นายสมศักดิ์ อยู่รอต รักษาการในตำแหน่งรองเลขาธิการ

เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2566 เวลา 12.00 น. ที่โรงแรมบูติค ซิตี้ จ.ชลบุรี นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. มอบหมายให้ นายสมศักดิ์ อยู่รอต รักษาการในตำแหน่งรองเลขาธิการ เป็นประธานปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและเพิ่มสมรรถนะการดำเนินงานตามภารกิจแบบบูรณาการ 6 สำนัก ด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยมี นางวรรณี มหานีรานนท์ ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ ดร.ทศพล วิชัยดิฐ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบ ดร.วิญญู สะตะ ผู้อำนวยการสำนักฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร หัวหน้าส่วนส่งเสริมการฟื้นฟูฯภูมิภาคที่ 1 – 4 หัวหน้าส่วนฝึกอบรม พนักงานอาวุโส พนักงานทั่วไป ลูกจ้างสำนักงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เข้าร่วมอบรมกว่า 120 คน

นายสมศักดิ์ อยู่รอต รักษาการในตำแหน่งรองเลขาธิการ ได้กล่าวว่า ในการอบรมในครั้งนี้เป็นการสรุปเนื้องาน แนวทางเรื่องของการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร การติดตามการดำเนินงานฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร การติดตามและการบริการสัญญากู้ยืมโดยให้ดำเนินการให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งจะมีคณะทำงาน 5 ชุด ติดตามการดำเนินงานด้านต่างๆ โดยฝากให้พนักงาน ลูกจ้าง ผู้ปฏิบัติงานด้านฟื้นฟูทำงานแบบมีส่วนร่วมและทำงานการเป็นทีม เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ นอกจากนี้จะมีการประเมินเข้าสู่ตำแหน่ง เพื่อสร้างกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติงานได้พัฒนาตนเองในการก้าวเข้าสู่ตำแหน่งต่างๆ สุดท้ายนี้ขอบคุณคณะผู้บริหาร พนักงาน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่ได้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ด้วยความเรียบร้อย ขอให้ทุกท่านเดินทางกลับด้วยความสวัสดิภาพ

วันที่ 19 ก.ค. 66 เวลา 08.45น. นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้มอบแนวทางการปฏิบัติงาน ในเวทีการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการปฏิบัติ งานด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ณ โรงแรมบูติค ซิตี้ จังหวัดชลบุรี โดยมีนายสมศักดิ์ อยู่รอต รักษาการในตำแหน่งรองเลขาธิการ, นางวรรณี มหานีรานนท์ ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ ดร.ทศพล วิชัยดิฐ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบ ดร.วิญญู สะตะ ผู้อำนวยการสำนักฟื้นฟูและพัฒนาเกษตร หัวหน้าส่วนส่งเสริมการฟื้นฟูฯ ภูมิภาคที่ 1 – 4 หัวหน้าส่วนฝึกอบรม พนักงานอาวุโส พนักงานทั่วไป ลูกจ้างสำนักงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

นายสไกร ได้กล่าวว่าการอบรมครั้งนี้เป็นการพัฒนางาน โดยให้ตระหนักถึงการรู้บทบาทหน้าที่ เพื่อพัฒนาการแก้ไขปัญหาของเกษตร และเป้าหมายให้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งเป็นเพราะพวกเราทุกคนเป็นหน่วยปฏิบัติการ จากการอบรมผู้บริหาร หน.ส่วน หน.สำนักงานสาขาจังหวัด ที่จังหวัดกาญจนบุรี ได้วางนโยบายไว้ 3 ด้าน คือ

1. ด้านบริหารสำนักงาน

2. ด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

3. ด้านการจัดการหนี้ของเกษตรกร

โดยในด้านการฟื้นฟูฯ จะต้องเริ่มต้นที่กลุ่มเป้าหมายคือองค์กรเกษตรกร ต้องมีการพัฒนากลุ่มองค์กรที่มีอยู่ให้เป็นองค์กรต้นแบบ เป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งปัจจุบันนี้มีองค์กรต้นแบบกว่า 400 องค์กร โดยจัดกระบวนการเชื่อมโยงให้เข้าระบบแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น canva หรือ TIKTok สำหรับตอนนี้ ทาง กฟก. ได้ทำ MOU ร่วมกับ อตก. เพื่อที่จะนำสินค้าขององค์กรต้นแบบไปจัดจำหน่าย โดยจะนำแพลตฟอร์มเหล่านี้มาเป็นช่องทางการตลาดเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่องค์กร นอกจากนี้ทาง สนง. กฟก. จะมีคณะทำงานทั้ง 5 ชุด ซึ่งเป็นตัวแทนของเลขาธิการ เพื่อติดตามการดำเนินงานด้านต่างๆ ซึ่งจะมีการลงพื้นที่ประมาณเดือนสิงหาคม แล้วนำผลติดตามงานมาประมวลผล เพื่อให้การปฏิบัติงานก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ร่วมกัน

Recommended Posts