ชื่อองค์กรเกษตรกร : กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพเพื่อการเกษตร

รหัสองค์กรเกษตรกร : 8461000013

สถานที่ตั้งองค์กรเกษตรกร : เลขที่ 19/2 หมู่ 6 ตำบลพะแสง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี  84230

ชื่อประธานองค์กรเกษตรกร : นายวัชรินทร์  มุกดา

โทรศัพท์ : 098-0569597

ชื่อโครงการ : โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

งบประมาณที่อนุมัติงบกู้ยืม : 500,000.00 บาท ในปีงบประมาณ 2564

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/การดำเนินงานโครงการ

  1. กิจกรรมผลิตปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ

– ทางกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพจากขี้หมู-ขี้ไก่-ขี้ค้างคาว-ขี้เค้ก-ขุยมะพร้าว-กากน้ำตาล รับซื้อขี้ค้างคาวจากสมาชิกและชาวบ้านในชุมชน ขายปุ๋ยกิโลกรัมละ 6 บาท กระสอบละ 40 กิโลกรัม รวมค่าแรงค่าบรรจุพร้อมส่ง ขายให้กับชาวบ้านในชุมชนและจังหวัดใกล้เคียง ขายกระสอบละ 260 บาท เพราะในปัจจุบันค่าวัสดุดิบ มีราคาสูงขึ้น

– สมาชิกในกลุ่มมีรายได้จากกระบวนการผลิตปุ๋ยตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และมีการจ่ายค่าแรงงานตามประเภทของกิจกรรมให้กับสมาชิกทุกคน

2. กิจกรรมเลี้ยงหมูป่าแบบปล่อย เป็นอาชีพเสริม และ ได้ขี้หมูทำปุ๋ย ซึ่งมีสมาชิกในกลุ่มเลี้ยงจำนวน 7 ครอบครัว

          จุดเริ่มต้นจากการเลี้ยงหมู 5 ตัว ต่อมีตัวผู้โดนชาวบ้านยิงตายหมด จึงมีแนวคิดเลี้ยงหมูตัวเมียแบบปล่อยผสมพันธุ์กับหมูป่า ปัจจุบันหมู่ป่าที่เลี้ยงเป็นการพัฒนาสายพันธุ์กระหว่างหมูบ้าน หมูป่า และหมูพันธุ์ดูร็อค (โตเร็ว มีเนื้อแดงมาก ใช้อาหารน้อย) ส่งผลให้หมูที่เลี้ยงทนต่อโรคระบาดในหมูต่างๆ

– อาหารหมูบางส่วนได้จากเศษอาหารจากโรงเรียนและตลาดสดในชุมชนนำมาผสมก่อนให้เป็น อาหารหมู

– เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2565 ขายหมูไป 40 ตัว ราคาขายหมูน้ำหนัก 5-6 กิโลกรัม ขายให้ชาวบ้านคู่ละ 700 บาท ขายให้พ่อค้าคนกลางหมูน้ำหนัก 7-10 ราคาตัวละ 1,700-2,000 บาท ซึ่งจะนำไปขายต่อตลาดต่างประเทศ ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา เป็นต้น

 สถานการณ์ของโครงการในปัจจุบัน :

1. รายได้ในการขายปุ๋ยต่อรอบ 1,200 กระสอบ/รอบการผลิต ขายกระสอบละ 260 บาท มีรายได้ต่อรอบ 312,000 บาท บริหารเงินแบ่งเป็น 3 ส่วน เก็บไว้เป็นค่าแรงงาน 35% ค่าวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆในการผลิตปุ๋ย 35% และ เป็นเงินกองกลางไว้จ่ายคืนทุนกองทุนฟื้นฟูฯ 30% ผลิต 3 รอบ/ปี

2. ปัจจุบันมีแม่พันธุ์หมู 25 ตัว พ่อพันธุ์ 4 ตัว ตั้งท้องอยู่ 12 ตัว แม่หมู 1 ตัว ให้ลูกครั้งละ 8-10 ตัว มีลูกหมูที่กำลังขุนอยู่ 120 ตัว และตั้งท้องได้ปีละ 3 ครั้ง

3. กลุ่มครบกำหนดชำระคืนเงินกองทุนในปี 2565 ทางกลุ่มได้ดำเนินการชำระเงินคืนกองทุนแล้ว จำนวน 100,000 บาท เมื่อเดือน 1 กรกฎาคม 2565 ตามแผนการชำระคืนเงินกู้ยืม

กิจกรรมในอนาคต :

1. ต้องการเงินทุนขยายโรงเรือนและซื้อเครื่องผลิตปุ๋ยอัดเม็ดเพื่อขาย และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการขนย้ายวัตถุดิบและปุ๋ย

2. ต้องการพัฒนาอาชีพการทำเครื่องจักรสาน, การแปรรูปอาหาร เช่น น้ำพริกสมุนไพร กลอยแห้ง กล้วยกรอบแก้ว หมูเปรี้ยว ปลาดุกร้า และอื่นๆ ให้กับสมาชิก

3. ต้องการเปิดเป็นแหลงท่องเที่ยงเชิงนิเวศน์ โดยกระจายรายได้ให้กับชุมชนที่ปรับปรุงที่พักอาศัยเป็นแบบ โฮมสเตย์เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว พื้นที่เป็นของหมู่บ้านอยู่ใกล้กับเขื่อนเชี่ยวหลาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และใกล้วนอุทยานเขาสกที่เป็นพื้นที่ภูเขา ป่าอนุรักษ์กว่า 6,000 ไร่ ที่นายวัชรินทร์ มุกดา กับ กลุ่มอนุรักษ์ ช่วยกันรักษาพิทักษ์ป่า

Recommended Posts