สืบเนื่องจากกระบวนการมีส่วนร่วมการแก้ไขปัญหาหนี้สิน โดยจำนวนเกษตรกรสมาชิกมูลนิธิเกษตรกรไทย 3,665 ราย ที่ได้รับการช่วยเหลือเสร็จสิ้น โดยงดคิดดอกเบี้ยปรับเป็นระยะเวลา 1 ปี ฤดูกาลผลิต 1 เมษายน 2537-31 มีนาคม 2538 แล้วการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิและแกนนำ 6 อำเภอ มีข้อสรุปว่าแก้ไขปัญหาโดยลำพังมูลนิธิเกษตรกรไทย เท่าที่ผ่านมาได้ข้อสรุปเป็นบทเรียนคือ การต่อสู้เพื่อสิทธิขอเกษตรกรบนพื้นฐานของการสูญเสียของอีกฝ่ายหนึ่ง แม้จะเป็นพลังบริสุทธิ์ มุ่งเป้าที่ปัญหาเป็นที่ตั้ง กว่าจะประสบผลสำเร็จ ต้องเผชิญกับปัญหานานับประการ และการสูญเสีย ขณะที่ภาคอีสานมีองค์กรของเกษตรกรจำนวนมากที่กำลังต่อสู้เพื่อปัญหาของเกษตรกร จึงเห็นชอบเชิญองค์กรที่มีหลักยึดอุดมการณ์ร่วมกันสร้างพันธมิตร ยึดปัญหาเป็นที่ตั้ง แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง

       พระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2542 (รก.2542/39ก/13/18 พฤษภาคม 2542) และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ คือ วันที่ 19 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นไป เกิดปรากฏการณ์ใหม่ขึ้นในสังคมไทย โดยเฉพาะในภาคอีสานคือการรับรู้ถึงกฎหมายฉบับนี้ของเกษตรกรมีมากกว่าส่วนราชการ หรือกลุ่มอื่นๆ มีทั้งพฤติกรรมความเห็นแย้งและการโต้ตอบจากกลุ่มที่ติดตามไม่เท่าทันความเคลื่อนไหว และกลุ่มที่เข้าใจกันเห็นประโยชน์ ต้องการใช้กฎหมายฉบับนี้ ซึ่งค่อนข้างเกื้อประโยชน์ต่อเกษตรกรอันเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น มีพรรคการเมืองบางพรรคถึงกับการนำเสนอเป็นนโยบายพรรค “เพิ่มเงินกองทุนฟื้นฟูและการพัฒนาเกษตรกรปีละ 50,000 ล้าน” เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดี หากฝ่ายการเมืองให้ความสนใจเรื่องของเกษตรกร เช่นเดียวกับ เรื่องของกองทุนฟื้นฟู ขณะนี้อาชีพเกษตรกรรมอันเป็นหลักค้ำยันประเทศคงไม่พัฒนาจนล้าหลังขนาดนี้ อย่างไรก็ดีหลังกฎหมายประกาศมีผลบังคับใช้มีกระบวนการดำเนินตามกฎหมายและความเคลื่อนไหวต่างๆ มากมาย

       1. ปฏิญญา 5 องค์กรสถาบันเกษตรอีสาน
       องค์กรสถาบันเกษตรกรอีสาน ประกอบด้วย

      
  • มูลนิธิเกษตรกรไทย
  • ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรขอนแก่น จำกัด
  • สมัชชาเกษตรรายย่อยภาคอีสาน
  • สหพันธ์สหกรณ์การเกษตรภาคอีสาน
  • ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรชาวไร่อ้อย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้มีปริญญาร่วมกัน ณ วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2539 คือ

               –  ประสานพลังเพื่อพัฒนาสถาบันและเกษตรกรอีสาน ให้มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมอาชีพอื่น
               –  ผลักดันนโยบายและแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการแก้ปัญหาของเกษตรกร(เอกสารประกอบ 1)

     2.จุดเริ่มต้นกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตร
     การประชุมร่วมระหว่างส่วนราชการและมูลนิธิเกษตรกรไทย วันที่ 26 ธันวาคม 2539 ณ สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น (นายธวัช เสถียรนาม) เป็นประธานที่ประชุมประกอบด้วย นักวิชาการ ผู้ชำนาญการด้านชลประทาน อุตสาหกรรมขนาดย่อม สหกรณ์ ธกส. และผู้แทนมูลนิธิ โดยมีประเด็นหารือ คือ เกษตรกรที่ได้รับการผัดผ่อนหนี้แล้วข้างต้นจะส่งเสริมให้มีการสร้างรายได้อย่างไร จึงจะมีการชำระหนี้ที่ค้างได้ และเกษตรกรที่ไม่ได้รับการช่วยเหลือแต่อยู่ในเงื่อนไขที่ต้องให้การช่วยเหลือ จะทำอย่างไร การแลกเปลี่ยนในที่ประชุมเห็นว่าควรมีโครงการนำร่องพิเศษฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร ในพื้นที่ 6 อำเภอ เพื่อส่งเสริมอาชีพที่ยั่งยืนทั้งในภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตร โดยมีส่วนร่วมของเกษตร ภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา แต่ที่ประชุมไม่มีข้อยุติทางเลือกเนื่องจากมิใช่ฝ่ายนโยบายแลไม่มีอำนาจหน้าที่

       วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2539 มูลนิธิเกษตรกรไทย ได้เสนอโครงการฟื้นฟูชีวิตเกษตรกร 6 อำเภอจังหวัดขอนแก่น ต่อ ฯพณฯ ขอนแก่น เพื่อร่วมประชุมกับคณะกรรมการร่วมสถาบันเกษตรอีสานที่ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่น โดยมีโครงการฟื้นฟูชีวิตเกษตรกร จะมีเกษตรกรได้รับผลประโยชน์จากโครงการ จำนวน 37,542 คน แต่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรจากนายกรัฐมนตรี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ในขณะนั้น

      3.กระบวนการขับเคลื่อนกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตร พ.ศ. 2540
     
23 มกราคม 2540 เกิดแนวร่วมสถาบันเกษตรกรภาคอีสาน ซึ่งแปรสภาพ 5 องค์กร สถาบันเกษตรกรอีสานเหลือ 3 องค์กร คือ

      
  • มูลนิธิเกษตรกรไทย
  • สหกรณ์การเกษตรขอนแก่น จำกัด
  • ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรชาวไร่อ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

       ได้ยื่นข้อเรียกร้อง ต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ผ่านรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายชิงชัย มงคลธรรม ประเด็นที่สำคัญ คือ

      1. ให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ที่ผูกพันอยู่กับ ธกส. ทุกสัญญาเงินกู้ อย่างมีเหตุผล

      2. ให้รัฐบาลจัดทำโครงการฟื้นฟูชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น โดยวิธีการสหกรณ์อย่างจริงจังและปรากฏผลโดยทันที

     3. ให้แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อแก้ปัญหาข้างต้นโดยมีผู้แทนเกษตรกรมากกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการ* ข้อเรียกร้องถึงรัฐบาลแล้วผลสะท้อนคือปฏิกิริยาความเงียบ

        การชุมนุมใหญ่ ครั้งที่ 1 : สำนักงานเกษตร ต.ท่าพระ จ.ขอนแก่น
       24 มีนาคม 2540 มูลนิธิเกษตรกรไทย เป็นแกนนำในแนวร่วมสถาบันเกษตรกรภาคอีสาน (นกอ.) จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีที่บริเวณสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดขอนแก่น ต.ท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีสมาชิกร่วมประชุมประมาณ 90,000 คน และได้มี ฯพณฯ นายชิงชัย มงคลธรรม มาร่วมบันทึกข้อตกลงในฐานะตัวแทนรัฐกับผู้แทน นกอ. โดยมีสาระคือ

     1. รัฐบาลสั่งการแขวนหนี้เกษตรกร งดเรียกเก็บทั้งต้น และดอกเบี้ย โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2540 และให้ขยายผลมติ ครม. วันที่ 11 มีนาคม 2540

     เรื่องการรับทราบผลการดำเนินการแก้ไขปัญหา สก.กย. ให้ครองคลุมถึงเกษตรกรทุกกลุ่ม
     ปรับปรุงคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มปัญหา 
     ให้จัดสรรงบประมาณสนับสนุน “กองทุนฟื้นฟูชีวิตเกษตรกร” ไม่ต่ำกว่าปีละ 10,000 ล้านบาท ตลอดระยะเวลา แผนฯ 8 (เอกสารประกอบ 2)

        การประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2 : สำนักงานเกษตร ต.ท่าพระ จ.ขอนแก่น
       วันที่ 26 พฤษภาคม 2540 การแก้ไขปัญหาใดๆ ตามข้อตกลงที่ ฯพณฯ นายชิงชัย มงคลธรรม มาร่วมลงบันทึกสัญญา ไม่เกิดเป็นรูปธรรมแม้แต่การแต่งตั้งคณะกรรมการร่วม / อนุกรรมการกลุ่มปัญหา อีกทั้งได้รับคำชี้แจงจาก รมต. ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีคู่สัญญาว่า “หากอยากให้รัฐบาลแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกรได้ ให้ไปเอากับรัฐบาลดาวอังคาร” แกนนำองค์กร โดยมูลนิธิเกษตรกรไทยจึงนัดหมายประชุมสมัยวิสามัญของ นกอ. ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2540 ที่สำนักงานเกษตรฯ ต.ท่าพระ ที่เดิมและมีพิธีสาปแช่งเผาหุ่นของเสนนาบดี ไม่จริงใจกับการแก้ปัญหาของเกษตรกรด้วย

     ในวันดังกล่าว จึงเป็นประวัติศาสตร์ขององค์กรเกษตรกรที่สมาชิกเกษตรกรกว่า 135,000 คน มาร่วมประชุม และรอรับฟังความคืบหน้าการแก้ไขปัญหา ณ ที่ประชุม ตั้งแต่เวลา 05.00 น.-14.00 น. เหตุด้วยความแออัดยัดเยียด ความร้อนจากแดดแผดเผา และน้ำดื่มที่ทางราชการนำมาบริการไม่เพียงพอแกนนำองค์กรจึงตัดสินใจนำสมาชิกเกษตรกรกว่า 100,000 คน เดินทางไปผ่อนคลายความร้อน และหาน้ำดื่มบริเวณลำน้ำชี ทำให้ถนนเส้นทางตั้งแต่สำนักงานเกษตรฯ ท่าพระถึงถนนมิตรภาพบริเวณแก่งน้ำต้อน บ้านกุดกว้าง อ.เมืองขอนแก่น ระยะทางกว่า 5 กิโลเมตร เต็มไปด้วยเกษตรกรผู้เดินทางทั้งที่สวมร้องเท้าและเดินด้วยเท้าเปล่า อันเป็นธรรมชาติวิสัยของเกษตรผู้ทำงานหลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน ที่มิเคยย่อท้อ

