วันที่ 19 มีนาคม 2567 เวลา 10.00 น. ที่ห้องประชุมชั้น 6 ห้อง 6A สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 8/2567 โดยมีนายสุรชัย เบ้าจรรยา เป็นประธานการประชุม และมีนายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน เป็นเลขานุการคณะ โดยในช่วงเช้าคณะกรรมการบริหารได้มอบหมายให้คณะทำงานวางแผนประชาสัมพันธ์สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ นำเสนอโครงการประชุมสมัชชาใหญ่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในวาระครบรอบ 25 ปี คิดใหม่ ทำใหม่ คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อเกษตรกรทุกคน ที่ประชุมมีมติให้คณะทำงานปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดให้สอดคล้องกับงบประมาณ โดยให้คำนึงถึงความคุ้มค่าและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อเกษตรกร ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะต้องเชื่อมโยงกับนโยบายของรัฐบาลด้วย และให้นำเสนอโครงการต่อที่ประชุมคณะกรรมการในคราวประชุมครั้งต่อไป

ในช่วงบ่าย เวลา 14.00 น. ที่ห้องประชุมชั้น 3 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นายสุรชัย เบ้าจรรยา ประธานกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พร้อมด้วย คณะกรรมการบริหาร ผู้แทนจากคณะกรรมการจัดการหนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ ผู้บริหารสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ ประชุมมอบนโยบายผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีสาขาจังหวัดทั่วประเทศเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง

นายสุรชัย เบ้าจรรยา ได้มอบนโยบายตกับผอ.สน.กิจการสาขาจังหวัด หนู.สนง. และพนักงาน-ลูกจ้างสาขาจังหวัดทั่วประเทศว่า ตั้งแต่เข้ามาทำหน้าที่ได้เดือนเศษ ได้รับข้อมูลเรื่องมีกลุ่มบุคคลแอบอ้างกองทุนฟื้นฟูฯ ในการเรียกรับผลประโยชน์ทั้งเรื่องการเขียนแผนโครงการ และเรื่องการจัดการหนี้ ซึ่งเรื่องนี้คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการจัดการหนี้ มีความกังวลใจ ห่วงใยต่อพี่น้องเกษตรกรทุกภาคทุกจังหวัด จึงขอให้ทุกสาขาจังหวัดกระจาย ขยายข่าวให้เกษตรกรทุกพื้นที่ได้รับทราบว่า กองทุนฟื้นฟูฯ ไม่มีนโยบายเรียกเก็บเงินจากเกษตรกร ท่านใดที่มีปัญหาเดือดร้อนให้ติดต่อกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดโดยตรง ฝากทุกสาขาให้เร่งอธิบาย ทำสื่อประชาสัมพันธ์ทุกช่องทางให้เข้าถึงเกษตรกร ในส่วนของฝ่ายบริหารได้เตรียมพร้อมในการของบประมาณจากรัฐบาลสำหรับการบริหารงานทุกด้าน เกษตรกรจะต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ตกเป็นเหยื่อของนายหน้าค้าความจน พนักงานเจ้าหน้าที่ทุกคนจะต้องมีสวัสดิการในการทำงาน เรื่องใดที่จะช่วยให้การทำงานราบรื่น ฝ่ายบริหารยินดีให้ความช่วยเหลือในทุกด้าน จึงขอให้กำลังใจผู้ปฏิบัติงานทุกท่านที่ให้ความทุ่มเทเสียสละทำงานเพื่อเกษตรกร

ในเรื่องผลงานของกองทุนฟื้นฟูฯ นั้นมีอยู่หลายด้าน สิ่งสำคัญคือต้องดึงเอาจุดเด่นออกมานำเสนอให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ผลผลิตทางการเกษตรของสมาชิกที่มีความโดดเด่นนั้นสามารถผลักดันให้เป็นสินค้า Soft Power ได้ การแก้ไขปัญหาหนี้มีความคืบหน้าไปมาก มีการตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สิน มีการกำหนดแนวทางในการปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้ของรัฐบาล ปัญหาที่จำเป็นต้องสะสางจะเร่งดำเนินงานให้เร็ว และต้องทำงานเชิงรุก เน้นการเข้าถึง คิดใหม่ ทำใหม่ คิดใหญ่ ทำเป็น ตามที่ได้มอบนโยบายไว้กับคณะผู้บริหารของกองทุนฟื้นฟูฯ “เกษตรกรต้องอยู่ดีกินดี ไม่มีปัญหาหนี้สิน”

