วันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 เวลา 10.00 น. นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการ นายสมศักดิ์ อยู่รอต ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 2 รักษาการในตำแหน่งรองเลขาธิการ ผู้อำนวยการสำนัก ได้รับมอบหมายจากเลขาธิการ แสดงความยินดีในการเข้ารับตำแหน่งใหม่ของ นายสยาม นนท์คำจันทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิภาคราชการในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ และผู้อำนวยการสำนัก  ที่อยู่อาศัย สถาบันองค์กรพัฒนาชุมชน (พอช.) ในโอกาสที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้อำนวยการ (ผช.ผอ.) สถาบันองค์กรพัฒนาชุมชน มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 ในโอกาสนี้ นายสมภาส  นิลพันธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิภาคราชการใน คกก.กฟก.ร่วมแสดงความยินดีในครั้งนี้ด้วย

อ่านต่อ

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 เวลา 10.30 น. ผู้บริหารห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์เข้าพบนายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯเพื่อร่วมกันหาแนวทางขยายตลาดด้านการเกษตร โดยนำผลผลิตของเกษตรกรสมาชิกมาจำหน่ายภายในศูนย์การค้า เป็นการสร้างรายได้และเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับเกษตรกรสมาชิกต่อไป

อ่านต่อ
อ่านต่อ

วันที่ 22 กันยายน 2564 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ โดย นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ประธานกรรมการบริหาร พร้อมด้วย นายสมศักดิ์ อยู่รอต ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 2 (ภาคกลาง) รักษาการในตำแหน่งรองเลขาธิการ นางโสมสุดา โพธิ์อินทร์ รองผู้อำนวยการสำนักฟื้นฟูฯ นางปิยะพร จันทรสา หัวหน้าสาขาอุดรธานี รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าสาขา  กทม. ได้รับมอบหมายจากเลขาธิการ และคณะอนุกรรมการฯกรุงเทพมหานคร คณะอนุกรรมการฯ จังหวัดปทุมธานี ในการลงพื้นที่เยี่ยมและให้กำลังใจเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ตามโครงการสายใยรักกองทุนฟื้นฟูฯ สู่พี่น้องหนองจอก ในพื้นที่ แขวงลำต้อยติ่ง เขตหนองจอก กทม. ซึ่งได้รับผลกระทบจากอุทกภัยรวม 95 ครัวเรือนและจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  ทำให้ไม่สามารถประชุมเพื่อรับงบกู้ยืมโครงการฟื้นฟูฯได้ โดยองค์กรได้ขอยกเลิกโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้ว

การลงพื้นที่ในครั้งนี้ ผู้บริหาร กฟก.ร่วมกับกลุ่มจิตอาสา Full Heart เต็มใจแบ่งปัน และมูลนิธิสยามรวมใจปู่อินท์บางบอน มอบถุงยังชีพให้กับเกษตรกรสมาชิก ในโอกาสนี้ได้มีการมอบเกียรติบัตรเพื่อเป็นเกียรติและขอบคุณทั้ง 2 ภาคีที่ได้ให้การสนับสนุนถุงยังชีพ เพื่อให้กำลังใจเกษตรกรสมาชิกในครั้งนี้

อ่านต่อ

วันที่ 21 กันยายน 2564 คณะกรรมการบริหาร ประชุมครั้งที่ 47/2564 โดยมีนางรัชฎาภรณ์     แก้วสนิท เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 5 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ ทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการ โดยที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการกรอบและแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และการของบกลางปี 2565 รายการเงินสำรองเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อนำเสนอคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรให้ความเห็นชอบต่อไป

อ่านต่อ

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร     เป็นประธานในพิธีมอบเช็คโครงการฟื้นฟูฯ เช็คชำระหนี้ และมอบโฉนดที่ดินคืนให้เกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ จังหวัดอำนาจเจริญ ณ ศูนย์เรียนรู้ผักอินทรีย์เมืองธรรมเกษตรไร่ภูตะวันออร์แกนิคฟาร์ม อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

