วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564  นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นายไชยยศ จิรเมธากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง พบเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรกว่า 5,000 คน ที่บริเวณหน้ากระทรวงการคลัง กรุงเทพมหานคร เพื่อรับฟังปัญหาความเดือดร้อนกรณีสมาชิกเป็นหนี้สถาบันการเงินของรัฐ โดยประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้รับทราบปัญหาดังกล่าวและพร้อมเร่งผลักดันนโยบายแก้ปัญหาหนี้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกร  และรองนายกรัฐมนตรีจุรินทร์ ได้มอบหมายให้ตัวแทน กฟก. นายศรายุทธ ยิ้มยวน ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารฯ กฟก.  นายสไกร พิมพ์บึง รองเลขาธิการรักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ กฟก. นายยศวัจน์  ชัยวัฒนสิริกุล ตัวแทนกลุ่มเกษตรกร สกท. และผู้แทนสมาคมธนาคารไทยหารือกันเพื่อหาทางออกในการแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร โดยมีผู้แทนกระทรวงการคลัง ร่วมรับฟังด้วย ซึ่งที่ประชุมที่มีมติ ดังนี้

1. กรณีหนี้ 4 แบงค์รัฐ เกษตรกรจะรอฟังผลการประชุมของบอร์ด ธ.ก.ส. ในวันที่ 24 ก.พ. 2564 นี้ ว่าจะเป็นไปตามที่กลุ่มเกษตรกรเรียกร้องหรือไม่ ถ้าเป็นไปข้อเสนอเกษตรกรก็จะเดินทางกลับบ้าน แต่ถ้ามติบอร์ด ธ.ก.ส. ไม่ได้ตามที่เรียกร้อง เกษตรกรจะยังอยู่ต่อเพื่อเจรจาหาทางออกกับเจ้าหนี้ต่อไป

2. กรณีหนี้ธนาคารพาณิชย์ ภายใต้สมาชิกสมาคมธนาคารไทย ประเด็นหนี้เกิน 2.5 ล้านบาท เห็นควรหารือร่วมกัน 3 ฝ่าย ( กฟก./เจ้าหนี้/สมาคมฯ) เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ซื้อหนี้ร่วมกัน ในวันที่ 5 มี.ค.นี้

อ่านต่อ

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 นายสไกร พิมพ์บึง รองเลขาธิการ รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พร้อมด้วย นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการ นายกมล ศักดิ์ประสิทธิ์ ที่ปรึกษา และผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้างทุกคน ร่วมประกาศเจตนารมณ์การต่อต้านการทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ณ ห้องประชุมชั้น 3 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยมีสำนักงานสาขาจังหวัดทั่วประเทศร่วมกล่าวประกาศเจตนารมณ์ผ่านระบบ  Web Conference ไปพร้อมกันด้วย

การจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนคุณธรรมและความโปร่งในในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ตามแนวทางที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กำหนด โดยสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรประกาศว่าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถด้วยหลักธรรมาภิบาล และยืนยัดต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ

อ่านต่อ

ตามที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มีภารกิจเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สิน และฟื้นฟูอาชีพให้กับเกษตรกรสมาชิกที่มีอยู่ทั่วประเทศกว่า 5 ล้านคนนั้น

โดยในภารกิจด้านการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ ได้เปิดให้กลุ่มองค์กรเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ยื่นเสนอแผนหรือโครงการ เพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนและพัฒนาอาชีพ ตามที่คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรได้อนุมัติงบประมาณ และคณะกรรมการบริหาร นำโดยนางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ประธานกรรมการบริหาร พิจารณาจัดสรรงบประมาณลงสู่กลุ่มองค์กรเกษตรกรสมาชิกที่ยื่นเสนอของบประมาณสนับสนุนอาชีพ และภายใต้การอนุมัติงบประมาณดังกล่าว จึงได้จัดให้มีเวทีพิจารณาอนุมัติแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรของคณะกรรมการบริหาร

 สำหรับเวทีแรกในครั้งนี้ นายสำเริง ปานชาติ รองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 2 พร้อมด้วยนายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการ นายประยงค์ อัฒจักร ผู้อำนวยการสำนักฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พนักงานสำนักฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร อนุกรรมการจังหวัด ร่วมกันกลั่นกรองแผนและโครงการที่องค์กรเกษตรสมาชิกยื่นเสนอผ่านสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัด ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ​ ยโสธร​ สุรินทร์​ อุบลราชธานี​ บุรีรัมย์​ อำนาจ​เจริญ​ และมุกดาหาร​

เวทีในครั้งนี้จัดขึ้น ณ โรงแรมศรีลำดวน จังหวัดศรีสะเกษ กำหนดจัดเวทีระหว่างวันที่ 15-19 กุมภาพันธ์ 2564 ผลการพิจารณากลั่นกรอง จะนำเสนอคณะกรรมการบริหารฯ พิจารณาต่อไป