อ่านต่อ

วันที่ 22 มีนาคม 2567 ที่ห้องประชุมพระพิพิธโภไคย ชั้น 3 อาคารเก่า (ตึกหน้า) ศาลากลางจังหวัดชลบุรี นายสุรชัย เบ้าจรรยา ประธานกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พร้อมด้วย คณะทำงานตรวจสอบ ติดตาม สนับสนุน ประเมินผล แก้ไขปรับปรุงและการดำเนินการแผนหรือโครงการพื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นางโสมสุดา โพธิ์อินทร์ ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 2 (ภาคกลาง) นายวงศ์วริศ์ วงษ์จันทร์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร เจ้าหน้าที่ส่วนบริหารสินทรัพย์ สำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดภาคกลาง 26 จังหวัด และเกษตรกรในพื้นที่ เข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังนโยบายเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

นายสุรชัย เบ้าจรรยา ประธานกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เปิดเผยว่า เป็นโอกาสดีที่ได้มาร่วมประชุมกับหัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดภาคกลางทั้ง 26 จังหวัด ซึ่งเป็นเวทีแรกที่ได้พบปะกับหน.สาขาจังหวัดอย่างเป็นทางการ ในโอกาสที่ได้มีการประชุมคณะทำงานตรวจสอบติดตาม สนับสนุน ประเมินผล แก้ไขปรับปรุงและการดำเนินการแผนหรือโครงการพื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการคืนหลักประกันให้กับเกษตรกรสมาชิกที่ชำระหนี้คืนกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรครบถ้วนตามสัญญา ให้เกษตรกรจำนวน 11 คน จากพื้นที่ 4 จังหวัดภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ระยอง ซึ่งทุกท่านที่มาในวันนี้ต่างเป็นเกษตรกรสมาชิกชั้นดีที่ให้ความร่วมมือผ่อนชำระหนี้คืนครบจำนวนตามสัญญา กองทุนฟื้นฟูฯ มีหน้าที่ช่วยเหลือสมาชิกที่มีปัญหาเรื่องหนี้สิน และมีหน้าที่รักษาหลักทรัพย์ที่ดินทำกินให้เกษตรกร เมื่อคืนเงินครบถ้วนแล้วก็จะได้รับโฉนดที่ดินคืน เป็นที่ทำกินส่งต่อให้ลูกหลานต่อไปด้วย นี่คือภารกิจที่น่าภาคภูมิใจของกองทุนฟื้นฟูฯ

