วันที่ 6 พ.ย. 65 ที่วิทยาลัยเทคนิคปากช่อง จ.นครราชสีมา รองนายกรัฐมนตรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มอบเช็คเงินโครงการฟื้นฟูอาชีพและพัฒนาอาชีพเกษตรกร เช็คเงินชำระหนี้แทนเกษตรกร มอบโฉนดที่ดินคืนให้เกษตรกรที่ชำระหนี้คืนครบตามสัญญา และมอบใบประกาศแสดงความยินดีกับเกษตรกรสมาชิกกฟก. จ. นครราชสีมา ที่ได้สิทธิปรับโครงสร้างหนี้ ลดหนี่เงินต้นเหลือครึ่งเดียว ตามมติครม. 22 มีค. 65 โดยมี นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. พร้อมด้วย นายมนัส วงษ์จันทร์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร นายประยงค์ อัฒจักร ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 3 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) นางโสมสุดา โพธิ์อินทร์ รองผู้อำนวยการสำนักฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นายวัชรางกูร แสนเสริม หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดนครราชสีมา เข้าร่วมกิจกรรมด้วย

นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. เปิดเผยว่า “ในวันนี้ รองนายกจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ได้มอบเช็คเงินโครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร จำนวน 5 องค์กร มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ 275 คน เป็นเงิน 1,560,000 บาท มอบเช็คเงินชำระหนี้แทนเกษตรกร จำนวน 33 คน 5 สหกรณ์ เป็นเงิน 17,594,552.88 บาท มอบโฉนดที่ดินคืนเกษตรกรที่ได้ชำระหนี้ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว จำนวน 10 คน 16 แปลง เนื้อที่ 140 ไร่ 3 งาน 72.4 ตารางวา และมอบใบประกาศการได้รับสิทธิปรับโครงสร้างหนี้ตามมติ ครม. จำนวน 62 คน ซึ่งทั้งหมดเป็นเกษตรกรสมาชิกกฟก.นครราชสีมา

สำหรับจังหวัดนครราชสีมา กฟก. ได้มอบเช็คเงินโครงการฟื้นฟูอาชีพไปแล้ว 130 องค์กร เป็นเงิน 72,085,317 บาท มอบเช็คชำระหนี้แทนเกษตรกรให้กับเจ้าหนี้สหกรณ์ 48 สหกรณ์ เป็นเงิน 168,418,126.43 บาท มอบโฉนดที่ดินและใบประกาศเกียรติคุณให้เกษตรกรที่ชำระหนี้ครบถ้วนตามสัญญา จำนวน 975 คน และมอบใบทะเบียนองค์กรเกษตรกร จำนวน 62 องค์กร

ผลงานที่ผ่านมาของกฟก.ภายใต้การกำกับดูแลของรองนายกรัฐมนตรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้มีการผลักดันให้ กฟก. ได้รับงบประมาณและกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรมาอย่างต่อเนื่อง ในปี 2565 ได้ชำระหนี้แทนเกษตรกรรวมทั้งสิ้น 2,095 ราย 2,098 บัญชี เป็นเงิน 1,772.33 ล้านบาท รักษาที่ดินทำกินให้เกษตรกรได้ 1,594 แปลง เนื้อที่รวม 8,625 ไร่”

นายจุรินทร์ กล่าวว่า ในปี 2565 ที่ผ่านมาตนในฐานะประธานกองทุนฯ ได้ผลักดันทางนโยบายให้กฟก. ได้รับงบประมาณงบกลางจำนวน 2,000 ลบ. และในปี 2566 ได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปีอีก 500 ลบ. ซึ่งคาดว่าจะไม่เพียงพอต่อความจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร ซึ่งคงต้องเสนอรัฐบาลของบกลางปี 66 อีกครั้ง