        กว่าระยะเวลา 1 ชั่วโมง ที่ถนนมิตรภาพเปิดทางสัญจรทางเท้า ปิดบริการสัญจรของยวดยาดพาหนะทุกชนิด รัฐบาลได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 172 / 40 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2540 สั่งการให้ ฯพณฯ นายอดิศร เพียงเกษ รมช.กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีฯ เป็นผู้รับมอบจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรคนยากคนจน โดยมีคำมั่นสัญญา ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ที่ประกาศต่อสาธารณชนเรือนแสนว่า “ถ้าแก้ไขปัญหาพี่น้องเกษตรกรคนยากคนจนไม่ได้ ขอไปกระโดดน้ำโขงตายดีกว่า” เป็นหลักประกันที่ประชาชนมั่นใจว่าการแก้ไขปัญหาจะเป็นผลสำเร็จ (เอกสารประกอบ 3)

        คณะกรรมการร่วมฯ โดยมี ฯพณฯ อดิศร เพียงเกษ เป็นประธานได้ใช้กระทรวงวิทยาศาสตร์เป็นจุดนัดพบคณะกรรมการร่วมฯ และใช้โรงสูบน้ำพลังไฟฟ้า บ้านหนองบัวดีหมี ต.ท่าพระ เป็นศูนย์อำนวยการร่วมฯ มีคณะกรรมการร่วม และคณะทำงานที่แต่งตั้งขึ้น 10 คณะ คือ

     1. คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 190 / 2540 แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างภาคราชการและแนวร่วมสถาบันเกษตรกรภาคอีสาน

     2. คำสั่งกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม แต่งตั้ง
          คณะทำงานกลุ่มปัญหาหนี้สินเกษตร และสถาบันเกษตรกร
          คณะทำงานกองทุนฟื้นฟูชีวิตเกษตรกร
          คณะทำงานกลุ่มปัญหาที่ดิน
          คณะทำงานกลุ่มปัญหาป่าไม้ และสิ่งแวดล้อม
          คณะทำงานพัฒนาสหกรณ์
          คณะทำงานจัดตั้งธนาคารสหกรณ์แห่งชาติ
          คณะทำงานกลุ่มปัญหาอุตสาหกรรมอ้อย และน้ำตาล
          คณะทำงานศูนย์อำนวยการร่วม
         อนุกรรมการประเมิน และตรวจสอบหนี้สินเกษตรกรระดับจังหวัด และเป็นคำสั่ง สุดท้ายที่ วว.192/2540 ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2540

ผลการทำงาน
        ของคณะกรรมการร่วมระหว่างภาคราชการกับแนวร่วมสถาบันเกษตรกรภาคอีสาน ปัญหาหนี้สินเกษตรกร และสถาบันเกษตรกร และกองทุนฟื้นฟูชีวิตเกษตรกร มีข้อสรุปดังนี้

     1. กลุ่มปัญหาหนี้สินเกษตรกร และสถาบันเกษตร
     คณะอนุกรรมการกลุ่มปัญหาหนี้สิน – ศูนย์อำนวยการร่วม – คณะกรรมการร่วม คร.นกอ. มีมติ ( 22 กันยายน 2540 )

     (1) หนี้โครงการที่รัฐส่งเสริมแต่ล้มเหลว คือ โครงการส่งเสริมการปลูกมะม่วงหิมพานต์ โครงการส่งเสริมการเลี้ยงหม่อนไหมและโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคออสเตรเลียนบราห์มัน 3 โครงการ ให้ยกเลิกหนี้ให้เกษตรอย่างมีเหตุผล และให้ประเมิน และยกหนี้โครงการส่งเสริมการปลูกไผ่ตงด้วย

     (2) หนี้เกษตรกร และสถาบันเกษตรกร ให้แต่งตั้งอนุกรรมการประเมิน และตรวจสอบหนี้สินเกษตรกร และระหว่างการตรวจสอบให้พิจารณาดำเนินการสั่งการแขวนหนี้เกษตรกรผู้เดือดร้อนและร้องขอไว้ก่อน จนกว่าผลการประเมิน และตรวจสอบจะแล้วเสร็จชัดเจนกว่าควรลดดอกเบี้ย / ขยาย ระยะเวลาชำระให้แก่เกษตรกรรายใดบ้าง โดยยึดเหตุผลและความเป็นจริง

     (3) เร่งดำเนินแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยปรับหนี้เข้าสู่ระบบ หรือวิธีการอื่นใดที่จะเป็นผลให้เกษตรกรผู้เดือดร้อนได้รับความช่วยเหลือ

     ทั้งนี้ ฯพณฯ นายอดิศร เพียงเกษ รับจะนำพิจารณาในคณะรัฐมนตรีเพื่อนุมัติดำเนินการ แต่จนแล้วจนกระทั่งหมดรับบาลลาออก นอกจากการประชุมคระต่าง ๆ 7 ครั้ง คระกรรมการร่วมฯ ไม่ได้ดำเนินการใด ๆ อันเป็นการแก้ไขปัญหาเกษตรกรที่เป็นรูปธรรมแม้ประการเดียว

      2. โครงการกองทุนฟื้นฟูชีวิตเกษตรกร : กองทุนหลงขบวนผลงานโชว์วิสัยทัศน์รัฐบาลเป็นโครงการหนึ่งเดียวที่บรรเทาเกษตรกรทั้งหลายต่างจังหวัดเป็นที่พึ่งสุดท้าย เพื่อเป็นทุนในการดำเนินการทำมาเลี้ยงชีพ และเป็นที่มาแห่งรายที่จะนำไปชำระหนี้ที่ได้เสนอแขวนไว้รอ / ขยาย ระยะเวลาชำระ / ลดดอกเบี้ย และหนี้เดิม ๆ ที่ผูกพันตามกระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้สิน (ถ้าสำเร็จ) โดยคณะกรรมการร่วม ฯได้ดำเนินการ ดังนี้