เมื่อท่านได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้แล้ว หลังจากนั้นจะได้รับการช่วยเหลือส่งเสริมทางด้านอาชีพให้มีความมั่นคงยั่งยืนผ่านการเสนอแผนและโครงการเพื่อขอรับงบประมาณส่งเสริมอาชีพในองค์กร ที่มีคณะทำงานตรวจสอบ ติดตาม สนับสนุน ประเมินผล แก้ไขปรับปรุงและการดำเนินงานแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารชุดนี้ ซึ่งภาคกลางได้เริ่มทำงานและมีความคืบหน้าไประดับหนึ่งแล้ว และเชื่อมั่นว่าในระยะเวลาอันสั้นนี้ภารกิจด้านการฟื้นฟูฯ ในพื้นที่ภาคกลางจะสำเร็จเป็นรูปธรรมมากขึ้น
นายสุรชัย เบ้าจรรยา ได้มอบนโยบายกับหัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดภาคกลาง และเกษตรกรที่เข้าร่วมประชุมว่า ตั้งแต่เข้ามาทำหน้าที่ได้เดือนเศษ ได้รับข้อมูลเรื่องมีกลุ่มบุคคลแอบอ้างกองทุนฟื้นฟูฯ ในการเรียกรับผลประโยชน์ทั้งเรื่องการเขียนแผนโครงการ และเรื่องการจัดการหนี้ ซึ่งเรื่องนี้คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการจัดการหนี้ มีความกังวลใจ ห่วงใยต่อพี่น้องเกษตรกรทุกภาคทุกจังหวัด จึงขอให้ทุกสาขาจังหวัดเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้เกษตรกรรับทราบว่า กองทุนฟื้นฟูฯ ไม่มีนโยบายเรียกเก็บเงินจากเกษตรกร หากท่านใดมีปัญหาเดือดร้อนให้ติดต่อกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดโดยตรง ในส่วนของฝ่ายบริหารได้เตรียมพร้อมในการของบประมาณจากรัฐบาลสำหรับการบริหารงานทุกด้านเพื่อสานต่อภารกิจต่อพี่น้องเกษตรกรทุกภูมิภาคอย่างเท่าเทียม

ในเรื่องผลงานของกองทุนฟื้นฟูฯ นั้นมีอยู่หลายด้าน สิ่งสำคัญคือต้องดึงเอาจุดเด่นออกมานำเสนอให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ผลผลิตทางการเกษตรของสมาชิกที่มีความโดดเด่นนั้นสามารถผลักดันให้เป็นสินค้า Soft Power ได้ การแก้ไขปัญหาหนี้มีความคืบหน้าไปมาก มีการตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สิน มีการกำหนดแนวทางในการปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้ของรัฐบาล ปัญหาที่จำเป็นต้องสะสางจะเร่งดำเนินงานให้เร็ว และต้องทำงานเชิงรุก เน้นการเข้าถึง “คิดใหม่ ทำใหม่ คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อเกษตรกรไทยทุกคน” ตามที่ได้มอบนโยบายไว้กับคณะผู้บริหารของกองทุนฟื้นฟูฯ “เกษตรกรต้องอยู่ดีกินดี ไม่มีปัญหาหนี้สิน”

อ่านต่อ

วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ห้องประชุม 6A ชั้น 6 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นายสุรชัย เบ้าจรรยา เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ครั้งที่ 5/2567 นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มอบหมายให้ นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการ เข้าประชุมและทำหน้าที่เลขานุการคณะ

สำหรับการประชุมในครั้งนี้ได้มีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะทำงานควบคุมกำกับการใช้จ่ายเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยมีอำนาจหน้าที่ให้คำปรึกษากลั่นกรองติดตามการใช้จ่ายเงิน ผลการใช้จ่ายเงิน และการรับเงิน การดำเนินงานเกี่ยวกับสินทรัพย์ของ กฟก. เช่น ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ลูกหนี้องค์กรเกษตรกร ลูกหนี้เกษตรกร หนี้สิน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามแผนการดำเนินงานที่ต้องรายงานต่อคณะกรรมการบริหาร ให้คำปรึกษากลั่นกรอง จัดทำรายงานด้านการเงิน งบประมาณ และการเสนอรายงานงบทดลองรายเดือน รายไตรมาส รายปี ต่อคณะกรรมการบริหาร ให้คำปรึกษาสำนักงานด้านการปฏิบัติงาน ด้านงบประมาณบัญชีและการเงินให้เป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบของสำนักงาน การกำกับติดตามและให้คำปรึกษาในการสะสางข้อมูลบัญชีตามข้อเสนอแนะของ สตง. และเรียกเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งด้านการเงิน ทรัพย์สินต่าง ๆ และเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ข้อมูลต่อคณะทำงาน

ทั้งนี้การตั้งคณะทำงานชุดดังกล่าวขึ้นมาก็เพื่อ มุ่งเน้นให้มีการใช้จ่ายงบประมาณให้มีประสิทธิภาพและให้เข้าถึงเกษตรเกษตรกรเพื่อเกษตรกรได้ประโยชน์สูงสุดต่อการใช้งบประมาณของกองทุน

