วันที่ 4 เมษายน 2566 เวลา 16.00 น. ที่ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ชั้น 3 ทำเนียบรัฐบาล นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ครั้งที่ 1/2566

นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในฐานะเลขานุการเปิดเผยว่า ที่ประชุมมีวาระที่สำคัญดังนี้

เรื่องเพื่อทราบ 4 เรื่อง

• รายงานการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2566

• รายงานผลการดำเนินงานของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

• รายงานผลการดำเนินงานกรณีโครงการปรับโครงสร้างหนี้ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565

• บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เรื่องเสร็จที่ 1493/2565

เรื่องเพื่อพิจารณา 5 เรื่อง

• เห็นชอบให้คณะกรรมการจัดการหนี้ฯ ดำเนินการจัดการหนี้ได้ตามอำนาจหน้าที่ จำนวน 9,773 ราย 32,354 บัญชี มูลหนี้รวม 8,292,036,480.98 บาท

• เห็นชอบรายชื่อและอนุมัติซื้อทรัพย์ NPA คืนให้แก่เกษตรกร เพิ่มเติม ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 55 จำนวน 65 ราย จำนวนทรัพย์สิน 85 แปลง ยอดเงินรวม 86,194,185 บาท

• เห็นชอบแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวนเงิน 1,500,755,595 บาท เพื่อใช้ในการดำเนินงานของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรด้านการแก้ไขปัญหาหนี้ งบเพื่อการจัดการหนี้ของเกษตรกร

• เห็นชอบเปลี่ยนแปลงประเภทสถาบันเจ้าหนี้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน จากเดิมเป็นนิติบุคคลที่คณะกรรมการกำหนด เปลี่ยนเป็นสถาบันเกษตรกร

• เห็นชอบรายงานงบดุลแสดงฐานะการเงิน โดยมีคำรับรองของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และรายงานการปฏิบัติงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประจำปีงบประมาณ 2564

• เห็นชอบ (ร่าง) ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของกรรมการ เลขาธิการ ผู้ปฏิบัติงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. …

อ่านต่อ

วันอังคารที่ 14 มีนาคม 2566 ที่ประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล เวลา 16.00 น เลขาธิการนายกรัฐมนตรี (นายพีระพันธ์ สารีรัฐวิภาค) รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (นายไชยยศ จิราเมธากร) ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี (นายชื่นชอบ คงอุดม) และเลขาธิการสำนักงาน กฟก. (นายสไกร พิมพ์บึง) ร่วมรับกระเช้าดอกไม้และรับมอบแทนนายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) รองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน) เพื่อแสดงความขอบคุณรัฐบาลที่คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ให้เกษตร 50,621 ราย โดยเกษตรกรรับหนี้ ครึ่งหนึ่งของเงินต้น (50 % ของเงินต้น 15,442 ล้านบาท) คือ 7,721 ล้านบาท โดยทำสัญญาไม่เกิน 15 ปี ส่วนเงินต้นอีกครึ่งหนึ่ง คือ 7,721 ล้านบาท รวมดอกเบี้ยและค่าสูญเสียรายได้ของธนาคารทั้ง 4 แห่งจำนวน 7,760 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 15,481 ล้านบาท ให้ธนาคารขอชดเชยโดยเสนอคณะรัฐมนตรี อนุมัติเป็นปีๆไป ตามจำนวนเงินที่เกษตรชำระปิดบัญชีเงินต้นครึ่งแรกครบถ้วนแล้ว ก่อนเกษตรกรจากทั้ง 4 ภาคจากทั่วประเทศ ที่มาชุมนุมจะแยกย้ายเดินทางกลับภูมิลำเนา

อ่านต่อ

นที่ 15 ก.พ. 66 เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุมกรมการพัฒนาชุมชน นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. พร้อมด้วย นายสมศักดิ์ อยู่รอต รักษาการรองเลขาธิการสำนักงาน กฟก. และผู้อำนวยการสำนักฟื้นฟูฯ รองผู้อำนวยการสำนักฟื้นฟูฯ ประชุมหารือร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน โดยมี นายวิฑูรย์ นวลนุกูล รองอธิบดีกรมพัฒนาชุมชน นายสุขศักดิ์ แหล่งหล้า ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน และนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเกษตรกรสมาชิก กฟก. ที่เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 65 ให้ครบถ้วนตามกระบวนการที่ ครม.อนุมัติไว้

นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. เปิดเผยว่า “การหารือกับกรมการพัฒนาชุมชนในครั้งนี้ สืบเนื่องจากที่เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 65 ครม.มีมติเห็นชอบในหลักการโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กฟก. ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ได้แก่ ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน ธอส. และ SME Bank จำนวน 50,621 ราย ได้รับสิทธิปรับโครงสร้างหนี้ เมื่อเกษตรกรกลุ่มนี้เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว มติครม.ได้ระบุไว้ว่า ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประสานกับกระทรวงมหาดไทย คณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (คจพ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้เกษตรกรได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้สินของตนในกรอบการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมุ่งเป้าแต่ละครัวเรือน ซึ่งขณะนี้มีเกษตรกรยืนยันเข้าร่วมโครงการแล้วจำนวนกว่า 2 หมื่นราย และอยู่ในขั้นตอนเตรียมลงนามในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ฯ หากเกษตรกลุ่มนี้ปรับโครงสร้างหนี้แล้วก็จะต้องเข้าสู่กระบวนการตามที่ ครม.อนุมัติไว้ ซึ่งต้องทำงานเชื่อมโยงกับ พช. ที่เป็นหน่วยดูแลภารกิจเรื่องนี้”

สำหรับแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 347/2563 เรื่อง การจัดตั้งศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (คจพ.) เพื่อขจัดความยากจนและความเหลื่อมล้ำ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ มีหน่วยงานทุกภาคส่วนเป็นองค์ประกอบในคณะกรรมการ ทั้งภาคราชการ ภาคเอกชน องค์กรในระดับท้องถิ่น เป็นผู้ขับเคลื่อนงานให้เกิดประสิทธิภาพและสามารถช่วยเหลือประชาชนได้ทุกกลุ่ม โดยทาง พช.เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะ

ภายหลังจากที่มีการหารือแลกเปลี่ยนข้อมูลในเบื้องต้น ทำให้ทราบถึงกระบวนการทำงาน และเห็นช่องทางที่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมเป็นองค์ประกอบของคณะกรรมการของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจน สำหรับแนวทางการเข้าไปมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่นั้นจะต้องนำเสนอโดย พช. และ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อร่วมกันพิจารณาเพิ่มเติมองค์ประกอบคณะกรรมการ ในส่วนของ กฟก. จะมีหนังสือประสานกับท่านอธิบดี พช. ในฐานะเลขานุการคณะ เพื่อพิจารณาประสานต่อฝ่ายนโยบายตามลำดับขั้นตอน และจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การทำงานร่วมกันต่อไปด้วย ทั้งนี้ พช. พร้อมประสานกับทุกหน่วยงานเพื่อให้เกิดการทำงานบูรณาการร่วมกัน

อ่านต่อ

วันที่ 7 ก.พ. 66 ที่โรงแรมทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น กทม. นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน โดยมีรองเลขาธิการ ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขาภูมิภาค 1-4 รองผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าส่วน หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดกลุ่มบูรณาการ พนักงานอาวุโส ผู้เข้าร่วมจำนวน 140 คน
นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. กล่าวในพิธีเปิดการอบรมว่า “การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ระหว่างวันที่ 7-8 ก.พ. 66 มีจุดประสงค์สำคัญคือ ต้องการให้ผู้ปฏิบัติงานทุกสำนัก ทุกสาขา ที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้กับกรมบัญชีกลาง ที่มี Tris เป็นผู้ประเมิน ซึ่งหัวใจหลักอีกด้านที่สำนักงานต้องเร่งทำความเข้าใจให้ทุกส่วนเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน คือ เรื่องการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน เพราะในปีที่ผ่านมา กฟก. ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ อีกทั้งหลักเกณฑ์ด้านนี้จะช่วยลดปัญหาที่เกิดจากความเสี่ยงด้านปัญหาหนี้สิน การฟื้นฟูอาชีพ และการบริหารสำนักงานทุกด้าน ทำอย่างไรให้งานสู่เป้าที่กำหนด และมีความเสี่ยงน้อยลง หรือสามารถควบคุมความเสี่ยงได้ดีขึ้น โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร คุณวรรณฤดี มันโยทัย ผอ.ฝ่ายจากบริษัท ทริสคอร์ปอเรชัน จำกัด ที่เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญโดยตรงมาให้ความรู้และร่วมทำเวิร์คชอปไปใช้ในการปฏิบัติจริงเชื่อว่าการอบรมในครั้งนี้จะเป็นเครื่องมือให้ผลการประเมินทุนหมุนเวียนในปีต่อไปสูงขึ้นและทุกท่านได้ความรู้นำไปใช้ให้งานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด”
สำหรับเนื้อหาการอบรม ในช่วงเช้าเป็นเรื่องแนวคิดและความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง เกณฑ์การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน โดย ผอ. ฝ่ายจากบริษัท ทริสคอร์ปอเรชัน จำกัด ช่วงบ่ายมีการแบ่งกลุ่มย่อยทำ Workshop ในหัวข้อการกำหนดวัตถุประสงค์ การระบุความเสี่ยง กระบวนการความเสี่ยง การประเมินระดับความรุนแรง การตอบสนองความเสี่ยง การวิเคราะห์แผนบริหารความเสี่ยง และปิดการอบรมในวันแรก เวลา 17.00 น. ซึ่งบรรยากาศในการอบรมในวันนี้เต็มไปด้วยความรู้และสาระที่เข้มข้น

