กลุ่มส่งเสริมเกษตรกรอู่ทอง (จังหวัดสุพรรณบุรี)
ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกกองทุน : ปี 2547
ประเภทงบประมาณ : เงินกู้ยืม ปี 2555
องค์กรเกษตรกร : กลุ่มส่งเสริมเกษตรกรอู่ทอง (จังหวัดสุพรรณบุรี)
รหัสองค์กรเกษตรกร : 7247000147
ประธานองค์กรเกษตรกร : นางกนกพร ดิษฐกระจันทร์
ที่ตั้งองค์กรเกษตรกร : 42 ม.3 ต.เจดีย์ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี 72160
โทรศัพท์ : 086-0107212 E-mail: La202520@gmail.com
Facebook : กนกพร ดิษฐกระจันทร์
สมาชิก : 385 คน ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 25 คน
โครงการ : พัฒนาอาชีพแบบครบวงจร
งบประมาณสนับสนุน : เงินกู้ยืม 439,900 บาท
ความเป็นมาของการดำเนินงาน
กลุ่มส่งเสริมเกษตรกรอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นกลุ่มชาวบ้านที่รวมตัวกันเพื่อแก้ปัญหาเรื่องหนี้สินที่กำลังถูกฟ้องร้องจากสถาบันเจ้าหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ ในปี 2547 ได้มีการรวมตัวกันเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และองค์กรเกษตรกรได้รับการช่วยเหลือจากสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ ทำให้เกิดกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม และเพื่อการฟื้นฟูอาชีพของเกษตรกรสมาชิก โดยการรวมกลุ่มกันดำเนินงาน สมาชิกมีความเข้มแข็งสามัคคีการ เอื้ออาทรต่อกันเสมอมา ทุกคนในกลุ่มตั้งความหวังด้านการพัฒนาอาชีพเกษตรกรเริ่มทำงานเกี่ยวกับการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ แปรรูปและจำหน่ายเองตั้งแต่ปี 2552
กลุ่มส่งเสริมเกษตรกรอู่ทอง ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการพัฒนาอาชีพแบบครบวงจร จากสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในปีงบประมาณ 2555 เป็นเงินกู้ยืม จำนวน 439,900 บาท มี 3 กิจกรรม คือ 1) เครื่องสีข้าวชุมชน เป็นเงิน 91,900 บาท 2) เลี้ยงหมูหลุม เป็นเงิน 270,000 บาท 3) ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นเงิน 78,000 บาท
วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน
เพื่อร่วมกลุ่มเกษตรกรในการผลิตทางการเกษตร ข้าว ผัก ผลไม้ ให้เป็นเกษตรอินทรีย์ และยกระดับในการแปรรูปและส่งต่อผู้บริโภค เพื่อให้คนในชุมชนสามารถมีรายได้เพิ่ม รวมถึงการส่งเสริมให้คนในชุมชนปลูกข้าว ผัก ผลไม้ ไว้กินเอง
ลักษณะกิจกรรม
1. มีการร่วมกลุ่มโดยมีคณะทำงาน ประธาน-รองประธาน-คณะกรรมการ
2. การตรวจรับรองมาตรฐานในการรับรองของกลุ่มโดยมีคณะทำงาน ตรวจสอบการผลิต และ
คณะกรรมการในการรับรองผลผลิต โดยใช้มาตรฐาน PGS (การรับรองแบบมีส่วนร่วม)
3. มีสมาชิกทั้งหมด 25 คน จำนวน 20 ครอบครัว ในการร่วมการผลิตแบบระบบอินทรีย์และมีการแปรรูป
ผลการดำเนินงาน