อ่านต่อ

วันที่ 22 กันยายน 2566 นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีประกาศกำหนดวันเลือกตั้ง วันรับสมัครรับเลือกตั้ง สถานที่สมัครรับเลือกตั้ง โดยกำหนดให้วันที่ 18 – 22 กันยายน 2566 ตั้งแต่เวลา 08.30 น. – 16.30 น. เป็นวันรับสมัครเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. 2566 และเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2566 ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 15.00 น. สำหรับสถานที่รับสมัครกำหนดให้ภาคเหนือ ที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ภาคกลาง ที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (สำนักงานใหญ่) กรุงเทพมหานคร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น และภาคใต้ ที่ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่ง กฟก.ได้ประชาสัมพันธ์การรับสมัครผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ สื่อโซเชียล หน่วยงานภาคีความร่วมมือ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ช่วยกระจายข่าวให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบและสมัครเพื่อเป็นผู้แทนเกษตรกรของ กฟก. โดยได้มีการติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด ให้แต่ละศูนย์รายงานผลเป็นรายวัน ทั้งยังได้ลงพื้นที่เยี่ยมศูนย์รับสมัครทั้ง 4 ภูมิภาค เพื่อให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและพบปะกับผู้สมัครในแต่ละภูมิภาคด้วย

สรุปข้อมูลผู้มาสมัครผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. 2566 ณ วันที่ 22 กันยายน 2566 ภาคเหนือ มีผู้สมัครจำนวน 28 คน ภาคกลาง มีผู้สมัคร จำนวน 19 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีผู้สมัคร จำนวน 57 คน และภาคใต้ มีผู้สมัคร จำนวน 23 คน รวมทั้งสิ้น 127 คน โดยในภาพรวมวันที่ 18 กันยายน ซึ่งเป็นวันแรกของการเปิดรับสมัครนั้น มีจำนวนผู้มาสมัครสูงสุดกว่าในทุกวัน ส่วนวันถัดไปก็ยังมีทยอยกันมาสมัครอย่างต่อเนื่อง

ในปีนี้บรรยากาศการรับสมัครเป็นไปด้วยความคึกคัก ทุกภูมิภาคมีจำนวนผู้สมัครเพิ่มขึ้นกว่าทุกครั้ง และมีผู้สมัครหน้าใหม่ทั้งที่เป็นคนรุ่นใหม่ ผู้นำองค์กร นักเคลื่อนไหวภาคเกษตรให้ความสนใจร่วมสมัครมากขึ้นด้วย แสดงให้เห็นว่าที่ผ่านมาเกษตรกรได้ประจักษ์ถึงผลงานในเชิงรูปธรรมที่จับต้องได้ ทั้งการแก้ไขปัญหาหนี้ การฟื้นฟูอาชีพ และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสำนักงานกับเกษตรกรที่แน่นแฟ้นมากขึ้น นับว่าเป็นมิติใหม่ของ กฟก. อย่างแท้จริง หลังจากนี้จะเป็นขั้นตอนการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร โดยในทุกขั้นตอนสำนักงานได้กำชับผู้ปฏิบัติงานให้กระทำด้วยความรอบคอบ ถูกต้อง และโปร่งใส ที่สำคัญได้เน้นย้ำให้ทุกคนวางตัวเป็นกลางในการทำงาน เพื่อให้การเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรในครั้งนี้มีความบริสุทธิ์ ยุติธรรม เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับหน่วยงานด้วย

อ่านต่อ

วันศุกร์ที่ 22 กันยายน 2566 ที่ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) พร้อมคณะผู้บริหารได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมศูนย์รับสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร ภูมิภาคที่ 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อรับฟังรายงานการรับสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีนายประยงค์ อัตจักร  ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในฐานะประธานคณะกรรมการรับสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พร้อมด้วยหัวหน้าสำนักงานสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เป็นกรรมการ จำนวน 8 คน ร่วมให้การต้อนรับและรับฟังรายงานการดำเนินงานของศูนย์รับสมัครรับเลือกตั้งฯ วันนี้เป็นวันที่ 5 วันสุดท้ายของการรับสมัคร โดยมีเกษตรกรสมาชิกที่สนใจมาสมัครเบื้องต้น 55 คน รวมจำนวนผู้สมัครทั้ง 4 ภาค (ไม่เป็นทางการ) จำนวน 118 ราย ซึ่งมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา

สำหรับประเด็นที่ได้หารือกันวันนี้  เลขาธิการกองทุนฯ ได้ย้ำถึงการวางตัวเป็นกลางของพนักงานที่ต้องยึดปฎิบัติตามระเบียบ นอกจากนี้ยังได้แจ้งแนวทางการประชุมของคณะอนุกรรมการติดตามและตรวจเยี่ยมการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร ทั้ง 4 ภาค  การจัดทำแผนประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง ซึ่งได้จัดงบประมาณให้ทุกสาขาจังหวัด ตั้งแต่ 60,000 195,000 บาท ตามจำนวนสมาชิกองค์กร นอกจากนี้ยังมีเรื่องแนวทางปฏิบัติการขอสำเนารายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง แนวทางการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งตามกฎกระทรวง ข้อ 15 

เลขาธิการฯ สไกร ได้กล่าวตอนท้ายว่า จากข้อมูลผู้มาสมัครรับเลือกตั้งทั้ง 4 ภาค มีจำนวนมากกว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมา โดยเฉพาะภาคอีสานที่มาสมัครมากถึง 55 คน ซึ่งขณะนี้ยังไม่เป็นทางการ เมื่อเทียบกับคราวที่แล้วมาสมัคร 39 คน รวมทุกภาคมีมากกว่า 120 คน จะเห็นได้ว่าเกษตรกรให้ความสนใจและเห็นความสำคัญของกองทุนฟื้นฟูฯ จึงขอฝากให้สาขาจังหวัดลงพื้นที่พบปะองค์กรเกษตรกรและเข้าถึงเกษตรกรให้ได้มากที่สุด เพื่อสร้างความเข้าใจกับเกษตรกรออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งให้ได้มากที่สุดกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา

อ่านต่อ

วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน 66 ที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) พร้อมคณะผู้บริหารได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมศูนย์รับสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร ภูมิภาคที่ 1 ภาคเหนือ เพื่อรับฟังรายงานการรับสมัครเลือกตั้ง รวมถึงการเตรียมการรณรงค์ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรสมาชิกกองทุนฯ ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรและออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งให้มากที่สุดกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา โดยมีนายรัตนกุล โพธิ ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 1 ภาคเหนือ ในฐานะประธานคณะกรรมการรับสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พร้อมด้วยหัวหน้าสำนักงานสาขาภาคเหนือที่เป็นกรรมการ จำนวน 7 คน ร่วมให้การต้อนรับและรับฟังรายงานการดำเนินวานของศูนย์รับสมัครรับเลือกตั้งฯ ซึ่งวันนี้เป็นวันที่ 4 ของการรับสมัคร โดยมีผู้มาสมัครรับเลือกตั้งแล้วจำนวน 25 คน

สำหรับประเด็นสำคัญที่ได้มีการหารือกันวันนี้ ได้แก่  แนวทางการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการติดตามและตรวจเยี่ยมการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร การประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง ซึ่งได้จัดงบประมาณให้ทุกสาขาจังหวัด ตั้งแต่ 60,000 – 195,000 บาท ตามจำนวนสมาชิกองค์กร นอกจากนี้ยังมีเรื่องแนวทางปฏิบัติการขอสำเนารายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง แนวทางการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งศูนย์รับสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรภาคเหนือ ได้รับทราบและเข้าใจในประเด็นดังกล่าว โดยมีเรื่องหารือเพิ่มเติมคือ การสมัครเป็นสมาชิกองค์กรในวันที่มาสมัครรับเลือกตั้งจะได้รับสิทธิ์หรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องสร้างความเข้าใจร่วมกันว่า คกก.กองทุนฯ เห็นชอบรายชื่อสมาชิก เพื่อทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งแล้ว ณ วันที่ 14 ส.ค. 66 เบื้องต้นจึงถือวันดังกล่าวเป็นวันรับขึ้นทะเบียนองค์กรทีมีสิทธิ์รับสมัครเลือกตั้ง ส่วนที่มาขึ้นทะเบียนภายหลัง จะแจ้งแนวปฎิบัติให้ทราบอีกครั้ง