อ่านต่อ

วันที่ 8 ก.พ. 66 ที่โรงแรมทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวนชัน กรุงเทพ
วันที่ 2 ของการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจากทุกส่วนงานของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเข้าร่วมจำนวนประมาณ 140 คน
ในช่วงเช้า เวลา 8.30 น. เป็นเนื้อหาต่อเนื่องจากการแบ่งกลุ่มย่อยจากการทำ WorkShop ที่ได้มีการระดมความคิดเห็นนำมาประมวลผลเป็นประเด็นสำคัญในหัวข้อการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง โดยได้มีการจำแนกปัญหาที่สำคัญตามระดับความเสี่ยง เพื่อนำมาทำแผนบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในให้ตรงประเด็นและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานของสำนักงาน นำไปสู่การกำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละด้านให้ชัดเจน และแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในช่วงบ่าย เวลา 15.30 น. นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการ สำนักงาน กฟก. ได้กล่าวปิดเวทีการอบรมว่า “สิ่งที่ได้จากการอบรมในครั้งนี้ เป็นทิศทางที่สำคัญที่จะช่วยให้ กฟก. กำหนดแผนบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ปัญหาที่ทุกคนมองเห็นจากการกลั่นกรองจะนำไปสู่การทำแผนเพิ่มลดความเสี่ยง ร่วมกันหาวิธีการให้ กฟก. แก้ปัญหาได้ตรงจุด อะไรที่เป็นความเสี่ยงก็ช่วยกันลดจุดบอด อุดรูรั่วให้ความเสี่ยงเรื่องนั้นอยู่ในเกณฑ์ความเสี่ยงในระดับที่รับได้ คาดหวังว่าปีนี้คะแนนการประเมินทุนหมุนเวียนของ กฟก. จะได้รับคะแนนสูงขึ้นตามที่ทุกคนตั้งเป้าไว้
ในนามสำนักงาน กฟก. ขอขอบคุณคณะวิทยากรทุกท่าน ดร.สังคม คุณคณากรสกุล ดร.ดารินทร์ กำแพงเพชร อาจารย์อุทัย อัตถาพร และคุณวรรณฤดี มันโยทัย ผอ.ฝ่ายจากบริษัท ทริส คอร์ปอเรชัน จำกัด ที่ให้ความรู้และแนะนำแนวทางให้ กฟก. สามารถจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในให้เป็นไปตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้

อ่านต่อ

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2666 ที่โรงแรมอีโค่ โคซี่ บีชฟร้อนท์ รีสอร์ท เพชรบุรี นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. เป็นประธานเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติงานภายใต้ระเบียบและแนวทางปฏิบัติที่ปรับปรุงเพิ่มเติม โดยมี รองเลขาธิการ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้าส่วนทุกส่วน หัวหน้าสำนักงานสาขาทุกจังหวัด เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้กว่า 100 คน

นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. ได้มอบนโยบาย 5 ด้าน ต่อหัวหน้าสำนักงาน ว่า “ภายใต้ภารกิจตามกฎหมายของกองทุนฟื้นฟูฯ นั้น มีหน้าที่สำคัญในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรกว่า 5 ล้านคน ภารกิจที่จำเป็นเร่งด่วนทั้งในขณะนี้และเป็นแผนการทำงานในปี 67 คือ

1. เรื่องการสะสางฐานข้อมูลด้านทะเบียนองค์กรและทะเบียนหนี้ให้มีความเป็นปัจจุบันและถูกต้อง ทันสมัย เพราะจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. คณะอนุกรรมการระดับจังหวัด ให้ทุกสาขาจังหวัดเร่งประมวลและรวบรวมกลุ่มไลน์อนุกรรมการจังหวัดแต่ละจังหวัด เพื่อให้เกิดการสื่อสารที่รวดเร็วและทั่วถึง อำนวยความสะดวกให้การทำงานในพื้นที่มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