อ่านต่อ

วันที่ 14 ตุลาคม 2565 ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาชุมพร อ.เมือง จ.ชุมพร รองนายกรัฐมนตรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้มอบเช็คเงินชำระหนี้แทนเกษตรกร มอบโฉนดที่ดินคืนให้เกษตรกร และมอบใบทะเบียนองค์กรให้สมาชิกกองทุนฯ จังหวัดชุมพร กว่า 1,134 ราย โดยนายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. ได้มอบหมายให้นายสมศักดิ์ อยู่รอต รักษาการในตำแหน่งรองเลขาธิการสำนักงาน กฟก. พร้อมด้วย นายมนัส วงษ์จันทร์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร นายสุกิจ ลุ้งใหญ่ ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 4 ภาคใต้ นางรุ่งทิพย์ นวลขาว หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดชุมพร และพนักงาน/ลูกจ้างสาขาชุมพรเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ได้มอบเช็คเงินชำระหนี้แทนเกษตรกร จำนวน 1 สหกรณ์ เป็นเงิน 361,556.03 บาท มอบโฉนดที่ดินคืนเกษตรกรที่ได้ชำระหนี้ปิดบัญชีคืนกองทุนแล้ว จำนวน 5 ราย 8 แปลง เนื้อที่ 41 ไร่ 1 งาน 76.7 ตารางวา และมอบใบรับรองการขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร จำนวน 13 องค์กร จำนวนสมาชิก 1,134 ราย

ด้านผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของ กฟก. ในปี 2565 ภายใต้การกำกับดูแลของรองนายกรัฐมนตรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรได้ชำระหนี้แทนเกษตรกรรวมทั้งสิ้น 2,096 ราย 2,098 บัญชี เป็นเงิน 1,772.33 ล้านบาท ซึ่งสามารถรักษาที่ดินทำกินให้เกษตรกรได้ 1,594 แปลง เนื้อที่รวม 8,625 ไร่ ส่วนของภาคใต้ได้ดำเนินการชำระหนี้แทนจำนวน 136 ราย 137 บัญชี จำนวนเงิน 176 ล้านบาท มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน จำนวน 130 แปลง เนื้อที่ 431 ไร่

โดยรองนายกรัฐมนตรีได้ผลักดันนโยบายเพื่อเกษตรกรและสมาชิก กฟก. มาอย่างต่อเนื่อง ในฐานะประธานกรรมการ กฟก. ได้มอบเช็คเงินโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรแล้ว จำนวน 130 องค์กร 130 โครงการ จำนวนเงิน 72่,085,317 บาท มอบเช็คเงินชำระหนี้แทนเกษตรกรให้กับเจ้าหนี้สหกรณ์ ในพื้นที่ภาคใต้ จำนวน 47 สหกรณ์ จำนวน 168,065,570.40 บาท มอบโฉนดที่ดินและใบประกาศเกียรติคุณให้เกษตรกรที่ชำระหนี้ครบตามสัญญา จำนวน 970 คน และมอบใบทะเบียนองค์กรเกษตรกร จำนวน 67 องค์กร

อ่านต่อ

วันที่ 8 ตุลาคม 2565 ที่โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อ.เมือง จ.นครสวรรค์ รองนายกรัฐมนตรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มอบเช็คเงินโครงการฟื้นฟูอาชีพและพัฒนาอาชีพเกษตรกร เช็คเงินชำระหนี้แทนเกษตรกร และมอบโฉนดที่ดินคืนให้เกษตรกรสมาชิกกองทุนฯ จังหวัดนครสวรรค์ โดยนายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. ได้มอบหมายให้นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการสำนักงาน กฟก. พร้อมด้วย นายมนัส วงษ์จันทร์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร นายประเทือง นรินทรางกูล ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักบริหาร นางทิพวรรณ์ เกตุหนู หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดนครสวรรค์ เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ รองนายกจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ได้มอบเช็คเงินโครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร จำนวน 7 องค์กร มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ 110 ราย เป็นเงิน 2,115,000 บาท มอบเช็คเงินชำระหนี้แทนเกษตรกร จำนวน 8 ราย 3 สหกรณ์ เป็นเงิน 11,710,763.40 บาท มอบโฉนดที่ดินคืนเกษตรกรที่ได้ชำระหนี้ปิดบัญชีคืนกองทุนแล้ว จำนวน 3 ราย 5 แปลง เนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 32.2 ตารางวา