อ่านต่อ

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 นายประเทือง นรินทรางกูล ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 1 (ภาคเหนือ) ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดเชียงใหม่ เข้าร่วมประชุมพัฒนาแผนและโครงการฟื้นฟูฯ ณ วัดน้ำแรม ต.ห้วยไร่ อ.เด่นชัย จ.แพร่ ร่วมกับเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดแพร่ ตามที่มีองค์กรเกษตรกรได้ยื่นเสนอแผนเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนพัฒนาอาชีพ ตามแผนของสำนักงานสาขา เพื่อขออนุมัติงบประมาณสนับสนุนอาชีพให้กับสมาชิก

อ่านต่อ

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2564 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดยะลา ได้ดำเนินการโอนหลักทรัพย์ค้ำประกันคืน กรณีปิดบัญชีและไถ่ถอนหลักประกันคืนเกษตรกรสมาชิก จำนวน 1 ราย คือนาย มานพ รัตนโชติ จำนวน 2 แปลง รวมเนื้อที่ 1ไร่ 80 ตารางวา ณ สำนักงานที่ดินสาขายะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

เกษตรกรรู้สึกดีใจและปลื้มใจเป็นอย่างมากที่ได้รับการช่วยเหลือจาก กฟก.ให้หลุดพ้นจากภาระหนี้ และได้หลักทรัพย์คืน นำมาเป็นแหล่งทำมาหากินสร้างรายได้ให้กับครอบครัวอีกครั้ง และนับเป็นความภาคภูมิใจของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดยะลา ที่ได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือและดูแลทรัพย์สินของเกษตรกรสมาชิกให้มีที่ดินทำกินส่งต่อให้รุ่นลูกรุ่นหลานต่อไปอีกด้วย

อ่านต่อ

วันที่ 27 มกราคม 2564 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) ได้ลงพื้นที่ประชุมร่วมกับองค์กรเกษตรกรจำนวน 4 องค์กร ดังนี้

1.กลุ่มพัฒนาสตรีบ้านหนองยาว ตำบลเวียง อำเภอเวียงป่าเป้า จ.เชียงราย

2.กลุ่มเกษตรกรบ้านหนองยาว ม.4 ต.เวียง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย

3.กลุ่มเกษตรก้าวไกลร่วมใจพัฒนา ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

4.กลุ่มเกษตรกรพัฒนา ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

เพื่อชี้แจงหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณาอนุมัติแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาการเกษตรกร เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบต่างๆที่คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และคณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประกาศกำหนด รวมถึงขั้นตอนการเสนอแผนหรือโครงการฯ วิธีการเสนอโครงการฯ การพิจารณาอนุมัติโครงการฯ การดำเนินการ และการติดตามประเมินผลโครงการฯ ให้กับสมาชิกองค์กรเกษตรกรได้รับทราบโดยทั่วถึงกัน

ทั้งนี้ องค์กรเกษตรกรที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรแล้ว สามารถขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยการจัดทำแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เสนอต่อสำนักงานหรือสำนักงานสาขาจังหวัดที่เป็นที่ตั้งขององค์กรเกษตรกร และให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการบริหารฯกำหนด โดยให้เกษตรกรแต่ละรายจัดทำข้อมูลรายบุคคลยื่นเสนอต่อองค์กรเกษตรกรต้นสังกัด ตามแบบที่สำนักงานกำหนด ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ชั้น 1

อ่านต่อ

วันที่ 28 มกราคม 2564 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ครั้งที่ 4/2564 ณ ห้องประชุมชั้น 5 โดยมีนางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท เป็นประธาน

นายสไกร พิมพ์บึง รองเลขาธิการ รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ กฟก. ในฐานะเลขานุการคณะ สรุปประเด็นการประชุมว่าที่ประชุมได้มีการพิจารณากลั่นกรองแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรขององค์กรเกษตรกร จำนวน 12 องค์กร จาก 12 จังหวัด โดยในเบื้องต้นคณะกรรมการได้มีข้อเสนอแนะให้องค์กรเกษตรกรปรับปรุงแผนและโครงการเพื่อนำเสนอที่ประชุมในคราวต่อไป และมีมติเห็นชอบ (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เรื่อง แนวทางการอนุมัติโครงการหรือแผนงานโครงการพื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรในอำนาจหน้าที่เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

อ่านต่อ

นายสไกร พิมพ์บึง รองเลขาธิการ รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เปิดเผยว่า ตามที่องค์กรเกษตรกรได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 ในมาตรา 31 องค์กรเกษตรกรมีสิทธิขอรับการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยให้ทำแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรยื่นต่อสำนักงานหรือสำนักงานสาขาจังหวัดที่เป็นที่ตั้งขององค์กรเกษตรกร และมาตรา 37/9 เกษตรกรที่ได้รับการจัดการหนี้จะต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ โดยในปีงบประมาณ 2563 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2563 มีองค์กรเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้ยื่นเสนอแผนหรือโครงการแล้ว จำนวน 1,538 องค์กร งบประมาณรวม 8,033,522,789 บาท