3. การดำเนินงานในระดับพื้นที่ ได้มีการแบ่งเขตบูรณาการกลุ่ม เพื่อขับเคลื่อนงานที่ติดค้าง มีปัญหาให้ได้รับการแก้ไข มีสำนักกิจการสาขาจังหวัด และสำนักงานใหญ่ทุกส่วนงาน เป็นหน่วยประสานงานและให้ความช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกในทุกด้าน

4. บทบาทหน้าที่ของกฎหมาย ได้มอบนโยบายกับสำนักกฎหมาย ให้มีโครงการนิติกร ซึ่งเป็นกระบวนการบริหารทางหลักนิติศาสตร์ นำมาช่วยเหลือเกษตรกรที่มีปัญหาเรื่องข้อกฎหมาย

5. งานด้านการตรวจสอบ เป็นการตรวจสอบเพื่อป้องกัน แนะนำ นิเทศน์ให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับทราบและแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศที่เกี่ยวข้อง

หลังจากนั้นรองเลขาธิการสำนักงาน กฟก. นายสมยศ ภิราญคำ และผู้อำนวยการสำนักบริหาร ได้ชี้แจงเรื่องการดำเนินงานตามแผนงานประจำปี 2566 และการดำเนินงานภายใต้ตัวชี้วัดผล 5 ด้านของ กฟก. ที่ประเมินโดย Tris ปิดท้ายเนื้อหาการอบรมด้วยผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบ ในประเด็นเรื่องมุมมองการดำเนินงานด้านการตรวจสอบภายในของสำนักงานสาขาจังหวัด โดยบรรยากาศในวันแรกเต็มไปด้วยความคึกคัก

อ่านต่อ

วันที่ 31 ม.ค. 66 นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. เปิดเผยถึงกรณีความคืบหน้าเรื่องการขอจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 งบกลาง และงบประมาณประจำปี 2567 ว่า “วันนี้สำนักงานได้มีหนังสือนำเรียนรองนายกรัฐมนตรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานกรรมการ กฟก. และที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ดร.เสกสกล อัตถาวงศ์ เรื่อง การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองรายจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 2,915 ล้านบาท และการขอรับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 เป็นเงิน 7,480 ล้านบาท เพื่อนำมาดำเนินงานตามภารกิจหลัก 2 ด้านตามภารกิจของ พรบ.กฟก. ได้แก่ ภารกิจด้านการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ และด้านการจัดการหนี้ของเกษตรกร โดยได้ยื่นเรื่องผ่านสำนักงบประมาณ และนำเรียนเสนอรองนายกจุรินทร์ และที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ดร.เสกสกล เพื่อนำเรียนประสานนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรได้รับงบประมาณตามที่เสนอไว้

สำหรับงบประมาณที่สำนักงานได้ยื่นเสนอขอผ่านสำนักงบประมาณทั้ง 2 รายการนั้น ประกอบด้วย งบรายจ่ายประจำปี 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองรายจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 2,915 ล้านบาท แบ่งเป็น งบเพื่อการจัดการหนี้ฯ จำนวน 1,915 ล้านบาท งบเพื่อการฟื้นฟูฯ จำนวน 1,000 ล้านบาท และงบประมาณารายจ่ายประจำปี 2567 ได้เสนอขอให้จัดสรร วงเงิน 7,478,315,964 ล้านบาท โดยหลังจากนี้สำนักงานจะเร่งประสานงานติดตามความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยรองนายกรัฐมนตรีจุรินทร์ และ ดร.เสกสกล ยืนยันจะผลักดันให้กองทุนฟื้นฟูฯ ได้รับงบประมาณในการช่วยเหลือเกษตรกรต่อไปอย่างแน่นอน

อ่านต่อ

วันที่ 27 ม.ค. 66 ที่อาคารนิทรรศการจตุรมุข อุทยานเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงานวันเกษตรภาคอีสาน ปี 2566 ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมเกษตรอีสาน มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 31 นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการ ร่วมพิธีเปิดพร้อมกับ นายประยงค์ อัฒจักร ผอ.ภาค3 นายวิญญู สะตะ ผอ.สำนักฟื้นฟูฯและคณะกรรมการส่งเสริมการตลาด องค์กรเกษตรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ร่วมเปิดงานอย่างประทับใจ

ในงานนี้สำนักงานกิจการสาขาภูมิภาคที่ 3 ได้จัดนิทรรศการจัดตลาดสินค้าองค์กรเกษตรกร จำนวน 24 องค์กร มาจัดแสดง และตลาด สินค้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