ปัจจุบัน จาการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ แปรรูปและจำหน่ายเอง องค์กรเริ่มมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวเป็นแป้ง ขนมเบเกอร์รี่จากข้าว เส้นขนมจีน จากพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน มีการส่งเสริมเรื่องการปลูกผักอินทรีย์ ผักพื้นบ้านตามฤดูกาล โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และน้ำหมักที่สมาชิกในองค์กรร่วมกันทำและแจกจ่ายให้กับสมาชิกในองค์กรใช้ทำให้สมาชิกในกลุ่มองค์กรมีรายได้ ทั้งรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน ทั้งยังสามารถฟื้นฟูอาชีพให้เกษตรกร มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และยังมีการพัฒนาเรื่องเครื่องมือที่เรียกว่า “ช่างชาวนา” ที่ทำจากช่างชาวนา โดยการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในระบบเกษตรกรรมที่ปลูกในระบบอินทรีย์ ช่วยลดต้นทุนการผลิต เพิ่มวิถีและวัฒนธรรมในการลงแขก ดำนา โยนข้าว เกี่ยวข้าว ตากข้าว และมีการพัฒนายกระดับมาตรฐานของคนในกลุ่มเริ่มจากรับรองกันเองมาเป็นมาตรฐาน PGS และมาตรฐาน มกอช ด้วยและยังเป็นแปลงตัวอย่างของบริษัทที่จะมาขอรับรองมาตรฐาน มกอช ของผู้ตรวจของกรมการข้าว และยังมีการส่งเสริมการแปรรูปวัตถุดิบจากการเกิดวิกฤตทางธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ทำให้เกษตรกรไม่สามารถปลูกข้าวได้ แต่มีปลาที่มากับน้ำ ที่ให้คนในชุมชนมีแนวคิดการแปรรูปปลาเป็นปลาร้า มีกุ้งฝอยหลังน้ำลดนำมาทำกะปิกุ้งน้ำจืด กุ้งแห้ง และมีการต่อยอดจากปลาเป็นปลาร้า นำปลาร้าที่ได้ทำเป็นปลาร้าสับ น้ำพริกเผา จากกะปิกุ้ง ทำให้ชุมชนมีรายได้จากวิกฤตที่เกิดจากธรรมชาติ
องค์กรมีการจัดงบประมาณในการหาองค์ความรู้มาส่งเสริม อบรมงานในชุมชน เช่น การปลูกผัก การเก็บเมล็ดพันธุ์ การจัดหาเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์
ทั้งนี้ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ เป็นตัวอย่างที่ชุมชนนำไปใช้ปฏิบัติอย่างแพร่หลายฯลฯ หรือผลจากการทำงานแบบรวมกลุ่ม นำไปสู่การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ หรือกลุ่มประเภทอื่น รวมทั้งการส่งผลต่อไปยังด้านการศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม สร้างรายได้เพิ่มแก่สมาชิกและกระจายรายได้ในวงกว้างของสมาชิกและชุมชน
องค์กร หน่วยงาน ภาคี ที่ให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วม ดังนี้
- สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สนับสนุนงบประมาณและองค์ความรู้ด้านการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรเพื่อการแก้ปัญหาหนี้สินและความยากจนของสมาชิก
- มูลนิธิข้าวขวัญ ให้องค์กรความรู้ในด้านการเกษตรมาตรฐาน
- โครงการศาลานา สนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือองค์ความรู้ในการแปรรูปและการตลาดมาตรฐาน
- กลุ่มผูกปิ่นโตข้าว สนับสนุนมาตรฐานและการตลาด
ผลิตภัณฑ์หลักขององค์กร ได้แก่ ข้าวกล้อง ข้าวน้ำนม แป้งข้าว โจ๊ก องค์กรผลิตประมาณ 60 ตันต่อปี โดยใช้วัตถุดิบในองค์กรและชุมชน 60 % และวัตถุดิบภายนอก 40% วัตถุดิบหลักได้แก่ ข้าวหอมปทุมเทพ ข้าวเหนียวดำ ข้าวหอมมะลิแดง ข้าวหอมนิลต้นเขียว ข้าวหอมมะลิ 105 ข้าวขาวตาเคลือบ
ตลาดหรือกลุ่มลูกค้าหลัก องค์กรมีตลาดจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ทั้งในชุมชน ในจังหวัด รวมไปถึงการออกบูท โดยในปี 2561 องค์กรมียอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 950,000 บาท มีกำไร 300,000 บาท
องค์กร มีการสนับสนุนให้คนในองค์กรและในชุมชนมีการพัฒนาศักยภาพในการจำหน่ายสินค้าได้ด้วยตนเอง มีการเพิ่มรายได้จากผลผลิตและการแปรรูป |