กิจกรรมในครั้งนี้มีโครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร ที่ผ่านความเห็นชอบ 14 โครงการ มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ  266 ราย  14 กลุ่มองค์กร เป็นเงิน  8,835,000 บาท มอบเช็คชำระหนี้แทน 3 สหกรณ์ เป็นเงิน 2,835,240.19 บาท มอบโฉนดที่ดินและใบประกาศเกียรติคุณให้เกษตรกรที่ชำระหนี้ครบตามสัญญา 40 ราย

กองทุนฟื้นฟูฯ มีภารกิจสำคัญที่ช่วยเหลือเกษตรกร 2 ด้าน คือ การฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร โดยให้เกษตรกรรวมกลุ่มยื่นเสนอแผนและโครงการของบประมาณ เพื่อใช้พัฒนาอาชีพทางการเกษตร และการแก้ไขปัญหาหนี้ให้พี่น้องเกษตรกรสมาชิก ทั้งกรณีที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และบุคคลค้ำประกัน สำหรับจังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดยโสธร มีองค์กรเกษตรกร จำนวน  925  องค์กร สมาชิก 112,128 ราย ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการฟื้นฟูอาชีพแล้ว 253 โครงการ งบประมาณ 24.72 ล้านบาท โดยในปีงบประมาณ 2564 ได้รับการอนุมัติโครงการฟื้นฟูเพิ่มเติม จำนวน 14 องค์กร 14 โครงการ เป็นเงิน 8.83 ล้านบาท ด้านการจัดการหนี้ ได้รับการชำระหนี้แทน จำนวน 892 ราย จำนวนเงิน 89.9 ล้านบาท รักษาที่ดินให้เกษตรกรได้ถึง 438 แปลง เนื้อที่ประมาณ 3,688 ไร่ และโอนหลักทรัพย์คืนเกษตรกรที่ชำระหนี้ครบถ้วน 210 แปลง เนื้อที่ประมาณ 1,576 ไร่ โดยในปีงบประมาณ 2564 ได้รับการชำระหนี้แทน จำนวน 16 ราย เป็นเงิน 4.7 ล้านบาท ได้รับอนุมัติปิดบัญชี จำนวน 132 ราย

อ่านต่อ

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร     เป็นประธานในพิธีมอบเช็คโครงการฟื้นฟูฯ เช็คชำระหนี้ และมอบโฉนดที่ดินคืนให้เกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ จังหวัดอุบลราชธานี ณ สุนีย์ แกรนด์ โฮเต็ล แอนด์ คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

กิจกรรมในครั้งนี้มีโครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรที่ผ่านความเห็นชอบ 13 โครงการ มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ  273 ราย 13 กลุ่มองค์กร เป็นเงิน 11,333,000 บาท มอบเช็คชำระหนี้แทน 3 สหกรณ์ เป็นเงิน 30,796,773.23 บาท มอบโฉนดที่ดินและใบประกาศเกียรติคุณให้เกษตรกรที่ชำระหนี้ครบตามสัญญา 30 ราย

กองทุนฟื้นฟูฯ มีภารกิจสำคัญที่ช่วยเหลือเกษตรกร 2 ด้าน คือ การฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร โดยให้เกษตรกรรวมกลุ่มยื่นเสนอแผนและโครงการของบประมาณ เพื่อใช้พัฒนาอาชีพทางการเกษตร และการแก้ไขปัญหาหนี้ให้พี่น้องเกษตรกรสมาชิก ทั้งกรณีที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และบุคคลค้ำประกัน สำหรับจังหวัดอุบลราชธานีมีองค์กรเกษตรกร 1,043 องค์กร สมาชิก 223,909 ราย ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการฟื้นฟูอาชีพแล้ว 194 โครงการ งบประมาณ 22.18 ล้านบาท โดยในปีงบประมาณ 2564 ได้รับการอนุมัติโครงการฟื้นฟูเพิ่มเติม จำนวน 13 องค์กร 13 โครงการ เป็นเงิน 11.33 ล้านบาท ด้านการจัดการหนี้ ได้รับการชำระหนี้แทน จำนวน 408 ราย จำนวนเงิน 85.20 ล้านบาท รักษาที่ดินให้เกษตรกรได้ถึง 303 แปลง เนื้อที่ประมาณ 2,335 ไร่ และโอนหลักทรัพย์คืนเกษตรกรที่ชำระหนี้ครบถ้วน 87 แปลง เนื้อที่ประมาณ 681 ไร่ โดยในปีงบประมาณ 2564 ได้รับการชำระหนี้แทน จำนวน 35 ราย เป็นเงิน 33.40 ล้านบาท ได้รับอนุมัติปิดบัญชี จำนวน 30 ราย

