“บอร์ดบริหารประชุมนอกสถานที่ส่งท้ายปิดปีงบประมาณ 2565 อนุมัติแผนใช้จ่ายงบประจำปี 2566 และลงพื้นที่เยี่ยมองค์กรเกษตรกร ณ จังหวัดเพชรบุรี“
เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา
ณ ห้องประชุมธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาเมืองเพชรบุรี จ.เพชรบุรี คณะกรรมการบริหารได้ประชุมครั้งที่ 42/2565 นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท เป็นประธานการประชุม นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มอบหมายให้ นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการ ทำหน้าที่เลขานุการ
เมื่อมีการประชุมแล้วเสร็จ คณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และสำนักฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้ปฏิบัติงานลงพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี นำโดย ดร.วิญญู สะตะ ผู้อำนวยการฯ นางโสมสุดา โพธิ์อินทร์ รองผู้อำนวยการฯ และนายใกล้รุ่ง ไชยกุล หัวหน้าส่วนส่งเสริมการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ภูมิภาคที่ 2 เพื่อเยี่ยมกลุ่มองค์กรเกษตรกรที่ได้รับงบฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร ซึ่งประกอบด้วย
กลุ่มเกษตรกรทำนาโพพระ รหัสองค์กร 76430001
1. กลุ่มเกษตรกรทำนาโพพระ รหัสองค์กร 7643000123 ได้รับงบอุดหนุนปี 2559 จำนวน 30,000 บาท โครงการปลูกผักเกษตรปลอดสาร มีสมาชิก 223 คน ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 15 คน ณ บ้านเลขที่ 6/2 ม.5 ต.โพพระ อ.เมืองเพชรบุรี จ.เพชรบุรี กิจกรรมขององค์กร ประกอบไปด้วย ปลูกผักปลอดสาร (ผักบุ้ง,ผักกาดขาว,ต้นทานตะวันอ่อนผักชี,ผักสลัด,กล้วยหอมทอง) เลี้ยงไก่ ข้าวเกรียบงา ซึ่งปัจจุบันองค์กรเป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อให้บุคคลภายนอกเข้าศึกษาดูงาน
กลุ่มเกษตรกรบ้านดอน รหัสองค์กร 7643002959
2. กลุ่มเกษตรกรบ้านดอน รหัสองค์กร 7643002959 ได้รับงบกู้ยืมปี 2564 จำนวน 500,000 บาท โครงการเลี้ยงโคขุนเพื่อจำหน่าย มีสมาชิก 127 คน ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 24 คน ณ บ้านเลขที่ 97 ม.8 ต.นายาง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ตลาดหรือกลุ่มลูกค้าหลัก กลุ่มพ่อค้าส่งออกโคขุน เพื่อขายผ่านตลาดประเทศมาเลเซีย และเวียดนาม สามารถทำข้อตกลงและทำสัญญาซื้อคืนสินค้าที่ผลิต (โคขุน) และทำการตลาดส่งออกต่างประเทศโดยตรง และยังขายให้กับพ่อค้าทั่วไป
กลุ่มเกษตรกรบ้านโป่งเก้งพัฒนา ม.8 รหัสองค์กร 7643001413
3. กลุ่มเกษตรกรบ้านโป่งเก้งพัฒนา ม.8 รหัสองค์กร 7643001413 ได้รับงบกู้ยืม (งบกลาง) ปี 2565 จำนวน 315,000 บาท โครงการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรการเลี้ยงโค มีสมาชิก 68 คน ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 10 คน ณ บ้านเลขที่ 168/1 ม.8 ต.ไร่ใหม่พัฒนา อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี โครงการเลี้ยงโคมีความเหมาะสมกับพื้นที่ของกลุ่ม สมาชิกในครอบครัวแต่ละครอบครัวมีความชำนาญในการเลี้ยงโคเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สามารถทำร่วมกันได้ ทำให้เกิดความรัก ความสามัคคี ที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้ครอบครัวและชุมชนเกิดความเข้มแข็ง