ภายหลังการรับฟังรายงานจากประธานศูนย์รับสมัครฯ เลขาธิการกองทุนฯ ได้กล่าวกับ คกก.และพนักงานว่า การเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรครั้งนี้ จะเป็นตัวชี้วัดครั้งสำคัญว่า เกษตรกรยังรักกองทุนฯ อยู่หรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมากองทุนฯ ได้จัดการหนี้สินให้เกษตรกรกว่า 1 หมื่นล้านบาท และสนับสนุนการฟื้นฟูอาชีพให้เกษตรกรหลายพันล้านบาทซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นตัวพิสูจน์ว่ากองทุนฯ จะเดินไปในทิศทางไหนอย่างไร จึงขอฝากให้สาขาจังหวัดลงพื้นที่พบปะองค์กรเกษตรกรและเข้าถึงเกษตรกรให้ได้มากที่สุด เพื่อปลุกพลังเงียบของเกษตรกรออกมาใช้สิทธิเลือกให้ได้มากที่สุดกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา

อ่านต่อ

วันพุธที่ 20 กันยายน 66 ที่ห้องประชุมวัฒนธรรมจังหวัด ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ได้ลงพื้นที่ติดตามตรวจเยี่ยมศูนย์รับสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร ภูมิภาคที่ 4 ภาคใต้ เพื่อรับฟังสรุปการรับสมัครผู้แทนเกษตรกรเขตภาคใต้ โดยมีนายสุกิจ  ลุ้งใหญ่ ผู้อำนวยกิจสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 4 ภาคใต้ พร้อมด้วยหัวหน้าสำนักงานสาขาภาคใต้ 9 จังหวัด ที่เป็นคณะกรรมการรับสมัครรับเลือกตั้ง เข้าร่วมประชุมหารือในครั้งนี้ด้วย

เลขาธิการ กฟก. กล่าวว่า การลงพื้นที่ภาคใต้ วันนี้ ถือเป็นแห่งแรกที่ลงมารับฟังสรุปการรับสมัครเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรของภาคใต้ ซึ่งเปิดรับสมัครมาแล้ว 3 วัน มีผู้สมัครจำนวน 16 ท่าน ถือว่าได้รับความสนใจจากพี่น้องเกษตรกรสมาชิก เขตภาคใต้เป็นอย่างมาก สะท้อนให้เห็นว่า กฟก. มีผลงาน  ทำงานใกล้ชิดกับพี่น้องเกษตรกร สามารถแก้ไขปัญหาหนี้ รักษาที่ดินทำกินให้เกษตรกรได้อย่างกว้างขวาง รวมถึงการสนับสนับสนุนการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรรมให้พี่น้องได้จำนวนมาก

สำหรับการประชุมหารือในวันนี้ได้ทำความเข้าใจกับสาขาจังหวัดภาคใต้ ในประเด็นต่างๆ เช่น การเตรียมความพร้อมการลงติดตามตรวจเยี่ยมการเลือกตั้ง การประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง การตรวจคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง การขอถ่ายสำเนารายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้ง รวมถึงการวางตัวเป็นกลางพนักงาน ลูกจ้าง และอนุกรรมการฯ จังหวัด เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ถูกร้องเรียนหรือฟ้องดำเนินคดี จึงขอให้ผู้เกี่ยวข้องศึกษา ทำความเข้าใจในวิธีปฎิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย กฎกระทรวง