สำหรับผลงานที่ผ่านมาในปี 2565 กฟก. ภายใต้การกำกับดูแลของรองนายกรัฐมนตรี นายจุริทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรได้ชำระหนี้แทนเกษตรกรรวมทั้งสิ้น 1,822 ราย 1,825 บัญชี เป็นเงิน 1,488.66 ล้านบาท ซึ่งสามารถรักษาที่ดินทำกินให้เกษตรกรได้ 1,318 แปลง เนื้อที่รวม 7,340 ไร่

สำหรับจังหวัดนครสวรรค์มีเกษตรกรที่ได้รับการชำระหนี้แทนไปแล้ว 42 ราย เป็นเงิน 49.86 ล้านบาท โดยรองนายกรัฐมนตรีได้ผลักดันนโยบายเพื่อเกษตรกรและสมาชิก กฟก. มาอย่างต่อเนื่อง ในฐานะประธานกรรมการ กฟก. ได้มอบเช็คเงินโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรไปแล้ว 123 องค์กร จำนวนเงิน 69,970,317 บาท มอบเช็คชำระหนี้แทนเกษตรกรให้กับเจ้าหนี้สหกรณ์ในพื้นที่ จำนวน 44 สหกรณ์ เป็นเงิน 156,345,807 บาท มอบโฉนดที่ดินและใบประกาศเกียรติคุณให้เกษตรกรที่ชำระหนี้ครบถ้วนตามสัญญา จำนวน 967 คน และมอบใบทะเบียนองค์กรเกษตรกร จำนวน 62 องค์กร

อ่านต่อ

วันที่ 4 ตุลาคม 2565 เวลา 13.30 น.ที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. ประชุมมอบนโยบายการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2566 ผ่านระบบ NT conference โดยมีผู้บริหารสำนักงานจากสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาจังหวัดเข้าร่วมประชุม ประเด็นที่เลขาธิการได้มอบนโยบายมี 4 ประเด็นหลัก ได้แก่

1. การรายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานสาขาจังหวัด ณ วันที่ 30 ก.ย. 65 ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ด้านการจัดการหนี้ และด้านการบริหารงานสำนักงาน ให้คณะกรรมการ กฟก. ได้รับทราบ เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 65 ที่ผ่านมา

2. เป้าหมายการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ 2566 ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ด้านการจัดการหนี้ และด้านการบริหารงานสำนักงาน โดยได้มอบหมายให้สำนักฟื้นฟูฯ และสำนักจัดการหนี้ฯ กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อทำรายละเอียดประกอบการของบกลางสำหรับดำเนินงาน

3. แนวทางการทำแผนปฏิบัติงานบูรณาการของกลุ่มจังหวัด ภูมิภาค เพื่อสนับสนุนภารกิจของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงานชุดต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ในปีงบประมาณที่ผ่านมาผลการดำเนินงานของกลุ่มจังหวัดสามารถแก้ไขปัญหาไปได้ประมาณร้อยละ 80 ส่วนในปีนี้การทำงานจะต้องไม่มีความซ้ำซ้อน และเกิดการแลกเปลี่ยนบุคลากรร่วมกัน และผลักดันงานในกลุ่มจังหวัดไปสู่เป้าหมายเดียวกัน

4. การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อเลื่อนเงินเดือนประจำปี จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้ โดยจะเริ่มเข้าสู่กระบวนการประเมินตามภายในสัปดาห์ที่ 2-4 ของเดือน แบบฟอร์มการประเมินมีเป้าหมายที่ชัดเจน สั้น กระชับ และมีกรอบการประเมินที่ชัดเจน

