วันที่ 16 มกราคม 2565
เวลา 08:30 น.
นายยศวัฒน์ ชัยวัฒนสิริกุล รองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 1และนายสำเริง ปานชาติ รองประธานกรรมการบริหาร ฯ คนที่ 2
ร่วมโครงการติดตามและตรวจเยี่ยมประชุมกลุ่มบูรณาการจังหวัดที่สำนักงานสาขาจังหวัดยโสธรเพื่อติดตามบูรณาการการสะสางทะเบียนหนี้และทะเบียนองค์กรกับกลุ่มบูรณาการที่ 9 ผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย คณะกรรมการกลุ่มบูรณาการและหัวหน้าสำนักงานจังหวัด ที่มีกำหนดการลงทะเบียนที่ตรวจเยี่ยมติดตามองค์กรเกษตรกร
นายประยงค์ อัฒจักร ผอ.ภาค3
นางสาวปิยะพร จันทรสา หัวหน้าส่วนฟื้นฟูฯภาค 3 สำนักฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร
นายอังกูร จำเริญสาร ประธานกลุ่ม 9 กล่าวต้อนรับ นางสุกัญญา ดำโอเลขานุการรายงานสรุป ผลการดำเนินงานการสะสางทะเบียนองค์กร ทะเบียนหนี้เกษตรกร การใช้จ่ายงบประมาณ การชำระหนี้แทนเกษตรกร โครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร
ผอ.ภาคนำเสนอ
1.อนุมัติโครงการค่างท่อตามกระบวนการระเบียบหลักเกณฑ์
2.โครงการสำมะโนทะเบียนองค์กรเกษตรกรใน เพื่อสะสางทะเบียนสมาชิกต่อไป
เวลา 11.00 น.
นายยศวัฒน์ ชัยวัฒนสิริกุล รองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 1 และนายสำเริง ปานชาติ รองประธานกรรมการบริหาร ฯ คนที่ 2 ร่วมโครงการติดตามและตรวจเยี่ยมกลุ่มเกษตรผสมผสานบ้านดงแคนใหญ่ รหัสองค์กร 356000053 สมาชิก 48 คน เข้าร่วมโครงการเลี้ยงปลาดุก จำนวน 20 คน งบประมาณ 700,000 บาท เดิมได้รับงบอุดหนุน ปี61 โครงการเลี้ยงปลาในนาข้าว งบปี 64 เลี้ยงปลาดุก จำนวน 2 บ่อ ปลาช่อน 6 บ่อ เลี้ยงปลาดุก 4 เดือน จำหน่าย 2 รอบ มีรายได้เข้าองค์กร 65,700 บาท ผลิตภัณฑ์ขององค์กร เป็นกลุ่มต้นแบบที่มีความช่วยเหลือเกื้อกูลกันในองค์กร เลี้ยงปลา แปลรูป และจำหน่าย แบบครบวงจร
เวลา 16.00 – 18.30 น.
นายยศวัฒน์ ชัยวัฒนสิริกุล รองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 1และนายสำเริง ปานชาติ รองประธานกรรมการบริหาร ฯ คนที่ 2 พร้อมกับสำนักฟื้นฟูฯ และคณะกรรมการกลุ่มบูรณาการที่ 9 ร่วม โครงการ ติดตามและตรวจเยี่ยม กลุ่มเกษตรกรทอผ้าไหมบึงบูรพ์ บ้านเป๊าะ ม.1 ตำบลบึงบูรณ์ อำเภอบึงบูรณ์ จังหวัดศรีษะเกษ โครงการทอผ้าไหมทอผ้าไหม งบประมาณ 500,000 บาท สมาชิกเข้าร่วมโครงการ 15 คน ส่วนมากเป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มีความเชี่ยวชาญในการมัดหมี่และทอผ้าไหมมาเกือบ 40 ปี เป็นกลุ่มชนเผ่าเยอ จนสามารถจัดตั้งศูนย์อนุรักษ์ผ้าไหมเพื่อให้ลูกหลานได้มาเรียนรู้วัฒนธรรมการทอผ้าที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณลายผ้าแบบโบราณต่างๆได้รับการอนุรักษ์และรักษาไว้ไม่ให้สูญหาย การทอผ้าของ กลุ่ม ส่วนมากเป็นการเอารับออเดอร์และทอส่ง ครั้งละ 20 ถึง 50 เมตร เนื่องจากเป็นงานละเอียดต้องใช้เวลาในการทำงาน ปลุกมอนเลี้ยงไหมมัดหมี่ย้อมสี ค่อนข้างมากต่อการทอผ้าหนึ่งผืน
ความเข้มแข็งขององค์กรทำให้หน่วยงานราชการทุกหน่วยงานมาร่วมพัฒนาและบูรณาการในการสร้างศูนย์เรียนรู้เช่นพัฒนาชุมชน อุตสาหกรรมจังหวัด ท้องถิ่น สภาชุมชน เทศบาลตำบล กศน. และวัฒนธรรมจังหวัด ในฐานะที่ปรึกษากลุ่ม ซึ่งวันนี้ก็มาร่วมต้อนรับคณะ ที่มาเยี่ยมกลุ่ม
ทุกวันอังคารจะมีตลาดนัดผ้าไหมของจังหวัดศรีสะเกษ ทั้งจังหวัด ทุกอำเภอมาจำหน่ายที่ศาลากลางจังหวัดในปัจจุบัน ลูกค้าผ้าไหมผู้ที่ชื่นชอบ อาจจะได้รับผลกระทบจากโรคระบาดโควิดทำให้กลุ่มไม่ค่อยได้จำหน่ายผ้าไหมเท่าใดนักจึงขอฝากประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่ชื่นชอบ ได้อุดหนุน ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม
ติดตามข่าวสารสำนักฟื้นฟูฯได้ที่ https://web.facebook.com/RD.farmers.FRD