เวลา 08:30 น.

  • นายยศวัจน์ ชัยวัฒนสิริกุล รองประธานกรรมการบริหาร ฯ คนที่ 1
  • นายสำเริง ปานชาติ รองประธานกรรมการบริหาร ฯ คนที่ 2
  • นายสุกิจ ลุ้งใหญ่ ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 4 (ภาคใต้)
  • นางโสมสุดา โพธิ์อินทร์ รองผู้อำนวยการสำนักฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
  • นางพาขวัญ พวงมาลี หัวหน้าส่วนส่งเสริมฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ภูมิภาคที่ 4
  • นางสาวปิยะพร จันทรสา หัวหน้าส่วนส่งเสริมฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ภูมิภาคที่ 3

สำนักฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรร่วมโครงการติดตามและตรวจเยี่ยม

ประชุมกลุ่มบูรณาการจังหวัดที่สำนักงานสาขาจังหวัดพัทลุงเพื่อติดตามบูรณาการการสะสางทะเบียนหนี้และทะเบียนองค์กรกับกลุ่มบูรณาการที่ 11 ผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย คณะกรรมการกลุ่มบูรณาการและหัวหน้าสำนักงานจังหวัด ที่มีกำหนด การลงทะเบียนที่ตรวจเยี่ยมติดตามองค์กรเกษตรกร

เลขานุการรายงานสรุป ผลการดำเนินงานการสะสางทะเบียนองค์กร ทะเบียนหนี้เกษตรกร การใช้จ่ายงบประมาณ การชำระหนี้แทนเกษตรกร โครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร ผอ.ภาคนำเสนอ

ภาคบ่ายติดตามและตรวจเยี่ยมองค์กรเกษตรกรที่ได้รับสนับสนุนงบประมาณโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรและติดตามงานบูรณาการกลุ่มจังหวัดที่ 11 ภูมิภาคที่ 4 ระหว่างวันที่ 3 ถึง 7 กุมภาพันธ์ 2565

เวลา 10.00-13.00 น.

นางสาวนิธิมา บินตำมะหงง หัวหน้าสำนักงาน จ.สตูล (หัวหน้ากลุ่ม 11) และคณะกรรมการ ร่วมโครงการติดตามและตรวจเยี่ยมฯ

ได้รับการต้อนรับจากกลุ่ม เกษตรกรศูนย์สาธิตวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายสมัชชาเกษตรกรรายย่อยพัทลุง อ.ควนหนุน จ.พัทลุง

รหัสองค์กร 9343003889

สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ 49 คน

โครงการ เกษตรผสมผสานพอเพียงตามรอยพ่อ ร.9 (เพาะเห็ด เลี้ยงปลาดุก เพาะเลี้ยงชันโรง) งบประมาณ 900,000 บาท กลุ่มนำเสนอผลการดำเนินงาน สรุปรายงานความก้าวหน้า

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/การดำเนินงานโครงการ

ศูนย์สาธิตวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายสมัชชาเกษตรกรรายย่อยพัทลุงเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่รวบรวมสมาชิกเกษตรกรหลายอำเภอในจังหวัดพัทลุงได้เสนอแผนและโครงการต่อสำนักงานกองทุนฯ แบ่งเป็นสามกิจกรรมมีผู้ใหญ่บ้าน สาม หมู่บ้าน สองตำบล เป็นแกนนำในการทำกิจกรรม

กิจกรรมเพาะเห็ด ผลผลิตได้ทยอยออกจำหน่ายในองค์กรจะเป็นผู้รวบรวมผลผลิตเพื่อจำหน่ายและแบ่งปันผลกำไรให้กับสมาชิก

กิจกรรมการเลี้ยงชันโรง เป็นผลเนื่องจากการการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดพัทลุงการเลี้ยงชันโรง ถือว่าเป็นอาชีพตามเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นที่ต้องการของเกษตรกรที่ทำสวนผลไม้ต้องการทำสวนเกษตรแบบปลอดสารเคมีเนื่องจากชันโรง เป็นเสมือนตัวชี้วัดสภาพอากาศและการปนเปื้อนของสารเคมีในอากาศ ชันโรง ที่มีอยู่จึงยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ

การเลี้ยงปลาดุกในกระชังเป็นอาชีพเสริมที่เหมาะกับประชากรในพื้นที่สามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรสมาชิกได้เป็นอย่างดีโดยกิจกรรมเลี้ยงปลาดุกจะได้รับผลจำหน่ายและดำเนินการเลี้ยงในรอบต่อไป

เวลา 14.00-18.00 น.

นายสำเริง ปานชาติ รองประธานกรรมการบริหาร ฯ คนที่ 2

นายสมศักดิ์ อยู่รอต รองเลขาธิการ

นายสุกิจ ลุ้งใหญ่ ผู้อำนวยการภูมิภาคที่ 4 (ภาคใต้) นางโสมสุดา โพธิ์อินทร์ รอง ผอ.สำนักฟื้นฟูฯ นางพาขวัญ พวงมาลี หัวหน้าส่วนส่งเสริมการฟื้นฟูฯภูมิภาคทื่ 4นางสาวปิยะพร จันทรสา หัวหน้าส่วนส่งเสริมการฟื้นฟูฯภูมิภาคทื่ 3

ได้รับการต้อนรับจากนางสาวนิธิมา บินตำมะหงง หัวหน้าสำนักงาน จ.สตูล(หัวหน้ากลุ่ม 11) และคณะกรรมการ ร่วมโครงการติดตามและตรวจเยี่ยมฯ กลุ่ม พัฒนาอาชีพบ้านห้วยเรียน รหัสองค์กร 9360000183

สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ 15 คน

โครงการ เกษตรอินทรีย์ผสมผสานเพื่อพัฒนาชาวสวนยางอย่างยังยืน(เลี้ยงวัวพื้นเมือง)งบประมาณ 1,000,000 บาท กลุ่มนำเสนอผลการดำเนินงาน สรุปรายงานความก้าวหน้า

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/การดำเนินงานโครงการภายใต้การขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดพัทลุง ได้ประกาศยุทธศาสตร์การเกษตรอินทรีย์เกษตรกรส่วนยางพารา ต้องปรับตัวเพื่อสนับสนุนให้เกิดระบบเกษตรกรรมยังยืนภายใต้แนวคิดส่วนอย่างยั่งยืนพัฒนาระบบการทำการเกษตรแบบผสมผสานในสวนยาง เช่นเลี้ยงแพะ ไก่การปลูกพืชร่วมยาง ซึ่งสมาชิกกลุ่มพัฒนาชีพบ้านห้วยเรียน มีความรู้เรื่องการเลี้ยงวัว ที่เสนอโครงการเลี้ยงวัวพื้นเมืองควบคู่กับการทำสวนยาง ได้มูลวัวเพื่อเป็นปุ๋ยในสวนยาง มีอาชีพเสริมจากการทำสวนยางพารา ซึ่งนับวันราคามีแต่จะตกต่ำลงมีรายได้จากการจำหน่ายลูกวัวที่เกิดจากแม่พันธ์ที่ได้รับจากโครงการ และการซื้อมาขายไป

Recommended Posts