ในโอกาสนี้เลขาธิการกองทุนฯ จึงขอเชิญชวนพี่น้องเกษตรกรสมาชิกกองทุนฯ ได้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรให้มากที่สุด ซึ่งจะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 12 พ.ย. 66 นี้ เพื่อแสดงพลังให้รัฐบาลและประชาชนได้รับทราบ ว่ายังมีเกษตรกรรอรับการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาอีกจำนวนมาก

สำหรับการลงติดตามตรวจเยี่ยมและรับฟังสรุปการรับสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรในระดับภูมิภาคของเลขาธิการฯ มีแผนจะลงพื้นที่ ภาคเหลือ ที่ จ.เชียงใหม่ วันที่ 21 ก.ย. 66 และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วันที่ 22 ก.ย. นี้

อ่านต่อ

วันที่ 14 กันยายน 2566 เวลา 14.00 น. ที่ห้องประชุมสำนักงาน ก.พ. (เดิม) ชั้น 3 กรุงเทพมหานคร สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประชุมคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 1/2566 โดยมี นายพีรพันธ์ คอทอง รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน

นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในฐานะเลขานุการ เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้รับทราบประกาศ ทั้ง 4 ฉบับ ได้แก่ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. 2566 เรื่องกำหนดวันเลือกตั้ง วันรับสมัครรับเลือกตั้ง สถานที่รับเลือกตั้ง เรื่องกำหนดจำนวนผู้แทนเกษตรกรที่จะพึงมีในแต่ละภูมิภาค และเรื่องกำหนดจำนวนรูปถ่ายหรือรูปภาพที่พิมพ์ชัดเจนในการรับสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร โดยสำนักงานได้รายงานการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรในครั้งที่ผ่านมา ข้อมูลเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และคำสั่งสำนักงาน เรื่องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. 2566 จำนวน 3 ฉบับ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับจัดการเลือกตั้ง ซึ่งได้กำหนดให้มีการเปิดรับสมัครผู้แทนเกษตรกร ในวันที่ 18-22 กันยายน 2566 ตั้งแต่เวลา 08.30 น. – 16.30 น. และเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2566 ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 15.00 น.

สำหรับการประชุมในนัดแรกวันนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบแผนบริการจัดการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. 2566 โดยมีขั้นตอนดำเนินการ 11 ขั้นตอน จำนวน 25 กิจกรรม ระยะเวลาดำเนินการ 77 วัน เห็นชอบการใช้จ่ายงบประมาณในการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร จำนวน 120 ล้านบาท ตามที่คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรอนุมัติไว้ โดยให้กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เพื่อใช้งบประมาณจัดการเลือกตั้ง จำนวน 90 ล้านบาท ให้สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง เพื่อใช้ในการจัดพิมพ์บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 7 ล้านบาท ให้สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จำนวน 23 ล้านบาท เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง จำนวน 15 ล้านบาท และใช้ในการบริหารจัดการเลือกตั้ง จำนวน 8 ล้านบาท

นอกจากนี้เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความโปร่งใส ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 2 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้งและปัญหาข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการเลือกตั้งเกษตรกร พ.ศ. 2566 และ คณะอนุกรรมการติดตามและตรวจเยี่ยมการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. 2566 ใน 4 ภูมิภาค และเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย คณะกรรมการได้ขอความร่วมมือให้ทุกฝ่ายประเมินความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในการจัดการเลือกตั้ง และจัดทำคู่มือสำหรับจัดการเลือกตั้งที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการ คู่มือด้านกฎหมาย เพื่อให้มีความรอบคอบในทุกมิติ เพื่อป้องกันและกำหนดแนวทางให้สามารถจัดการเลือกตั้งได้สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และยังได้เน้นย้ำให้สำนักงานประชาสัมพันธ์ สื่อสารให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย จำนวนกว่า 5.2 ล้านคน เห็นความสำคัญของการเลือกตั้งและออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งให้มากที่สุด เพื่อคัดเลือกผู้แทนเกษตรกรที่มีคุณภาพ เข้ามาทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงสำคัญให้ภาคเกษตรได้รับการดูแลพัฒนาตรงกับความเดือดร้อนอย่างแท้จริง