เลขาธิการสำนักงาน กฟก. ได้ชื่นชมและขอบคุณพนักงานทุกคนที่ร่วมกันทำงานจนเป็นไปตามเป้าหมาย สามารถใช้จ่ายงบกลางในส่วนของงานฟื้นฟูฯ และงานจัดการหนี้ฯ ได้ 100% ส่วนงบบริหารสำนักงานคืนสำนักงบประมาณ โดยเฉลี่ย 1.5% ซึ่งเกินมาตรฐานที่สำนักงบประมาณกำหนดไว้ ในปีงบประมาณ 2566 นี้ จะลงพื้นที่เพื่อพบปะให้กำลังใจพนักงานสาขาจังหวัดให้ครบทุกจังหวัด เพื่อรับทราบปัญหาในพื้นที่ไปด้วย

อ่านต่อ

วันที่ 27 กันยายน 2565 เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ชั้น 3 ทำเนียบรัฐบาล นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ครั้งที่ 3/2565

นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในฐานะเลขานุการเปิดเผยว่า ที่ประชุมมีวาระที่สำคัญดังนี้

เรื่องเพื่อทราบ 2 เรื่อง

• รายงานสถานะทางการเงินของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประจำปีงบประมาณ 2565

• รายงานผลการดำเนินงานของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

เรื่องเพื่อพิจารณา 5 เรื่อง

• อนุมัติกรอบและแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2566 จำนวน 962,411,932.00 บาท ประกอบด้วย งบเพื่อจัดการหนี้ของเกษตรกร 92,465,104 บาท งบเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร 65,000,000 บาท และงบบริหารสำนักงาน 687,230,230 บาท

• เห็นชอบให้คณะกรรมการจัดการหนี้ฯ ดำเนินการจัดการหนี้ได้ตามอำนาจหน้าที่ จำนวน 5,609 ราย 17,650 บัญชี มูลหนี้รวม 4,091,054,397.72 บาท

• เห็นชอบรายชื่อและอนุมัติซื้อทรัพย์ NPA คืนให้แก่เกษตรกร เพิ่มเติม ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 55 จำนวน 35 ราย 35 บัญชี ยอดเงินรวม 73,980,930.87 บาท

• อนุมัติให้นิติบุคคลเป็นสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อให้ กฟก.สามารถจัดการหนี้ให้เกษตรกรได้ จำนวน 2 สถาบันการเงิน ได้แก่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ เจเค จำกัด และ บริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

• เห็นชอบระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคล และสวัสดิการของพนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน กฟก. 2 เรื่อง ได้แก่ (ร่าง) ระเบียบคณะกรรมการ กฟก. ว่าด้วยการเบิกค่าเช่าบ้านของพนักงาน กฟก. พ.ศ. … และ (ร่าง) ระเบียบคณะกรรมการ กฟก. ว่าด้วยการขนย้ายสิ่งของส่วนตัวในการเดินทางปฏิบัติงานประจำในราชอาณาจักร พ.ศ. …

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการ กฟก. ได้กล่าวขอบคุณคณะกรรมการที่ให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรได้รับการจัดการหนี้และฟื้นฟูอาชีพมาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมานี้ ผลงานของ กฟก. เกิดเป็นรูปธรรมทุกด้าน ขอให้เจ้าหน้าที่ของ กฟก.ทุกท่านทำงานด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม ตนในฐานะประธานบอร์ดพร้อมให้การสนับสนุนและผลักดันภารกิจต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป

อ่านต่อ

วันที่ 18 พ.ค. 65 ห้องประชุมชั้น 3 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ได้จัดกิจกรรมรำลึกการก่อตั้งกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่มีอายุครบ 23 ปี โดยมี นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ประธานกรรมการบริหาร นายยศวัจน์ ชัยวัฒนสิริกุล รองประธานบริหารคนที่ 1 นายสำเริง ปานชาติ รองประธานบริหารคนที่ 2 นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พนักงานและลูกจ้างทุกระดับ ได้ร่วมพิธีทำบุญครบรอบ วันสถาปนากองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร 23 ปี พร้อมนี้ยังได้ทำการถ่ายทอดสดผ่านระบบ conference ไปยังสำนักงานสาขาจังหวัดทั่วประเทศทั้ง 77 แห่ง ภายใต้ความปลื้มปิติของคณะผู้บริหาร พนักงานและลูกจ้างทุกคน

นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้กล่าวปาฐกถา ในโอกาสวันสถาปนาครบรอบ 23 ปี ภายใต้แนวคิด “สำนึกอดีต เข้าใจปัจจุบัน มุ่งมั่นอนาคต” ที่ยังมีจุดยืนเดิมที่เข้มแข็งพร้อมก้าวเดินต่อไปเพื่อดูแลช่วยเหลือเกษตรกรตามเจตนารมย์ ที่ได้ก่อตั้งกองทุนฟื้นฟูฯ

เลขาธิการ สำนักงาน กฟก. กล่าวว่ากว่าจะได้มาซึ่งการเป็นกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรผ่านการต่อสู้ที่มุ่งมั่นของพี่น้องเกษตรกรมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมาจนกระทั่งได้เป็นกฎหมายกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเมื่อปี 2542 ถึงวันนี้ครบ 23 ปี และก้าวสู่ปีที่ 24 แต่ยังมีอีกหลายเรื่องที่ยังต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างคล่องตัว ดูแลรับใช้เกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมกับที่เกษตรกรได้ต่อสู้เรียกร้องจนได้กฎหมายมาเป็นของตนเอง จึงอยากให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของเกษตรกรเป็นลำดับแรก

อ่านต่อ

เพื่อทำบันทึกข้อตกลงแก้ปัญหาหนี้เกษตรกร ตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ 4 แบ้งก์รัฐ

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ได้มีการเจรจากับสถาบันการเงิน ได้แก่  ธ.ก.ส. SME Bank ธนาคารออมสิน บมจ.กสิกรไทย จำกัด บมจ.ทหารไทยธนชาติ จำกัด บมจ.กรุงไทย จำกัด เพื่อร่วมหาแนวทางและจัดทำกรอบบันทึกข้อตกลงความ ร่วมมือ (MOU) ตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร กรณีธนาคารของรัฐ 4 แห่ง และการจัดการหนี้ให้สมาชิกตาม พ.ร.บ. โดยมีตัวแทนจากสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหาร กฟก. คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร รองเลขาธิการ และหัวหน้าส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมเจรจานำไปสู่การจัดทำ MOU ฉบับสมบูรณ์

ข้อสรุปจากการหารือ สถาบันการเงินยินดีให้ความร่วมมือและร่วมกันจัดทำร่าง MOU เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ให้เกษตรกรต่อไป

อ่านต่อ

นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. มอบนโยบายการดำเนินงานตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร กรณีธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 65 และการใช้จ่าย งบประมาณกลางปี 65 ให้แก่สำนักงานสาขาจังหวัดทั่วประเทศ โดยกำชับให้สาขาจังหวัดปิดประกาศรายชื่อเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์ปรับโครงสร้างหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง จำนวน 50,162 ราย เพื่อให้องค์กรและเกษตรกรสมาชิกรับทราบและมารายงานตัวเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่ 2 พ.ค.นี้เป็นต้นไป