     วันที่ 18 สิงหาคม 2540 เสนอหลักการโครงการจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนฟื้นฟูชีวิตเกษตรกรและร่างระเบียบสำนักนายกรับมนตรี ว่าด้วยเงินกองทุนฟื้นฟูชีวิตเกษตรกร พ.ศ. 2540 เสนอ ฯพณฯ นายอดิศร เพียงเกษ ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรี

     วันที่ 29 สิงหาคม 2540 เลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งเรื่องให้สำนักงบประมาณ และกระทรวงการคลังพิจารณา และมีผลสรุป คือ

     (1) ไม่สมควรจัดตั้งระเบียบกองทุนนี้ขึ้นมาอีก เพราะปัจจุบันมีกองทุน และเงินทุนหมุนเวียนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร กระจายตามหน่วยงานต่าง ๆ ประมาณ 25 กองทุน มีเงินทุนหมุนเวียนประมาณ 10,000 ล้านบาทต่อปีอยู่แล้ว

     (2) ดำเนินการไม่ได้ เพราะขัดกับ พรบ. เงินคงคลัง พ.ศ. 2491 มาตรา 12 ที่บัญญัติว่า “การจ่ายเงินเป็นทุน หรือทุนหมุนเวียนเพื่อการใด ๆ ให้กระทำได้แต่โดยตราเป็นกฎหมาย”

     ทั้งนี้ ฯพณฯ รมว.กระทรวงการคลัง (นายทนง พิทยะ) ได้ให้ความเห็นว่า “เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรเป็นระบบ ควรรวมกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้รวมกันอยู่ในหน่วยงานเดียวและควรนำเสนอ ครม. พิจารณาโดยให้มีการตราเป็นกฎหมายรับรองขึ้น” (หนังสือด่วนที่สุดที่ กค. 0526.5 / 35427 2 ตุลาคม 2540)

     แต่ตัวแทนที่รัฐบาลมอบหมายให้มาดูแล คือ รมช.อดิศร เพียงเกษ มิได้เอาใจใส่ที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อวินิจฉัยการแก้ปัญหา และสิ่งน่าละอายใจอย่างยิ่งก็คือ การกระทำพฤติกรรมนักการเมือง และนักกฎหมายของกระทรวง / กรมต่าง ๆ ที่มาร่วมยกร่างโครงการและระเบียบดังกล่าว ทั้ง ๆที่รู้อยู่ว่าเมื่อเสนอไปจะมีคำตอบอย่างไร เพราะมี พรบ.เงินคงคลัง มาตร 21 พ.ศ. 2491 ซึ่งได้กำหนดจำกัดกรอบไว้แล้วยังฝืนดำเนินการ

        ชุมนุมใหญ่ ครั้งที่ 3 : สนามกีฬากลางจังหวัดขอนแก่น
      17 พฤศจิกายน 2540 มูลนิธิเกษตรกรไทย สมาชิกประมาณ 64,650 คน ได้ร่วมเสนอปัญหาเกษตรกร ต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีผ่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่สนามกีฬากลางจังหวัดขอนแก่น ให้ดำเนินการสืบเนื่องเรื่องที่ค้างคาจากการดำเนินงานที่ไม่บรรลุผลจากรัฐบาลที่ผ่านมา และ 14 มกราคม 2541 นายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย ได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างภาคราชการกับผู้แทนมูลนิธิเกษตรกรไทย เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ค้างอยู่ ตามสรุปข้อเรียกร้อง คือ
         1. กลุ่มปัญหาหนี้สินเกษตรกร
         2. กองทุนฟื้นฟูชีวิตเกษตรกร
         3. ข้อเสนอในเชิงนโยบาย คือ

       ทบทวนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ให้สนองตอบความต้องการแก้ไขปัญหาภาคเกษตรกรรมอย่างแท้จริง ให้สมดุลย์กับภาคอุตสาหกรรม

       กำหนดแผนแม่บทว่าด้วยบูรณาการภาคเกษตรกรรมให้มีแผนส่งเสริม และฟื้นฟูภาคเกษตรกรรมอย่างเป็นธรรม และชัดเจน (เอกสารประกอบ 4)

        ชุมนุมใหญ่ ครั้งที่ 4 : สนามหน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น
       23-25 พฤษภาคม 2541 หลังการวมตัวขององค์กรเกษตรกรในนามคณะกรรมการประสานงานองค์กรภาคอีสาน (คปอ.) ได้ชุมนุมกันที่สนามหน้าศาลากลาง จ.ขอนแก่น กว่า 75,000 คน โดยมีสมาชิกมูลนิธิเกษตรกรไทยเป็นกำลังหลัก เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาเกษตรกรได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมาย การฟื้นฟูชีวิตเกษตรกรดีขึ้น โดยมีตัวแทนร่วมเป็นกรรมการภาคราชการและภาคเกษตรฝ่ายละ 10 คน ให้มีผลเสนอต่อรัฐบาลภายใน 15 วัน โดยมีสรุปร่วมระหว่างภาครัฐ กับเกษตรกร 2 ประการ คือ

