**** หลักเกณฑ์การดำเนินโครงการปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร ****

rn

     คณะรัฐมนตรีเห็นชอบข้อสรุปการหารือระหว่างกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (บมจ. ธนาคารกรุงไทย) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้ง 6 ข้อ ดังนี้

rn

     1. การดำเนินการเริ่มต้นจะดำเนินการกับกลุ่มเกษตรกรที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ซึ่งเกษตรกรลูกหนี้จำนวนนี้มีประมาณ 80,000 ราย ซึ่งเป็นลูกหนี้ของธนาคาร 4 แห่ง ได้แก่ ธ.ก.ส. บมจ. ธนาคารกรุงไทย ธอส. และ ธ.ออมสิน โดยสถานะหนี้เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ณ 31 ธันวาคม 2552 โดยกำหนดต้นเงินไม่เกิน 2.5 ล้านบาทต่อราย และเมื่อเข้าร่วมโครงการนี้แล้ว เกษตรกรลูกหนี้จะต้องไม่ก่อหนี้เพิ่มกับสถาบันการเงินในโครงการทั้ง 4 ธนาคาร

rn

     2. การปรับโครงสร้างหนี้ จะเป็นการพักชำระต้นเงินครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) และดอกเบี้ยทั้งหมดไว้ก่อน โดยให้เกษตรกรผ่อนชำระหนี้ต้นเงินที่เหลืออีกครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) ตามงวดและระยะเวลาที่ตกลงกันแต่ไม่เกิน 15 ปี ต้นเงินและดอกเบี้ยที่พักไว้จะได้รับการลดให้ทั้งหมด เมื่อเกษตรกรได้ชำระหนี้งวดสุดท้ายแล้ว

rn

     3. การผ่อนชำระ เกษตรกรลูกหนี้ที่ได้รับการปรับโครงสร้างหนี้ จะต้องผ่อนชำระอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตามฤดูการขายผลผลิตเรียบร้อยแล้ว และไม่เกิน 4 ครั้งต่อปี เว้นแต่เกษตรกรลูกหนี้ประสงค์จ่ายเป็นรายเดือน โดยให้ 3 ฝ่าย คือ เกษตรกรลูกหนี้ สถาบันเจ้าหนี้ และกองทุนฟื้นฟูฯ หารือร่วมกันเพื่อตกลงกันเป็นราย ๆ

rn

     4. อัตราดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่อนชำระ อัตราดอกเบี้ยคือ MRR ของต้นเงินเดิมแต่ธนาคารเรียกเก็บเพียง MRR-3 ของต้นเงินที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งหลังปรับโครงสร้างหนี้แล้ว โดยดอกเบี้ยที่ไม่เรียกเก็บจะได้รับการลดให้ทั้งหมดเมื่อเกษตรกรลูกหนี้ได้ชำระหนี้งวดสุดท้ายแล้ว

rn

     5. การผิดนัดชำระ จะใช้หลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันคือ 90 วัน นับจากวันครบกำหนดชำระ และธนาคารสามารถดำเนินคดีตามปกติได้ โดยมีข้อยกเว้นดังต่อไปนี้

rn

       5.1 กรณีประสบภัยพิบัติ ไม่ถือเป็นการผิดนัดชำระ แต่ต้องมีเอกสารหลักฐานแสดงว่าประสบภัยพิบัติจริง และในระหว่างระยะการกู้ 15 ปีนั้น ระยะเวลาที่ประสบภัยพิบัติต้องรวมกันไม่เกิน 2 ปี (จำนวนครั้งไม่จำกัด)

rn

       5.2 กรณีเกษตรกรมีปัญหาสุขภาพ ต้องมีเอกสารรับรองและจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป

rn

       5.3 กรณีมีเหตุอันควรให้พิจารณาผ่อนตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด

rn

     โดยกรณีข้อยกเว้นดังกล่าว จะมีคณะกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อพิจารณา และหากสุดท้ายเกษตรกร ลูกหนี้กลับมาเป็นเกษตรกรที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เกษตรกรลูกหนี้ต้องรับภาระหนี้ตามนิติกรรมเดิม ซึ่งจะถูกเรียกเก็บเงินต้นและดอกเบี้ยที่พักไว้ทั้งหมด (ตามข้อ 2) และดอกเบี้ยที่ยังไม่ได้เรียกเก็บในส่วนของหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้แล้ว (ตามข้อ 4)

rn

     6. สำหรับลูกหนี้ที่มีหลักประกันและหลักประกันมีมูลค่าสูงกว่ามูลหนี้ที่ได้รับการพักชำระต้นเงินครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) นั้น เพื่อความถูกต้อง รอบคอบ และรัดกุม เห็นควรเสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาข้อกฎหมายในประเด็นความรับผิดชอบของกรรมการธนาคารที่จะอนุมัติการปรับโครงสร้างหนี้ของเกษตรกรที่จะทำให้ธนาคารได้รับคืนเงินต้นต่ำกว่ามูลค่าหลักประกัน
เรื่องเดิม ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 รองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) ประธานคณะกรรมการเฉพาะกิจของนายกรัฐมนตรี เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรอย่างบูรณาการ ได้เสนอการช่วยเหลือเกษตรกรที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) และเป็นสมาชิกของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยให้มีการปรับโครงสร้างหนี้โดยการพักชำระต้นเงินครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) และดอกเบี้ยทั้งหมดไว้ก่อน โดยให้เกษตรกรผ่อนชำระหนี้ต้นเงินที่เหลืออีกครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) ตามงวดและระยะเวลาที่ตกลงกันแต่ไม่เกิน 15 ปี ต้นเงินและดอกเบี้ยที่พักไว้จะได้รับการลดให้ทั้งหมดเมื่อเกษตรกรได้ชำระหนี้คืนงวดสุดท้ายแล้ว และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการและมอบหมายให้สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรประสานงานกับธนาคารทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (บมจ. ธนาคารกรุงไทย) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ 

rn

อ่านเพิ่มเติม

rn