นายสไกรกล่าวว่า สำนักงานได้เตรียมความพร้อมรองรับการดำเนินงานไว้แล้ว เช่น การทำแบบรายงานตัวเข้าร่วมโครงการ การทำแบบรายงานตัวเข้าร่วมการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ (ผค. 1/4) และแบบการปรับโครงสร้างหนี้ให้แก่เกษตรกร ขณะนี้มีความพร้อมทุกด้านแล้ว ในเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณงบกลางปี 2565 ที่รัฐบาลจัดสรรให้ กฟก. จำนวน 2,000 ลบ. แยกเป็น เพื่อซื้อหนี้ 1,500 ลบ. เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูอาชีพ 270 ลบ. และบริหารสำนักงาน 230 ลบ. การใช้จ่ายต้องเป็นไปตามที่ตกลงไว้กับสำนักงบประมาณ หากมีการเปลี่ยนแปลงการ ใช้จ่ายรายการใดจะต้องทำบันทึกรายงานให้สำนักงบประมาณทราบ และต้องใช้งบประมาณให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 30 ก.ย. 65 นี้ หากมีงบประมาณเหลือจ่ายต้องคืน สำนักงบประมาณ การเปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายต้องทำรายงานให้สำนักงบประมาณรับทราบก่อน ซึ่งต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2-3 เดือน จึงจะอนุมัติใช้จ่ายได้ หากไม่จำเป็นไม่ควรมีการเปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายงบประมาณ การประชุมชี้แจงการดำเนินงานด้านการใช้จ่ายงบประมาณงบกลางให้กับสาขาจังหวัดได้ดำเนินการครบทั้ง 4 ภาคแล้ว หลังจากนี้สำนักงานสาขาจังหวัดจะเริ่มลุยงานในพื้นที่ให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้

อ่านต่อ

วันอังคารที่ 22 มีนาคม 2565 เวลา 14.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. เปิดเผยว่า วันนี้ รองนายกรัฐมนตรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ และ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เสนอ ครม. เพื่อขอความเห็นชอบโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กฟก. ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง จำนวน 50,621 ราย งบประมาณ 9,282,916,882.25 บาท โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบ ดังนี้

1. เห็นชอบในหลักการการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)

โดยให้เกษตรกรฯ ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้เดิมโดยพักชำระเงินต้นครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) และดอกเบี้ยทั้งหมดไว้ก่อน และให้เกษตรกรทำสัญญาผ่อนชำระหนี้เงินต้นครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) ตามระยะเวลาที่ตกลงกันแต่ไม่เกิน 15 ปี สำหรับการชดเชยเงินต้นร้อยละ 50 ในส่วนที่เกษตรกรไม่ต้องรับภาระ กลุ่มเป้าหมายจำนวน 50,621 ราย รัฐจะรับภาระในการจัดสรรเมื่อเกษตรกรได้ชำระหนี้คืนงวดสุดท้ายเสร็จสิ้นแล้ว โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดรายละเอียดและแนวทางดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักการข้างต้น

ในส่วนของการขอยกเว้นดอกเบี้ยค้างชำระของธนาคารรัฐ 4 แห่ง ให้ กษ. ร่วมกับกระทรวงการคลัง (กค.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางการดำเนินการให้ได้ข้อยุติที่เหมาะสมแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

2. รับทราบการยกเลิกหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดในโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรอย่างยั่งยืน

3. ให้ กษ. ประสานกระทรวงมหาดไทย (มท.) คณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (คจพ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้เกษตรกร จำนวน 50,621 ราย ได้รับการแก้ปัญหาหนี้สินของตนในกรอบการแก้ปัญหาความยากจนแบบมุ่งเป้าแต่ละครัวเรือนของ คจพ. ด้วย

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรขอขอบคุณคณะรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ในฐานะประธานกรรมการ กฟก. นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะรองประธานกรรมการ กฟก. นายไชยยศ จิรเมธากร เลขานุการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ดร.เสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูฯ คณะกรรมการจัดการหนี้ ผู้แทนเกษตรกรทั้ง 4 ภูมิภาค องค์กรเกษตรกรทุกกลุ่มที่ช่วยผลักดันให้โครงการนี้ได้รับความเห็นชอบ นับเป็นภารกิจที่ กฟก. ได้รับมอบหมายในการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้สมาชิกทั่วประเทศซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมตามนโยบายของรัฐบาล รักษาที่ดินทำกิน เกษตรกรได้พักฟื้นเรื่องหนี้ ฟื้นฟูอาชีพเพื่อสร้างรายได้ และมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน

อ่านต่อ