       การแขวนหนี้เกษตรกรผู้ประสบภาวะวิกฤติปัญหาหนี้สิน โดยดำเนินการให้เห็นผลทางปฏิบัติ

       ตรากฎหมายกองทุนฟื้นฟูชีวิตเกษตรกร และออกระเบียบกองทุนฟื้นฟูชีวิตเกษตรกรประกอบกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อให้มีผลปฏิบัติ ทั้งนี้ ทั้งข้อ 1 และ ข้อ 2 จะต้องดำเนินการให้เป็นรูปธรรมก่อนวันครบรอบ 66 ปี ประชาธิปไตย คือ วันที่ 24 มิถุนายน 2541 นี้

       อนึ่ง การตรากฎหมายฟื้นฟูชีวิตเกษตรกร องค์กรเกษตรกรในนาม คปอ. เริ่มมีความคิดเห็นแตกต่างกัน กลุ่มมูลนิธิเกษตรกรไทย เห็นชอบกับการตราเป็นพระราชบัญญัติ (พรบ.) แต่ต้องแล้วเสร็จและมีผลบังคับใช้ตามระยะเวลาที่กำหนด ส่วนอีกหลาย ๆ องค์กรยืนยันว่า ต้องตราเป็นพระราชกำหนด (พรก.) เท่านั้น อาจเพราะมีเหตุผลเพื่อการชุมนุมใหญ่ 66 ปี ประชาธิปไตย ที่กรุงเทพมหานครและคาดว่าจะระดมเกษตรกรจากทุกองค์กรและประชาชนภาคอื่น ๆเป้าหมายที่จำนวน 100,000 คน โดยจุดหมายหลักเพื่อการอื่น มิใช่ที่ปัญหาเกษตรกร

       23 มิถุนายน 2541 ที่บ้านมังคศิลา กรุงเทพมหานคร คณะกรรมการพิจารณาร่าง พรบ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตร แล้วเสร็จโดยการมีรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองนายอำนวย ปะติเส เป็นประธานกรรมการ มีองค์กรเอกชนที่มีคุณูปการต่อการยกร่าง พรบ. ฉบับนี้คือสถาบันนโยบายกฎหมายเพื่อสังคม และผู้นำเกษตรกรร่วมยกร่างจนแล้วเสร็จ และที่ประชุมคณะกรรมการเห็นชอบให้นำเสนอในนามรัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้นำเสนอสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ณ วันที่ 23 มิถุนายน 2541 มูลนิธิเกษตรกรไทยได้ประกาศถอนตัวจากการร่วมสังฆกรรมกับ คปอ. โดยเด็ดขาด

       15 ตุลาคม 2541 สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 20 ปีที่ 2 ครั้งที่ 33 ได้พิจารณาลงมติรับหลักการ ร่าง พรบ. กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ….. โดยมีนายอโศก ประสานสอน ประธานมูลนิธิเกษตรกรไทย ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการวิสามัญ นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการมูลนิธิ ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมมาธิการฯ โดยมีคณะกรรมการชุดนี้มี ฯพณฯ รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเนวิน ชิดชอบ เป็นประธาน

        ชุมนุมใหญ่ ครั้งที่ 5 : ท้องสนามหลวง (สภาเกษตรกรไทยครั้งที่ 1)
       3-13 กุมภาพันธ์ 2542 กองทัพเกษตรกรภาคอีสานของมูลนิธิเกษตรกรไทย ในนามสภาเกษตรกรไทย ร่วมกับพรรคพลังธรรม พร้อมด้วยสมาชิก 19 จังหวัดภาคอีสาน จำนวนกว่า 30,000 คน เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาหนี้สิน และการฟื้นฟูภาคเกษตรโดยเรียกร้องต่อรัฐบาล คือ

       1. ปัญหาหนี้สินเกษตรกร ขอให้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรและเกษตรกรผู้เดือดร้อนที่อยู่ในภาวะที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ดังนี้

           1.1 พักการชำระหนี้ ธกส. เป็นระยะเวลา 5 ปี ในระหว่างการพักชำระหนี้ต้องไม่คิดดอกเบี้ย เบี้ยปรับ และยกเลิกประกาศขึ้นค่าบริการสินเชื่อ 1% และค่าธรรมเนียมด้วย

           1.2 ยกเลิกหนี้สินที่เกิดจากโครงการของรัฐที่ส่งเสริม แต่ล้มเหลว

           1.3 อนุมัติหลักเกณฑ์การแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของเกษตรกร ตามที่ตัวแทนเกษตรกรในคณะทำงานพิจารณาหลักเกณฑ์การแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ นำเสนอ (ระเบียบ สปน.28 , สปน.33 , สปน.36) ทั้งนี้ ให้มีผลในทางปฏิบัติ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2542 เป็นต้นไป

        2. การฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
          2.1 ให้กระทรวงการคลัง เสนออนุมัติจัดสรรงบประมาณสู่ โครงการตามแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทฤษฎีใหม่ “เศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองของเกษตรกรอย่างยั่งยืน ตามความเหมาะสมและเป็นธรรม โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในทุก ๆ ด้าน

          2.2 เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหา ป่าไม้ ที่ดิน เขื่อน ชลประทานและสิ่งแวดล้อม โดยเร่งออกเอกสิทธิ์ จัดสรรที่ดินทำกัน จ่ายค่าชดเชย ในกรณีที่รัฐเวนคืนที่ดิน และดำเนินการฟื้นฟูผลิตการเกษตรอย่างต่อเนื่องแบบครบวงจร เร่งดำเนินการออก พรบ. สภาเกษตรกรแห่งชาติ ฉบับของเกษตร