โดยเฉพาะในวันที่ 24-25 ธันวาคม 2563 ได้มีองค์กรเกษตรกรยื่นเสนอแผนหรือโครงการตามระเบียบใหม่    ที่คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรได้มีมติเห็นชอบระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วย การพิจารณาแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร การติดตามและประเมินผลการดำเนินการ การเบิกจ่ายเงิน และการใช้คืนเงินให้แก่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2563 ไปเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2563 จำนวน 168 องค์กร เป็นเงินงบประมาณ 6,292,308,563 บาท โดยแยกเป็น ภาคเหนือ 62 องค์กร งบประมาณ 2,287,237,222 บาท ภาคกลาง 36 องค์กร งบประมาณ 1,135,890,741 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 62 องค์กร งบประมาณ 2,860,622,329 บาท และภาคใต้ 8 องค์กร งบประมาณ 8,558,271 บาท

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจะดำเนินการพิจารณาแผนหรือโครงการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เบื้องต้นมีงบประมาณเพื่อใช้ในการฟื้นฟูอาชีพให้เกษตรกรอยู่ 340 ล้านบาท จะอนุมัติให้หมดภายในไตรมาส 2 ปีงบประมาณ 2564 นี้ อย่างไรก็ตามสำนักงานได้จัดทำแผนของบกลางเพิ่มเติมสำหรับการฟื้นฟูอาชีพ จำนวน 3,290 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ ดังนั้นองค์กรเกษตรกรสามารถยื่นเสนอแผนหรือโครงการได้ ณ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดอันเป็นที่ตั้งขององค์กรได้ หากเกษตรกรต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการขึ้นทะเบียนองค์กร การยื่นเสนอแผนหรือโครงการ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดทั่วประเทศ ในเวลาราชการ  08.30 น. – 16.30 น. นายสไกรกล่าว

อ่านต่อ

วันที่ 22-23 ธันวาคม 2563 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดยโสธร โดยนางนุชฎา จำเริญสาร หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดยโสธร ได้ทำการโอนหลักประกันคืนให้กับเกษตรกรสมาชิกที่ขอชำระหนี้ปิดบัญชี เพื่อไถ่ถอนหลักประกันคืน จำนวน 3 ราย คือ 1.นางจำนง สายเสมา (ผู้จัดการมรดกนายบุญมี สายเสมา) 2.นายปฐมภัทร คำดี (ผู้จัดการมรดกนายสวัสดิ์ คำดี) 3.นายนิคม โสมาบุตร หลักประกันจำนวน 3 แปลง เนื้อที่รวม 59 ไร่ 2 งาน 18 ตารางวา ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดยโสธร สาขา เลิงนกทา และสำนักงานที่ดินจังหวัดยโสธร

นับเป็นความภาคภูมิใจของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดยโสธร ที่ได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือและดูแล ทรัพย์สินของเกษตรกรสมาชิกให้มีที่ดินทำกินส่งต่อให้รุ่นลูกรุ่น หลานต่อไป

อ่านต่อ

กฟก.ลพบุรี ประชุมอนุฯ จังหวัดนอกสถานที่ พร้อมลงพื้นที่เยี่ยมชมแปลงเกษตร        

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2563  สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรสาขาจังหวัดลพบุรี โดยนางนัทธมน จันทร์ฤกษ์ หัวหน้าสำนักงาน พร้อมพนักงานเจ้าหน้าที่ ได้จัดประชุมคณะอนุกรรมการจังหวัด ครั้งที่ 6/2563 นอกสถานที่ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะค่า อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี โดยได้รับเกียรติจากนายจิรศักดิ์ ติณสุวรรณ นายอำเภอโคกเจริญ และนายกิตติพล ตะพานแก้ว ผู้แทนเกษตรกรภาคกลางจังหวัดลพบุรี เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย  

สำหรับสถานที่ประชุมในครั้งนี้ ได้รับความอนุเคราะห์ด้านสถานที่ในการจัดประชุมจากนายพงษ์ณริณ ใจหาญ นายก อบต.หนองมะค่า และเป็นอนุกรรมการจังหวัดลพบุรี การประชุมในครั้งนี้ ได้มีการเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์และแปลงทำเกษตรของเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อให้การสนับสนุนงบประมาณด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรให้กับกลุ่มองค์กรในพื้นที่ ทั้งนี้ตำบลหนองมะค่า อำเภอโคกเจริญ มีพื้นที่เขตติดต่อกับจังหวัดเพชรบูรณ์ มีสภาพเหมาะสมแก่การทำเกษตรด้านพืชและสัตว์  มีกลุ่มเสนอแผนโครงการ จำนวน 2 องค์กร โดยมีการปลูกอโวคาโด พุทราสามรส และมะขามเทศ

อ่านต่อ