ทั้งนี้เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ภารกิจ บาทบาทหน้าที่ และภาพลักษณ์ขององค์กร รวมไปถึงการสร้างภาคีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อสานต่องานให้บรรลุเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ได้มีโอกาสเข้าร่วมจัดแสดงสินค้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรกรที่มีความหลากหลายในแต่ในพื้นที่จังหวัด พร้อมทั้งศึกษาเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ ๆ ในด้านการผลิต คุณภาพ การเผยแพร่ และช่องทางการกระจายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ให้เข้าถึงผู้บริโภคทั้งทางตรงและทางอ้อม

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนหาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สืบสานพระราชปณิธานภายใต้ร่มพระบารมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ในการนำศาสตร์พระราชามาพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน และเผยแพร่ถ่ายองค์ความรู้ทางการเกษตรและเทคโนโลยีการเกษตรสู่ชุมชน และเพื่อตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลว่าด้วย การตลาดนำการผลิต เรื่องการเกษตรสู่ยุค Thailand 4.0

โดยมีกิจกรรมภายในงาน ได้แก่ นิทรรศการแสดงความก้าวหน้าและนวัตกรรมของเทคโนโลยีทางการเกษตรจากหน่วยงานทางการเกษตร การเสวนาและฝึกอบรมอาชีพทางด้านการเกษตร การแสดงนวัตกรรมเครื่องจักรกลทางการเกษตร ตลอดไปจนถึงกิจกรรมการประกวดแข่งขันอื่นๆทางการเกษตร กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 มกราคม – 5 กุมภาพันธ์ 2566 รวม 10 วัน ที่อุทยานเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อ่านต่อ

วันที่ 27 ม.ค. 66 ที่ห้องประชุมชั้น 3 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้มีการประชุมหารือร่วมกัน 4 ฝ่าย ประกอบด้วย ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ตัวแทน 4 แบงก์รัฐ ผู้บริหารกองทุนฟื้นฟูฯ และนายชื่นชอบ คงอุดม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี โดยการหารือครั้งนี้สืบเนื่องจากกลุ่มเกษตรกรสมาชิกกองทุนฯ ได้มาติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง จำนวน 50621 ราย ซึ่งได้สิทธิ์ปรับโครงสร้างหนี้ ตามมติ ครม. 22 มี.ค. 65 ซึ่งปัจจุบันยังมิได้ดำเนินการทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ แม้แต่รายเดียว ทั้งที่ ครม. ได้มีมติให้ดำเนินการเรื่องนี้มานานกว่า 9 เดือนแล้ว

ดังนั้นเพื่อเป็นการทำความเข้าใจ ร่วมกันทั้ง 4 ฝ่ายและนำไปสู่การดำเนินโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มีการหารือร่วมกับหน่วยงาน และผู้เกี่ยวข้อง โดยมี นายชื่นชอบ คงอุดม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ประธานการหารือ ผลการหารือสรุปดังนี้

1. ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง และผู้เกี่ยวข้อง รับทราบความคืบหน้าและผลการอนุมัติของคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ซึ่งเห็นชอบให้เกษตรกรปรับโครงสร้างหนี้ทุกสัญญาเป็นรายบุคคล และเห็นชอบกำหนดกรอบวงเงินชดเชยในส่วนที่เกษตรกรไม่ต้องรับภาระหนี้ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติกรอบวงเงินชดเชยให้กับเจ้าหนี้

2. เกษตรกรที่ได้สิทธิ์ปรับโครงสร้างหนี้ ที่มารายงานตัวแล้ว 22,079 ราย สามารถเข้าทำการปรับโครงสร้างหนี้ได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้ครม.อนุมัติเงินชดเชย

3. ให้สำนักงาน กฟก. เชิญผู้แทนธนาคารของรัฐ 4 แห่ง โดยให้ธนาคารของรัฐนำ (ร่าง) สัญญาปรับโครงสร้างหนี้ที่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 มาร่วมหารือกัน ในวันจันทร์ที่ 30 มกราคม 2566 เวลา 10.00 น.

ทั้งนี้ ให้สำนักงาน กฟก. ดำเนินการเชิญประธานที่ประชุม คณะทำงานที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนธนาคารรัฐ 4 แห่ง เข้าร่วมหารือรูปแบบเนื้อหาการทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าวให้ได้ข้อยุติ เพื่อที่จะได้นำความคืบหน้านำเรียนต่อนายกรัฐมนตรีทราบต่อไป

อ่านต่อ