อ่านต่อ

วันที่ 29 ส.ค. 2566 นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2566 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราบการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ได้มีการแจ้งผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ 2566 โดย ป.ป.ช.ได้จำแนกหน่วยงานของรัฐออกเป็น 8 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 คือ หน่วยธุรการขององค์กรศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ และหน่วยงานในสังกัดรัฐสภา ประเภทที่ 2 คือ ส่วนราชการระดับกรม ประเภทที่ 3 คือ รัฐวิสาหกิจ ประเภทที่ 4 คือ องค์การมหาชน ประเภทที่ 5 คือ กองทุน และหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ ประเภทที่ 6 คือ สถาบันอุดมศึกษา ประเภทที่ 7 คือ จังหวัด เฉพาะส่วนราชการส่วนภูมิภาค และประเภทที่ 8 คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ

ในส่วนของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จัดอยู่ในประเภทที่ 5 คือ กองทุน และหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ในปีนี้ได้รับคะแนนประเมิน 91.42 คะแนน ผลการประเมินอยู่ในลำดับที่ 8 ซึ่งผลเป็นที่น่าพึงพอใจ อยู่ในระดับ A เนื่องจากคะแนนประเมินขยับเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่สำนักงานได้รับคะแนนประเมินเพียง 78.71 เท่านั้น

สำหรับในปีนี้มีข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อกองทุนฟื้นฟูฯ หลายประการ ด้านที่มีผลคะแนนโดดเด่น ได้รับคะแนนสูงสุด ควรรักษามาตรฐานไว้ ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 1 เรื่องการปฏิบัติหน้าที่ และตัวชี้วัดที่ 6 เรื่องคุณภาพการดำเนินงาน ส่วนประเด็นที่จะต้องมีการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพงานมีคุณภาพสูงขึ้น ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 4 การใช้ทรัพย์สินของราชการ ตัวชี้วัดที่ 7 ประสิทธิภาพการสื่อสาร และเรื่องการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินการตามแบบวัดการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ โดยสำนักงานจะนำประเด็นที่ได้รับข้อเสนอแนะทั้งหมดไปเป็นกรอบแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข นำไปสู่การพัฒนาองค์กรให้มีความโปร่งใสตามกรอบการประเมิน ITA และพัฒนาคุณธรรมการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล ให้การปฏิบัติงานและการให้บริการแก่เกษตรกรสมาชิกตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ต่อไป นายสไกรกล่าว

อ่านต่อ

วันที่ 23 สิงหาคม 2566 ที่โรงแรม ดิ ไอเดิล โฮเทล แอนด์ เรสซิเดนซ์ จังหวัดปทุมธานี นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เป็นประธานเปิดการสัมมนาผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยมี นางวรรณี มหานีรานนท์ ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ หัวหน้าส่วน หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัด 18 จังหวัด พนักงานและลูกจ้าง เข้าร่วมกว่า 70 คน

นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. เปิดเผยว่า การสัมมนาในวันนี้เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนางานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความคาดหวังในระบบงานของ IT ที่ใช้ในการบริหารสำนักงาน ด้านการจัดการหนี้ และด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มีการระดมความคิดเห็นให้เกิดแนวทางที่ชัดเจน เพื่อยกระดับด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ

เมื่ออบรมเสร็จสิ้นแล้วจะทำให้พนักงานทุกภาคส่วนได้มีกรอบความคิดทางดิจิทัล นำไปใช้พัฒนางานให้มีความทันสมัย เกิดประสิทธิภาพต่อการทำงาน และที่สำคัญคือยกระดับในการให้บริการเกษตรกร ซึ่งทั้งหมดนี้หากมีกระบวนการขั้นตอนที่ชัดเจนจะทำให้การปฏิบัติงานมีความโปร่งใส ให้บริการได้อย่างรวดเร็ว เกษตรกรได้รับบริการทันท่วงที

อ่านต่อ