       นโยบายและแนวทางปฏิบัติที่ส่งเสริมสหกรณ์
       1. ให้พักการชำระหนี้กรมส่งเสริมสหกรณ์ หนี้ อตก. และหนี้ ธกส. เป็นระยะเวลา 5 ปี ในระหว่างการชำระหนี้ต้องไม่คิดดอกเบี้ย เบี้ยปรับ และค่าบริการ

       ให้ลดดอกเบี้ยเงินกู้ส่งเสริมสหกรณ์ทุกสัญญา เหลือ 0 – 2 % ต่อปี ให้งดเว้นการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับสหกรณ์การเกษตร

       2. ให้ภาคราชการอำนวยความสะดวก รวดเร็ว และให้ความเป็นอิสระ ในการดำเนินการของสหกรณ์ การแนะนำ ตรวจสอบ ทางการเงินการบัญชี ต้องมีประสิทธิภาพ และให้สหกรณ์สามารถปิดบัญชีได้ปัจจุบันทุกปี

       ทั้งนี้ 4.1 และ 4.2 ให้มีผลในทางปฏิบัติ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2542 เป็นต้นไปองค์กรเพื่อการแก้ไขปัญหา

       1. การฟื้นฟูและการพัฒนาเกษตรกรให้ตั้งคณะกรรมการร่วมฯ ระหว่างภาคราชการกับผู้แทนสภาเกษตรไทย โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน

       2. ให้มีศูนย์อำนวยการร่วมคณะกรรมการฟื้นฟูและการพัฒนาเกษตรกร

       การชุมนุมใหญ่ ณ ท้องสนามหลวง เป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งต่อการนำพิจารณาเห็นชอบ พรบ. กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตร โดยมีข้อเสนออันเป็นมาตราการขั้นเด็ดขาดของการชุมนุม เพราะก่อนหน้านี้สภาไม่ได้ให้ความสนใจร่างกฎหมายฉบับนี้เท่าที่ควร แต่ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2542 สภาได้หยิบยกพระราชบัญญัติสู่การพิจารณาเป็นกรณีเร่งด่วน ซึ่งนับเป็นการแก้ปัญหาเรื่องการจัดคิวลำดับก่อนหลังของการพิจารณากฎหมายในสภาได้เป็นอย่างดี เป็นบทสรุปว่า “การได้มาซึ่งมีสิทธิจะพึงมีพึงได้ของชนชั้นใดๆ จะไม่ได้ทาโดยการหยิบยื่นให้แต่ได้โดยการดิ้นรน แย่งชิง”

       กรกฎาคม – สิงหาคม 2542 เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรตามสัดส่วนทั้ง 4 ภาค และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงนามแต่งตั้งที่ได้รับเลือก ดังนี้

     ภาคเหนือ
     1.นายอดุลย์ ศรีเทพ
     2.นายเฉลียว สุวรรณประภา
     3.นายนิยม ไวยรัชพานิช
     4.นายศรีเทพ ใจทา

     ภาคกลาง
     5. นายสุรชัย ศิริมัย
     6. นายสุริยันต์ บุญนาคค้า
     7. นายสุชัย ออสุวรรณ
     8. นายเฉลิม ปิ่นสกุล
     9. นายอุทัย สอนหลักทรัพย์

     ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
     10. นายอโศก ประสานสอน
     11. นายอุดม แสนลีลา
     12. นายประหยัด ภูหนองโอง
     13. นายเข็มทิศ วินทะไชย
     14. นายสมนึก ขจัดโรคา
     15. นายถาวร โลห์คำ
     16. นายนคร ศรีวิพัฒน์
     17. นายรุจน์ สุดแสง

     ภาคใต้
     18. นายสุนทร นิคมรัตน์
     19. นายตั๋น ตันทองแท้
     20. นายสมชาย สิทธิโชค

       กันยายน – ธันวาคม 2542
        แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตร 
        แต่งตั้งคณะทำงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเพื่อยกร่างระเบียบกฎหมายคณะคือ 
        คณะทำงานด้านการบริหาร
        คณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์
        คณะทำงานด้านสินเชื่อ
        คณะทำงานด้านการติดตามและประเมินผล

        แต่งตั้งคณะอนุกรรมการระดับภาคพิจารณากลั่นกรองกฎหมายระเบียบข้อบังคับ 
        แต่งตั้งคณะอนุกรรมการสรรหาผู้ทรงวุฒิ และเลขาธิการสำนักกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

        ชุมนุมใหญ่ ครั้งที่ 6 : สนามหน้าศาลากลาง จ. ขอนแก่น
       เนื่องจากการดำเนินการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเป็นไปด้วยตวามล่าช้า และขาดความเอาใจใส่อย่างจริงจังจากภาครัฐ มูลนิธิเกษตรกรไทยจึงชุมนุมใหญ่ ณ วันที่ 13 ธันวาคม 2542 มีสมาชิกจาก 19 จังหวัดภาคอีสานกว่า 80,000 คน ร่วมชุมนุมโดยมีข้อเรียกร้อง สรุป คือ

        1. ให้รัฐบาลเร่งรัดเอาใจใส่ดูแลในการกำกับดูแลกองทุนเร่งการออกกฎระเบียบข้อบังคับใช้ถึงเกษตรกรโดยเร็ว ให้ข้าราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกองทุนฟื้นฟูเอาใจใส่และร่วมปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

        2. ให้รัฐบาลเอาใจใส่จัดหาทุนเพื่อกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยจัดสรรจากงบประมาณแผ่นดิน ในปี พ.ศ. 2543 ไม่น้อยกว่า 50,000 ล้านบาท