อ่านต่อ

วันที่ 22 เมษายน 2564 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดหนองบัวลำภู โดยนางสาวละมัย คำแสน พนักงานอาวุโส นางสาวจารุวรรณ บุญทัน พนักงานทั่วไป ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดหนองบัวลำภู ดำเนินการชำระหนี้แทนให้กับเกษตรกรจากสหกรณ์การเกษตรเมืองหนองบัวลำภู จำนวน 2 ราย รวมเป็นเงิน 1,131,421.26 บาท หลักทรัพย์ 4 แปลง เนื้อที่ 25 ไร่ 1 แปลง 55 ตารางวา

อ่านต่อ

วันที่ 19 เมษายน 2564 นายสไกร พิมพ์บึง รองเลขาธิการ รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการ ผู้อำนวยการสำนัก/หัวหน้าส่วน ประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ร่วมกับสำนักกิจการสาขาภูมิภาค สำนักงานสาขาจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อติดตามงานและการดำเนินงานตามการแบ่งเขตบูรณาการ และแนวทางการดำเนินการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาด           ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอก 3 ซึ่งสำนักงานได้มีแผนการปฏิบัติงานที่เป็นไปตามที่รัฐบาลได้ออกประกาศให้มีการปฏิบัติงานตามแผน work from home ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่จะต้องเกิดผลกระทบและอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานเพื่อพี่น้องเกษตรกรให้น้อยที่สุด

อ่านต่อ

ตามที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มีภารกิจเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สิน และฟื้นฟูอาชีพให้กับเกษตรกรสมาชิกที่มีอยู่ทั่วประเทศกว่า 5 ล้านคนนั้น

โดยในภารกิจด้านการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ ได้เปิดให้กลุ่มองค์กรเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ยื่นเสนอแผนหรือโครงการ เพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนและพัฒนาอาชีพ ตามที่คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ นำโดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรได้อนุมัติงบประมาณ และคณะกรรมการบริหาร นำโดยนางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ประธานกรรมการบริหาร พิจารณาจัดสรรงบประมาณลงสู่กลุ่มองค์กรเกษตรกรสมาชิกที่ยื่นเสนอของบประมาณสนับสนุนอาชีพ และภายใต้การอนุมัติงบประมาณดังกล่าว จึงได้จัดให้มีเวทีพิจารณาอนุมัติแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรของคณะกรรมการบริหาร

 สำหรับเวทีนี้จัดขึ้นเป็นเวทีที่ 5 นำโดย นายสำเริง ปานชาติ รองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 2 พร้อมด้วยนายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการ นายรัตนกุล โพธิ ผู้อำนวยการสำนักบริหาร  นายประยงค์ อัฒจักร ผู้อำนวยการสำนักฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นายทศพล วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบ พนักงานสำนักฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นายสุกิจ ลุ้งใหญ่ ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 4 (ภาคใต้)  พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสาขาจังหวัดเขตภาคใต้ ตัวแทนอนุกรรมการจังหวัด ร่วมกันกลั่นกรองแผนและโครงการที่องค์กรเกษตรสมาชิกยื่นเสนอผ่านสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ ​เวทีในครั้งนี้จัดขึ้น ณ  โรงแรมชฎา แอท นคร จังหวัดนครศรีธรรมราช กำหนดจัดเวทีระหว่างวันที่ 23-27 มีนาคม 2564 ซึ่งผลการพิจารณาอนุมัติจะมีการนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการบริหารต่อไป  ในการนี้นายไชยยศ จิรเมธากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เข้าร่วมรับฟังการการพิจารณากลั่นกรองเสนอต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูฯ ด้วย

อ่านต่อ