำระหนี้แทนเกษตรกรรวมทั้งสิ้น 1,822 ราย 1,825 บัญชี เป็นเงิน 1,488.66 ล้านบาท ซึ่งสามารถรักษาที่ดินทำกินให้เกษตรกรได้ 1,318 แปลง เนื้อที่รวม 7,340 ไร่

สำหรับจังหวัดนครสวรรค์มีเกษตรกรที่ได้รับการชำระหนี้แทนไปแล้ว 42 ราย เป็นเงิน 49.86 ล้านบาท โดยรองนายกรัฐมนตรีได้ผลักดันนโยบายเพื่อเกษตรกรและสมาชิก กฟก. มาอย่างต่อเนื่อง ในฐานะประธานกรรมการ กฟก. ได้มอบเช็คเงินโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรไปแล้ว 123 องค์กร จำนวนเงิน 69,970,317 บาท มอบเช็คชำระหนี้แทนเกษตรกรให้กับเจ้าหนี้สหกรณ์ในพื้นที่ จำนวน 44 สหกรณ์ เป็นเงิน 156,345,807 บาท มอบโฉนดที่ดินและใบประกาศเกียรติคุณให้เกษตรกรที่ชำระหนี้ครบถ้วนตามสัญญา จำนวน 967 คน และมอบใบทะเบียนองค์กรเกษตรกร จำนวน 62 องค์กร

อ่านต่อ

วันที่ 4 ตุลาคม 2565 เวลา 13.30 น.ที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. ประชุมมอบนโยบายการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2566 ผ่านระบบ NT conference โดยมีผู้บริหารสำนักงานจากสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาจังหวัดเข้าร่วมประชุม ประเด็นที่เลขาธิการได้มอบนโยบายมี 4 ประเด็นหลัก ได้แก่

1. การรายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานสาขาจังหวัด ณ วันที่ 30 ก.ย. 65 ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ด้านการจัดการหนี้ และด้านการบริหารงานสำนักงาน ให้คณะกรรมการ กฟก. ได้รับทราบ เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 65 ที่ผ่านมา

2. เป้าหมายการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ 2566 ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ด้านการจัดการหนี้ และด้านการบริหารงานสำนักงาน โดยได้มอบหมายให้สำนักฟื้นฟูฯ และสำนักจัดการหนี้ฯ กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อทำรายละเอียดประกอบการของบกลางสำหรับดำเนินงาน

3. แนวทางการทำแผนปฏิบัติงานบูรณาการของกลุ่มจังหวัด ภูมิภาค เพื่อสนับสนุนภารกิจของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงานชุดต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ในปีงบประมาณที่ผ่านมาผลการดำเนินงานของกลุ่มจังหวัดสามารถแก้ไขปัญหาไปได้ประมาณร้อยละ 80 ส่วนในปีนี้การทำงานจะต้องไม่มีความซ้ำซ้อน และเกิดการแลกเปลี่ยนบุคลากรร่วมกัน และผลักดันงานในกลุ่มจังหวัดไปสู่เป้าหมายเดียวกัน

4. การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อเลื่อนเงินเดือนประจำปี จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้ โดยจะเริ่มเข้าสู่กระบวนการประเมินตามภายในสัปดาห์ที่ 2-4 ของเดือน แบบฟอร์มการประเมินมีเป้าหมายที่ชัดเจน สั้น กระชับ และมีกรอบการประเมินที่ชัดเจน

เลขาธิการสำนักงาน กฟก. ได้ชื่นชมและขอบคุณพนักงานทุกคนที่ร่วมกันทำงานจนเป็นไปตามเป้าหมาย สามารถใช้จ่ายงบกลางในส่วนของงานฟื้นฟูฯ และงานจัดการหนี้ฯ ได้ 100% ส่วนงบบริหารสำนักงานคืนสำนักงบประมาณ โดยเฉลี่ย 1.5% ซึ่งเกินมาตรฐานที่สำนักงบประมาณกำหนดไว้ ในปีงบประมาณ 2566 นี้ จะลงพื้นที่เพื่อพบปะให้กำลังใจพนักงานสาขาจังหวัดให้ครบทุกจังหวัด เพื่อรับทราบปัญหาในพื้นที่ไปด้วย

อ่านต่อ