       มกราคม – เมษายน 2543
       การออกกฎระเบียบข้อบังคับส่วนใหญ่แล้วเสร็จอยู่ระหว่างการตรวจสอบความถูกต้องด้านภาษากฎหมาย จากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ประกาศรับขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร ตั้งแต่ 20 มีนาคม 2543 – 19 กรกฎาคม 2543 การสรรหาอนุกรรมการกองทุนจังหวัดแล้วเสร็จ แต่รอการพิจารณาแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริหารกองทุน

       การสรรหาเลขาธิการแล้วเสร็จ คณะกรรมการกองทุนให้ความเห็นชอบแต่ยังไม่สามารถแต่งตั้งได้และมีการส่งเรื่องยื่นให้กฤษฎีกา (สภาเกษตรกรไทย ครั้งที่ 2) ตีความทางกฎหมาย

        การชุมนุมใหญ่ ครั้งที่ 7 : ลานพระบรมรูปทรงม้า เหตุจากความล่าช้าในการเร่งรัดให้ พรบ. กองทุนมีผลบังคับใช้มูลนิธิเกษตรกรไทยในนามสภาเกษตรกรไทย จึงระดมสมาชิกทั่วประเทศ 22 จังหวัด จำนวนกว่า 50,000 คน ชุมนุม ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า ตั้งแต่ 3-6 พฤษภาคม 2543 โดยมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล คือ ปัญหากองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และแผนฟื้นฟูภาคการเกษตร

       1. เร่งรัดให้ทุกกระทรวง และส่วนราชการทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูภาคการเกษตรตามพรบ. กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตร มีจิตสำนึก และร่วมรับผิดชอบ

       ร่วมดำเนินการ ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรถึงเกษตรกร ผู้รับการฟื้นฟูภายในต้นฤดูการผลิต ปี 2543 นี้ ให้จัดหาทุน เพื่อการบริหารและทุนหมุนเวียนกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรให้เหมาะสมตามสัดส่วนและจำนวนความต้องการประชากรภาคการเกษตรเป็นไปตามมาตรา 6 พรบ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรและตามมติคณะกรรมการกองทุนคราวประชุมครั้งที่ 3/2543 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ให้ย้ายข้าราชการของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่รับผิดชอบการสั่งการข้าราชการประจำในกระทรวง กำกับนโยบายและรับผิดชอบกองทุนสำนักงานกองทุน (ชั่วคราว) แต่ขาดวิสัยทัศน์ และไร้จิตสำนึกเพื่อแก้ไขปัญหาของเกษตรกร ซึ่งเป็นเหตุถ่วงการบริหารกองทุน ให้เกิดความล่าช้าพ้นจากตำแหน่ง ดำเนินการให้กองทุนฟื้นฟูฯ ออกสู่ความเป็นองค์กรอิสระตามมาตรา 10 พรบ.กองทุนฟื้นฟูโดยดำเนินให้มีการแต่งตั้งเลขาธิการกองทุน คณะอนุกรรมการภาค อนุกรรมการจังหวัด และการจัดตั้งสำนักงานกองทุนและสำนักงานสาขาให้เป็นเอกเทศโดยเร็ว

       2. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยุติแผนการละเลิงเงินกู้จากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย(ADB) ยกเว้นการดำเนินตามแผนและโครงการที่ประชาชนได้ให้ความเห็นชอบ และมีส่วนร่วมในการดำเนินการพร้อมทั้งสามารถตรวจสอบความโปร่งใสได้

        ปัญหาหนี้สินเกษตรกร
        1. ให้ยกเลิกระเบียบฯ ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรทุกฉบับของทุกหน่วยงานที่เป็นอุปสรรคต่การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรทุกฉบับของทุกหน่วยงานที่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร เช่น ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน. 33 , 36) ระเบียบว่าด้วยคณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ เป็นต้น โดยใช้กฎหมายที่ตราขึ้นใหม่แทน ให้ยกร่าง พรบ.แก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ตามมาตรา 15 พรบ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และมาตราการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรที่ผ่านความเห็นชอบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

        2. ให้แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อดำเนินการตาม ข้อ 2.1 และ ข้อ 2.2 โดยสัดส่วนของตัวแทนเกษตรกรไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของคณะทำงาน และโดยมีส่วนร่วมของเกษตรกรในกระบวนการกฎหมายทุกขั้นตอน ทั้งนี้ ต้องดำเนินการยกเลิกปรับปรุง และยกร่าง พรบ. ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน เพื่อนำสู่ประกาศใช้เป็นกฎหมายโดยเร่งด่วนต่อไป

       การตรา พรบ. สภาเกษตรกรแห่งชาติ และ พรบ.สภาการเกษตรแห่งชาติ
       1.เร่งดำเนินการนำร่าง พรบ. สภาเกษตรกรแห่งชาติที่คณะทำงานตามมติ ครม. 9 กุมภาพันธ์ 2542 ยกร่างแล้วสู่กระบวนการตรากฎหมายของรัฐสภาโดยเร่งด่วน2 ดำเนินการยกร่าง พรบ. สภาการเกษตรแห่งชาติ และนำสู่กระบวนการตรากฎหมายให้แล้วเสร็จโดยเร่งด่วน เพื่อรองรับการฟื้นฟูภาคการเกษตรในอนาคต

       2. ให้รัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นความสำคัญของกองทุนฟื้นและพัฒนาเกษตรกร พร้อมทั้งให้ทบทวนแนวทางในการนำเงินโครงการกองทุนผ้าป่าช่วย สาเหตุมาจากการจะนำเงินไปกลบหนี้เสียให้แก่สถาบันการเงินของรัฐที่ล้มเหลวผลการเรียกร้องรัฐบาลโดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้บัญชามอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติที่ดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามข้อเรียกร้อง

        การบริหารกิจการสำนักงานกองทุนปัจจุบัน พฤษภาคม – 5 กันยายน 2543
        มีการชุมนุมประท้วงและคัดค้านการแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานกองทุน และการแต่งตั้งอนุกรรมการกองทุนจังหวัดจากเกษตรกรบางกลุ่มที่ขาดการมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มกองทุน แต่งตั้งอนุกรรมการกองทุนจังหวัด แต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และเตรียมการแต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนภาค
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร โดยดำเนินการยกร่างแก้ไขเพิ่มเติม

       พรบ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ 2) พ.ศ……..โดยในร่างกฎหมายกำหนดให้มีแนวทางจัดการหนี้ของเกษตรกร ทั้งหนี้ในระบบและหนี้นอกระบบ แทนการตรา พรบ. แก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสาระสำคัญประกอบด้วย

        กองทุนจัดการหนี้ของเกษตรกร สำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร แต่งตั้งคณะกรรมการยกร่างระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรว่าด้วยเกษตรกร คณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร อนุมัติดำเนินการ แผนประชาสัมพันธ์สำนักงานกองทุน แผนบริหารการจัดการสำนักงานกองทุน และสำนักงานเลขา แผนงบประมาณ สำนักงานกองทุน ปี 2544 การกระจายงบบริหารจัดการให้สำนักงานสาขาจังหวัดละ 100,000 บาท สำนักงานกองทุน โดยเลขาธิการสำนักงาน ประกาศรับคัดเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นลูกจ้าง และพนักงานของสำนักงานกองทุนตามโครงสร้างการบริหารสำนักงาน เสนอร่างงบประมาณสำนักงานกองทุนต่อคณะรัฐมนตรี ทำสัญญาจ้างธนาคารกรุงไทย ตรวจสอบทะเบียนความซ้ำซ้อนองค์กรเกษตรกรรม และสมาชิกองค์กรเกษตรกร เสนอร่าง พรบ. กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ 2) พ.ศ………….ต่อ คณะรัฐมนตรี

       การโอนเงินจากกรมบัญชีกลางเข้าสู่บัญชีกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จำนวน 1,820,542,700 บาท เมื่อ 9 สิงหาคม 2543

       การแก้ไขปัญหาและการฟื้นฟูและพัฒนาภาคการเกษตรที่รอคอยจากจุดริเริ่มคิดค้นแสวงหาและความพยายามของเกษตรกร ประสานกับการร่วมมือของรัฐและภาคเอกชนตั้งแต่ 29 ธันวาคม 2529 จากโครงการฟื้นฟูชีวิตเกษตรกร อันมีมูลเหตุการผัดผ่อนชำระหนี้ ธกส. การแสวงหาของเกษตรกรเป็นผลสำเร็จ คือ มีเครื่องมือชนิดใหม่อันแรกที่เกิดจากความต้องการและร่วมสร้างของเกษตรกรในชื่อ “พรบ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542” รวมทั้งเครื่องมือซึ่งกำลังจะนำไปเสริมองค์ประกอบใหม่ เพื่อให้มีผลบังคับให้เพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร คือ ร่างพรบ. กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ 2) พ.ศ………….ภายใต้การเตรียมพร้อมสำหรับการฟื้นฟู โดยมีกฎระเบียบ ข้อบังคับ องค์คณะบุคคล และผู้มีอำนาจตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูกำหนด กระบวนการฟื้นฟูองค์กรเกษตรกรที่ได้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนสิ้นสุด ณ วันที่ 19 กรกฎาคม 2543 จำนวนตามตารางดังต่อไปนี้

ภาค

องค์กรและจำนวนสมาชิก

สัดส่วนเกษตรกร
ที่ลงทะเบียนคิด%

องค์กร

จำนวนสมาชิก

เหนือ

กลาง

ตะวันออกเฉียงเหนือ

ใต้

17,685

7,428

19,869

8,929

1,701,813

982,154

3,002,303

890,578

25.87

14.93

45.64

13.54

รวม

53,911

6,576,848

100


ตารางจำนวนองค์กรเกษตร และสมาชิกองค์กรเกษตรกรที่ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนกองทุนณ วันที่ 19 กรกฎาคม 2543.

       องค์กรเกษตรกรทั้ง 53,911 องค์กร และสมาชิกทั้ง 6,576,848 ที่ยื่นคำขอเข้าสู่การฟื้นฟูตามข้อกำหนดของกองทุน ซึ่งตราไว้เป็นกฎหมาย เมื่อผ่านการตรวจสอบระบบตรวจสอบความซ้ำซ้อนแล้ว จะต้องมีกระบวนการและขั้นตอนอีกอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

        การประกาศผลรับขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกรและอนุมัติรหัสองค์กรเกษตรกร
        การจัดทำบัญชีรายชื่อเกษตรกรผู้มีสิทธิ์ตาม พรบ. กองทุน
        การบริหารและกำหนดปฏิทินสำนักงานกองทุนจังหวัด
        การอบรมคณะอนุกรรมการกองทุนจังหวัดในภารกิจของกองทุน
        การอบรมเกษตรกร ที่ได้รับรองขึ้นทะเบียนต่อสำนักงานกองทุน เพื่อเตรียมสู่การฟื้นฟู
        กำหนดปฏิทินงานกองทุน และการอนุมัติสนับสนุนฟื้นฟูและพัฒนาองค์กรเกษตรกร